Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
A WAY OF LIFE : ทางผ่าน
•
ติดตาม
28 ส.ค. 2021 เวลา 01:37 • ปรัชญา
"ธรรมทุกข้อเชื่อมโยงถึงกัน เป็นเนื้อเดียวกัน"
"... โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ
คือเครื่องมือที่ใช้ในการข้ามฝั่ง
จากฝั่งของทุกข์
ไปสู่ฝั่งที่หลุดพ้นจากทุกข์นั่นเอง
มีอะไรบ้าง จำได้ไหม ?
สติปัฏฐาน 4
อิทธิบาท 4
อิทธิบาท 4 ถ้าพูดจะทำอะไรแล้ว
มีอิทธิบาท 4
ทำอะไรก็จะประสบความสำเร็จ ก็คือ
1. ฉันทะ ความพอใจ
ถ้าเราไม่พอใจ ก็คือไม่ชอบ
เราก็จะไม่มีความขวนขวายในการฝึกปฏิบัติ
มีฉันทะ
2. ความเพียร
3. จิตตะ ความจดจ่อ เอาใจใส่นั่นเอง
4. วิมังสา การพิจารณาไตร่ตรอง
ถ้าประกอบด้วยอิทธิบาท 4
ทำอะไรก็ประสบความสำเร็จ
มันใช้ได้ทั้งทางโลกและทางธรรม
อิทธิบาท 4
ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
สติปัฏฐาน 4
อิทธิบาท 4
สัมมัปปาทาน 4
ความเพียร 4 ประการ ก็คือ
เพียรละอกุศลธรรม
เพียรป้องกันอกุศลธรรมไม่ให้เกิดขึ้น
เพียรยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้น
เพียรยังกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ไพบูลย์ขึ้นไป
มีหมวด 4
สติปัฏฐาน 4 / อิทธิบาท 4 / สัมมัปาทาน 4
แล้วก็มีหมวด 5 ก็คือ
อินทรีย์ 5 พละ 5
ก็เรื่องของศรัทธา / วิริยะ / สติ / สมาธิ / ปัญญา
แล้วก็มีเรื่องของโพชฌงค์ 7
ที่เราได้ยินได้ฟังกันนะ
จำได้ไหม โพชฌงค์ 7 องค์แห่งการตรัสรู้
มีอะไรบ้าง ?
1. สติสัมโพชฌงค์
2. ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ การพิจารณาเลือกเฟ้นธรรม
3. วิริยสัมโพชฌงค์
วิริยะจะเจอทุกหมวดเลยเห็นไหม
ถ้าเราไม่มีความเพียร เป็นยังไง ?
ทำอะไรมันก็ไม่ประสบความสำเร็จ
บุคคลจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร
แต่ต้องเป็นความเพียรที่ถูกต้องด้วย
ที่เรียกว่า "สัมมัปปาทาน 4" นั่นเอง
ถ้าเพียรแบบเพียรโง่ ๆ คือเพียรไม่ถูก
มันก็ไปคนละทางเหมือนกัน ถูกไหม
เหมือนเราจะเดินทางไปเชียงใหม่ ขยันมากเลย
แต่แทนที่เราจะขึ้นเหนือนะ เราลงใต้
มันจะไปถึงไหม ?
มันไปคนละทาง
ความเพียรก็ต้องเป็นความเพียรที่ถูกต้อง
เพราะฉะนั้น ตั้งเข็มทิศให้ถูกก่อน
หันทิศให้ถูกก่อนนั่นเอง
4. ปีติสัมโพชฌงค์ ก็เกิดสภาวะของปีติ
5. ปัทสัทธิ ความสงบ
แล้วก็เกิด
6. สมาธิสัมโพชฌงค์ ความตั้งมั่น
จนเกิด
7. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
เมื่อจิตตั้งมั่นก็รู้อยู่ ที่จิตตั้งมั่น
ชื่อว่าเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
องค์แห่งการตรัสรู้
แล้วก็ "อริยมรรคมีองค์ 8" นั่นเอง
ตรงนี้คือเครื่องมือที่ใช้ในการข้ามฝั่ง
พระองค์อุปมาเปรียเหมือน เรือแพ
เหมือนการที่เราจะข้ามฝั่ง เราต้องมีเรือแพ
ใช้เป็นเครื่องมือในการข้าม
ทุกข้อสามารถนำไปสู่การหลุดพ้นทั้งหมดเลย
จริง ๆ แล้วปฏิบัติข้อไหนก็ตาม
มันจะเชื่อมโยงทุกข้อเป็นเนื้อเดียวกัน
พระองค์แจกแจงเป็นหมวด ๆ ให้เราฟังเฉย ๆ
สมัยพุทธกาล พระองค์ก็ตรัสว่า
ภิกษุบางรูปก็เจริญ สติปัฏฐาน 4
บางรูปก็เจริญ อิทธิบาท 4
บางรูปก็เจริญ สัมมัปปาทาน 4
บางรูปก็เจริญ อินทรีย์ 5 พละ 5
บางรูปก็เจริญ โพชฌงค์ 7
บางรูปก็เจริญ อริยมรรคมีองค์ 8
ก็สามารถชำระตนได้หมดจด
เข้าถึงความหลุดพ้น
เป็นสมุจเฉทปหารได้เช่นกัน
จริง ๆ แล้วเราเริ่มจากข้อใดก็ตาม
สุดท้ายแล้วมันจะเข้าถึงความเป็นเนื้อเดียวกันนั่นแหละ
ก็คือ การสลัดคืนสู่ความบริสุทธิ์ของธรรมชาตินั่นเอง
แต่การแจกแจงข้ออรรถข้อธรรมหมวดต่าง ๆ
เพื่อประโยชน์แก่หมู่สัตว์นั่นเอง
บางคนฟังแล้วรู้สึกโดนกับหมวดนี้
ฟังแล้วมันใช่ ก็จะน้อมไปปฏิบัติ
บางคนก็ฟังหมวดนี้แล้วรู้สึก
มันเหมาะกับเรา ก็จะเลือกไป
เพราะฉะนั้น อัธยาศัยของหมู่สัตว์นี้แตกต่างกัน
อย่างสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ทรงมีพุทธวิสัย
เพราะฉะนั้น พระองค์จะรู้เลยว่า
หมู่สัตว์แต่ละคนมีวาระที่จะบรรลุธรรมตอนไหน
แล้วจะบรรลุได้ ด้วยหมวดไหน
พระองค์จะสอนในสิ่งที่ มันเป็นสิ่งที่ตรงเลย
ก็คือเป็นสิ่งที่เราอบรมมาด้านนี้
อย่างบางคนอบรมเรื่องของด้านนี้มา
ถ้าให้ฝึกข้ออื่น บางทีก็ยังไม่โดนนะ
แต่ถ้ามันเป็นสิ่งที่เป็นร่องเก่าเรา
มันเป็นสิ่งที่เราเคยฝึกมาเนี่ย
มันจะทำได้ดี
เพราะฉะนั้น การปฏิบัติก็เช่นกัน
ถ้าเราปฏิบัติแล้วรู้สึกมันลื่น มันไปต่อได้
คือมันเข้าร่องเดิมนะ
มันจะไปต่อได้เองโดยธรรมชาติเลยนั่นเอง
เพราะฉะนั้น ก็เป็นช่วงเวลาที่ล้ำค่า
ที่พวกเราได้มาศึกษาปฏิบัติ
แล้วสิ่งนี้ เมื่อเราไม่ประมาท
เรานำไป ก็นำไปฝึกปฏิบัติได้ตลอด
ทั้งชีวิตในรอบนี้ แล้วก็ชีวิตสืบไป
จนกว่าเราจะสามารถหลุดพ้น
เข้าสู่ความบริสุทธิ์ของธรรมชาติได้
เพราะฉะนั้น วิชาทางโลก
เราใช้ แค่ใช้มีชีวิต
แต่ธรรมะ วิชาธรรมะ วิชาพระพุทธเจ้า
จะเป็นสิ่งที่ เมื่อเราน้อมเข้ามาแล้ว
ขวนขวายพากเพียรปฏิบัติ
มันจะเป็นสิ่งที่ติดตัวเราไปตลอดกาล ... "
.
ธรรมบรรยาย โดย
พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
youtube.com
เครื่องมือที่ใช้ข้ามฝั่ง | ธรรมให้รู้•2564 : ตอนที่ 146
เยี่ยมชม
ขอบคุณรูปภาพจาก : Unsplash
6 บันทึก
16
14
6
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
คำสอนครูบาอาจารย์
6
16
14
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย