27 ส.ค. 2021 เวลา 10:00 • ธุรกิจ
‘การทำงานหนักตลอดเวลา’ ดูเหมือนกำลังกลายเป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจของมนุษย์เงินเดือนในโลกปี 2021 เพราะยิ่งเข้าสู่ยุคโควิด-19 นานเท่าไร ความพยายามจะ ‘รั้งเก้าอี้’ และ ‘กอดตำแหน่ง’ เอาไว้ให้แน่นหนาก็ดูเหมือนจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
8
ในห้วงแห่งความไม่มั่นคงจากแพนดามิก จึงไม่แปลกที่ทุกคนต้องพยายาม ‘มีประสิทธิภาพ’ ให้มากที่สุดเท่าที่ตัวเองจะทำได้ เพื่อรักษาคุณค่าในตัวเองและในสายตาของ ‘หัวหน้างาน’ รวมถึงรักษาความสำเร็จที่เคยประสบมาแล้วเอาไว้ให้ได้เหมือนที่เคยเป็นมา
6
แต่ถ้าเมื่อไรที่เริ่มรู้สึกว่าตัวเอง ‘ทำงานเร็วมาก’ และ ‘จบงานได้ไว’ กว่าคนอื่นมากๆ และใช้มันเป็นเครื่องวัดความสำเร็จจนตัดสินใจรับงานเข้ามาเพิ่มเรื่อยๆ หรือรู้สึกผิดที่ว่างในขณะที่คนอื่นยังทำงานอยู่จึงต้องหางานใหม่ๆ มาทำให้ตัวเองยุ่งตลอดเวลาจนแทบไม่มีเวลาหายใจแล้วล่ะก็
10
อาจแปลว่าคุณกำลังตกอยู่ใน ‘The Efficiency Trap’ กับดักประสิทธิภาพของคนทำงานไว
6
Peter Drucker ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการจัดการ เคยกล่าวไว้ว่า “Efficiency is doing things right. Effectiveness is doing the right things” เพราะ ‘ประสิทธิภาพ’ นั้นหมายถึง ความสามารถในการทําให้เกิดผลในการทํางาน แต่ ‘ประสิทธิผล’ หมายถึง ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการทำงานนั้น
12
ดังนั้น แม้เราจะทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพหรือมีความสามารถในการทำให้งานสำเร็จเสร็จสิ้นโดยไว ก็ไม่ได้แปลว่างานเราจะ ‘ทรงประสิทธิผล’ เสมอไป เพราะไม่มีอะไรที่การันตีว่า “ทำงานเร็ว ปิดงานไว” แล้วงานที่ทำออกมาจะดี
4
บางครั้งด้วยความรวดเร็วอาจจะทำให้เราพลาดอะไรหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ หรือความแตกต่างเพียงเล็กน้อยที่จะอาจจะทำให้เราได้คุณภาพงานที่ดีกว่า หรือต่อให้คุณสามารถทำงานสำเร็จในเวลาอันว่องไวและเนี๊ยบ 100% ก็ไม่ได้แปลว่าจะไม่ติดกับดักของ The Efficiency Trap เข้าแล้ว
3
เพราะบางครั้ง The Efficiency Trap ที่ว่าก็หมายถึงกับดักที่ทำให้เราพลาดโอกาสที่จะรักษา ‘สุขภาพจิต’ และ ‘สุขภาพกาย’ อันดี รวมถึง ‘สมดุลแห่งชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว’ เอาไว้
5
ไม่ว่าคุณจะสามารถทำงานหลายๆ ชิ้นใน 1 วันได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลแค่ไหนก็ไม่ได้แปลว่าคุณไม่มี ‘ลิมิต’ หรือ ‘ขีดจำกัด’ ของตัวเอง เพราะไม่ว่าจะเก่งมากหรือเก่งน้อยแค่ไหน ก็มีสิ่งหนึ่งที่เรามีเหมือนกันแน่ๆ คือ เราเป็น ‘มนุษย์’ ดังนั้น ร่างกายและจิตใจของเรามีขีดจำกัดในการทำงานต่อวัน
1
แต่หลายๆ คนก็เลือกมองข้าม ‘ตัวเอง’ และมุ่งหน้าสู่ความสำเร็จ ด้วยการตัด ‘สุขภาพกายใจ’ ออกจากสมการการทำงาน และเลือกจะไม่รวมคุณภาพชีวิตคุณภาพจิตใจของตัวเองเข้าไปเป็นหนึ่งในปัจจัยคำนวณปริมาณงานที่ทำได้ไหว ทำแล้วยังคงมีความสุขหรือยังมีสุขภาพที่ดี
6
เมื่อติดอยู่ใน The Efficiency Trap นานๆ เข้านอกจากร่ายการจะต้องแบกรับภาระจากการหักโหมแล้ว หลายครั้งจิตใจยังจมดิ่งลงสู่ความกดดันและผลักดันให้ ‘งาน’ และ ‘ความสำเร็จ’ กลายเป็นหมุดหมายสำคัญของชีวิตก่อน ‘ความต้องการ’ อื่นๆ ที่ให้ความรู้สึกดีในแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่ความสำเร็จ
นอกจากนั้น The Efficiency Trap ยังเชื่อมโยงกับวิธีการทำงานแบบ ‘ทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน’ หรือ ‘multi-tasking’ ด้วย และแม้ ‘multi-tasking’ จะเป็นทักษะสำคัญที่นายจ้างหลายคนอยากได้ แต่จริงๆ สมองมนุษย์ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อทำงานหลายๆ อย่างไปพร้อมๆ กันนานเกินไป เพราะสมองจะเหนื่อยล้าจนส่งผลกระทบถึงกิจกรรมอื่นๆ ในชีวิต
1
วิธีที่จะดิ้นหลุดจาก The Efficiency Trap นี้จำเป็นจะต้องอาศัยการเปลี่ยน ‘วิธีคิด’ และ ‘พฤติกรรม’ ในการทำงานว่าแท้จริงแล้วงานที่ดีที่สุดไม่ใช่งานที่เสร็จไวที่สุด แต่ ‘งาน’ แต่ละงานมีเวลาที่เหมาะสมในการทำให้เสร็จแตกต่างกัน บางงานควรใช้เวลาน้อย บางงานควรใช้เวลามาก
3
รวมถึงพนักงานที่ดีที่สุดก็อาจไม่ได้หมายถึงพนักงานที่ทำงานได้ปริมาณมากที่สุด แต่เป็นพนักงานที่สร้างผลิตผลเหมาะสมกับความรับผิดชอบและมีผลลัพธ์ชัดเจน
2
หนึ่งในสิ่งที่ควรต้องคำนึงถึงเสมอคือ ‘พนักงาน’ เป็นแค่อีกหนึ่งบทบาทในชีวิตเท่านั้น เรายังมีบทบาท ‘เรา’ ให้กับตัวเอง และหลายๆ คนยังเป็น ‘ลูก’ ให้กับพ่อแม่ หรือเป็น ‘พ่อแม่’ ให้กับลูกๆ ยังเป็นเพื่อนเป็นแฟนเป็นคนสำคัญของหลายๆ คน
5
ดังนั้น นอกจากงานที่ต้องรักษาเอาไว้ให้ได้แล้ว ยังมี ‘เรา’ ที่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งกายใจจะต้องรักษาด้วยเช่นกัน
7
#TODAYBizview
#workpointTODAY
#สาระความรู้เพื่อวันนี้
ไม่พลาดข่าวธุรกิจ การตลาดที่สำคัญ ติดตาม TODAY Bizview https://bit.ly/3picIeS
ติดตามรายการของ workpointTODAY ทาง YouTube https://bit.ly/2YDfyiK
ติดต่อโฆษณา E-mail: advertorial@workpointnews.com

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา