-อีกเทคโนโลยีที่เริ่มเห็นมากขึ้น คือ Internet of Medical Things (IoMT) หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่ถูกสร้างโดยมีการฝังตัวของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์ เซ็นเซอร์ และการเชื่อมต่อกับเครือข่าย เพื่อนำมาใช้ในงานด้านสุขภาพและทางการแพทย์
ยกตัวอย่างเช่น Smart Bed หรือเตียงอัจฉริยะซึ่งสามารถวัดค่าต่างๆ ระหว่างการนอนได้ เช่น อัตราการหายใจ ช่วงเวลาการหลับ การเคลื่อนที่ คุณภาพการหลับ โดยค่าต่างๆ เหล่านี้สามารถใช้ AI ในการตรวจสอบ และคาดการณ์ถึงอาการป่วยเป็นไข้รวมถึงการป่วยเป็นโควิดได้
นอกจากนี้ ในไทยยังมี ‘AGNOS’ แอปพลิเคชั่นสำหรับตรวจอาการหรือโรคต่างๆ ด้วยตัวเอง โดยมีเบื้องหลังคือการใช้ AI ที่สร้างโดยวิศวกรจากมหาวิทยาลัย MIT และทีมแพทย์จากโรงเรียนแพทย์ชั้นนำในไทย ซึ่งนำ AI มาช่วยคัดกรองและระบุโรคเบื้องต้นได้ เพื่อนำไปสู่การตรวจในขั้นต่อๆ ไป
-Remote surgery หรือ Telesurgery การผ่าตัดระยะไกลโดยควบคุมการทำงานผ่านระบบเครือข่ายหรืออินเทอร์เน็ต เช่น Sina Robotic Surgery System เครื่องมือทางการแพทย์สำหรับการผ่าตัดระยะไกล ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดโควิดที่เกิดขึ้นกับบุคลากรทางการแพทย์ พร้อมช่วยเหลือผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกลได้อย่างทันที