29 ส.ค. 2021 เวลา 12:45 • การเมือง
People of the week : คิมโยจอง สตรีผู้ทรงอำนาจที่สุดของเกาหลีเหนือ
2
หลายคนอาจจะเคยได้ยินและพอทราบว่า คิมจองอึน ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ มีน้องสาวคนสนิทและทรงอิทธิพลมากในเกาหลีเหนือ วันนี้เราจะพามาอ่านประวัติชีวิต บทบาททางการเมือง และ วิเคราะห์ความเป็นไปได้ที่เธอผู้นี้จะก้าวมาเป็นผู้นำสตรีแห่งเกาหลีเหนือคนแรก
1
เรามาทำความรู้จักกับเธอกันเลย "คิมโยจอง สตรีผู้ทรงอำนาจที่สุดของเกาหลีเหนือ"
ประวัติส่วนตัว
แหล่งข้อมูลอย่าง Wikipedia ให้ข้อมูลว่า คิมโยจองเกิดเมื่อวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 1987 ที่เมืองเปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือ ทว่าวันเกิดของคิมโยจองไม่สามารถยืนยันได้ว่าเธอเกิดวันที่เท่าไหร่ ปีอะไร แหล่งข้อมูลหลายแห่งก็บอกว่าอาจจะเป็นปี 1988 หรือ 1989 ทำให้ไม่มีใครทราบอายุที่แท้จริงและวันเกิดที่แท้จริงของเธอ
1
แค่เริ่มต้นก็ลึกลับขนาดนี้แล้ว
คิมโยจองเป็นลูกสาวของอดีตผู้นำเกาหลีเหนือ คิมจองอิลกับโคยองฮุย ซึ่งเธอเป็นน้องสาวคนสุดท้องของคิมจองอึน ในวัยเด็กเธอเข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยม Liebefeld-Steinhölzli ที่เมืองเบิร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เหมือนกับที่คิมจองอึนเรียน โดยตอนที่เรียนเธอใช้ชื่อว่า พัคมีฮยาง ซึ่งเธอเรียนที่นั่นเป็นเวลา 4 ปี และอยู่ที่พักที่ใกล้กับสถานทูตเกาหลีเหนือ ก่อนจะกลับมาเรียนต่อมัธยมปลายที่เปียงยาง และต่อมหาวิทยาลัยคิมอิลซุง ที่เมืองเปียงยางในสาขา Computer Science
1
บางแหล่งข้อมูลก็อ้างว่าชีวิตวัยเด็กของคิมโยจองลึกลับพอตัว เพราะไม่เคยมีบันทึกชีวิตวัยเด็กของเธอตอนที่เรียนที่สวิตเซอร์แลนด์เลย รวมถึงเพื่อนที่น่าจะร่วมรุ่นก็ไม่มีใครรู้จักเธอด้วย
2
คิมโยจองในวัยเด็ก
เคยมีข่าวลือว่าบิดาคิมอิลซุงเคยเล่าให้เชฟชาวญี่ปุ่นและผู้ที่ทำงานใกล้ชิดฟังว่า คิมโยจองเป็นลูกสาวคนโปรดของเขา และเขาดีใจที่ลูกสาวเขาสนใจเรื่องการเมือง ซึ่งตรงกับคำสัมภาษณ์ของนักการทูตรัสเซีย คอนสแตนติน ปูลิคอฟสกี ที่กล่าวกับสำนักข่าวญี่ปุ่น NHK เมื่อปี 2012 ว่าตอนที่เขาเดินทางไปยังเกาหลีเหนือ เขาได้พบกับคิมโยจอง เธอเป็นเด็กสาวที่ฉลาด มีไหวพริบ และมีภาวะผู้นำที่น่าประทับใจ
1
ปี 2009 เป็นครั้งแรกที่คิมโยจองปรากฏตัวต่อสื่อและสาธารณชนเกาหลีเหนือ ไม่นานเธอก็ได้กลายเป็น "เจ้าหญิงแห่งเกาหลีเหนือ" ด้วยภาพลักษณ์ที่ตระกูลคิมสะสมมา
1
คิมโยจองในวัยเด็ก (Credit : CNN)
ในปี 2011 หลังจากที่อดีตผู้นำเกาหลีเหนือ คิมจองอิล บิดาของคิมจองอึน และ คิมโยจอง เสียชีวิตลง คิมโยจองเป็นที่จับจ้องต่อสาธารณชนเกาหลีเหนือมากขึ้น มีภาพปรากฏตั้งแต่ในงานศพของคิมจองอิล ที่เธอเข้าร่วมพิธีศพและยืนอยู่ด้านหลังคิมจองอึน ที่กำลังร้องไห้ด้วยความเศร้าโศก
คิมจองอึนและคิมโยจอง ที่พิธีศพของอดีตผู้นำคิมอิลซุง (Credit : The Atlantic)
ภาพลักษณ์และบทบาทของคิมโยจอง ได้รับการปูทางมาก่อนแล้วโดยป้าของเธอ (พี่สาวของคิมจองอึน)โดยตั้งแต่ปี 2013 เธอได้เข้ามามีบทบาทในพรรคแรงงาน กระทั่งคิมโยจองได้แต่งงานกับ โชซอง ลูกชายของนักการเมืองระดับสูงของเกาหลีเหนือนามว่า โชรยองเฮ
1
มีข่าวลือว่าทั้งคู่มีลูกด้วย อายุประมาณ 2-3 ปี ซึ่งไม่สามารถยืนยันได้ เนื่องจากไม่เคยเป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณะ แต่ตอนที่เธอเดินทางมาร่วมงานโอลิมปิกที่เมืองพยองชาง เกาหลีใต้ มีคนวิเคราะห์ว่าเธอเหมือนกำลังตั้งครรภ์อ่อนๆ หรือ เพิ่งคลอด
1
บทบาททางการเมือง
1
ตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมา คิมโยจองมักถูกสื่อจับภาพร่วมเฟรมกับคิมจองอึนมาโดยตลอด โดยมักยืนอยู่ด้านหลัง บทบาททางการเมืองของคิมโยจองเริ่มชัดเจนขึ้น สื่อเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้เริ่มสังเกตเห็นบทบาทของเธอในฐานะนักการเมืองระดับสูงของเกาหลีเหนือ
3
Credit: Daily Mail, AP News and BBC
ในปี 2017 คิมโยจองได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองประธานของฝ่ายโฆษณาชวนเชื่อและปลุกระดม (the Propaganda and Agitation Department) ซึ่งเธอรับหน้าที่ในการดูแลภาพลักษณ์ของผู้นำ ไม่ว่าจะเป็นต่อสาธารณชน ต่อสื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตามที่จะต้องออกสู่สาธารณะ จะต้องผ่านสายตาของเธอก่อน
2
นอกจากนี้คิมโยจองยังเป็นรองประธานพรรคแรงงานแห่งเกาหลีเหนือคนแรกและเป็นสมาชิกของโพลิตบูโร (คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองแห่งพรรคคอมมิวนิสต์) ซึ่งสะท้อนให้เห็นตำแหน่งทางการเมืองของคิมโยจองที่ก้าวกระโดด ตั้งแต่ปี 2017 ถึง 2019 โดยที่อายุเธอยังน้อยเมื่อเทียบกับนักการเมืองระดับสูงคนอื่นๆ
Credit : Radio Free Asia
คิมโยจองเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้สาธารณชนเกาหลีเหนือยังคงความเชื่อและศรัทธาผู้นำคิมจองอึน ซึ่งงานนี้ไม่ง่ายเลย คิมจองอึนไม่เหมือนอดีตผู้นำเกาหลีเหนือที่เป็นทั้งปู่และบิดาของเขา คิมจองอึนไม่ประนีประนอมและไม่อดทนต่อสิ่งที่ทำให้เขาไม่พอใจ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ไม่สมควรถ้าภาพลักษณ์เหล่านี้จะออกไปสู่สายตาคนเกาหลีเหนือ
3
ในปี 2017 คิมโยจองถูกกระทรวงการคลังของสหรัฐอเมริกาแบล็กลิสต์ในข้อหาละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรง โดยคิมโยจองมีชื่อเสียงในด้านการปกปิดข้อมูลและเซ็นเซอร์ทุกอย่าง ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวเกาหลีเหนือ
3
ในปี 2018 ประเทศเกาหลีใต้ได้เป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกฤดูหนาวที่เมืองพยองชาง (PyeongChang 2018) ซึ่งเกาหลีเหนือตกลงส่งนักกีฬามาเข้าร่วมแข่งขันในโอลิมปิกครั้งนี้ด้วย
3
ที่สำคัญ คือ คิมโยจองได้เดินทางมาพร้อมกับนักกีฬาเกาหลีเหนือมายังเมืองพยองชาง ประเทศเกาหลีใต้ ทำให้เป็นที่จับตาของชาวโลกมาก เนื่องจากเธอถือเป็นสมาชิกครอบครัวคิมผู้ปกครองเกาหลีเหนือคนแรกที่มาเยือนเกาหลีใต้ ไม่นับผู้นำ หลังจากที่มีการแบ่งแยกประเทศหลังสงครามเกาหลีในทศวรรษที่ 1950 เป็นต้นมา
3
คิมโยจองที่งานเปิดโอลิมปิกฤดูหนาวที่เมืองพยองชาง เกาหลีใต้  ปี2018 / ภาพล่าง กำลังจับมือทักทายกับประธานาธิบดี มุนแจอิน แห่งเกาหลีใต้ (Credit : NBC News and AP)
นอกจากนี้คิมโยจองยังมีบทบาทอยู่เคียงข้างคิมจองอึนระหว่างการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีโดนัล ทรัมป์ ของสหรัฐฯ และ สีจิ้นผิง ของจีน และการเป็นตัวแทนตระกูลคิมคนแรกที่เยือนกรุงโซล เพื่อมอบสารเชิญจากคิมจองอึน แก่ประธานาธิบดี มุนแจอิน ให้มาร่วมการประชุมสูงสุดที่เปียงยางด้วย
1
บน การประชุมสุดยอดผู้นำที่สิงคโปร์ในปี 2018 คิมโยจองอยู่ด้านหลัง / ล่าง คิมโยจองยืนอยู่ซ้ายสุดของภาพ ระหว่างที่ทรัมป์พูดคุยกับคิมจองอึน (Credit : Financial Times and BBC)
ล่าสุดช่วงที่เกิดการระบาดของโควิด-19 ใหม่ๆ คิมโยจองยังได้ตอบจดหมายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่เสนอความช่วยเหลือมา และหวังว่าจะสามารถคงความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเอาไว้ได้ต่อไปด้วย
2
ดังนั้นทั่วโลกจึงต่างจับตามอง คิมโยจอง ในฐานะตัวแทนตระกูลคิม และ ภาพลักษณ์ทางการเมืองเกาหลีเหนือที่อ่อนโยนเป็นมิตร ที่สำคัญเธออาจจะเป็น ผู้นำสารแห่งสันติภาพ ที่อาจจะทำให้การฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีเหนือและใต้เป็นจริงได้
3
คิมโยจองพบประธานาธิบดีมุนแจอินแห่งเกาหลีใต้ที่ทำเนียบฯ กรุงโซล เมื่อปี 2018 ในฐานะตัวแทนของคิมจองอึนในการส่งสารเชิญให้กระชับความสัมพันธ์ที่เปียงยาง (Credit : AFP)
คิมโยจองและประธานาธิบดีมุนแจอินแห่งเกาหลีใต้ ชมคอนเสิร์ตวงออร์เคสตราจากเปียงยาง ที่กรุงโซล เกาหลีใต้ ในปี 2018 (Credit : The Korea Herald)
คิมโยจองและประธานาธิบดีมุนแจอินแห่งเกาหลีใต้ ทักทายที่หมู่บ้านปันมุนจอม ชายแดนระหว่างเกาหลีเหนือและใต้ ในปี 2018
แต่...
ความหวังในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีเหนือและใต้ เป็นอันต้องพังลง เมื่อคิมโยจองออกมาตอบโต้รัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงของเกาหลีใต้ที่วิจารณ์และประณามเกาหลีเหนือที่ทดลองขีปนาวุธ
2
โดยคิมโยจองออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการต่อการประณามของเกาหลีใต้ว่า ก็แค่เสียงของหมาขี้กลัวที่เห่าออกมาก็เท่านั้น
2
Credit : The Guardian
ต่อด้วยเมื่อเดือนมีนาคม ต้นปี 2021 ประธานาธิบดีมุนแจอินแห่งเกาหลีใต้ ได้ออกแถลงการณ์ประณามการทดลองขีปนาวุธของเกาหลีเหนือที่ใช้ยุทธวิธีรุ่นล่าสุด สามารถติดตั้งหัวรบที่มีน้ำหนักสูงสุดถึง 2.5ตัน ว่าจะส่งผลเสียต่อการสร้างสันติภาพภายในคาบสมุทรเกาหลี
1
โดยคิมโยจองได้แถลงการณ์ต่อ KCNA สำนักข่าวกลางของรัฐบาลเกาหลีเหนือว่า เกาหลีใต้ยังคงใช้ตรรกะอันธพาลแบบเดียวกันกับที่สหรัฐฯใช้ และ ไม่ให้เกียรติกันโดยโจมตีด้วยถ้อยคำรุนแรงว่าเกาหลีใต้เป็น "นกแก้วนกขุนทอง" เปรียบเปรยเป็นสัตว์เลี้ยงของสหรัฐฯ ที่เขาว่าอย่างไร เกาหลีใต้ก็ทำตาม โดยปราศจากเหตุผลและหน้าไม่อาย
กระทรวงรวมชาติของเกาหลีใต้ ตอบโต้ต่อถ้อยแถลงของคิมโยจองว่า ทั้งสองเกาหลีไม่ควรใช้ถ้อยคำที่รุนแรงสาดใส่กัน และทั้งสองควรปฏิบัติตามกฎมารยาทขั้นต่ำไม่ว่ากรณีใดๆก็ตาม
แต่ล่าสุดเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2021 คิมโยจองก็ได้ออกแถลงการณ์เตือน (หรือขู่) เกาหลีใต้อีกครั้งว่าจะต้องเจอกับภัยคุกคามด้านความมั่นคงมากขึ้น หากยังเดินหน้าซ้อมรบร่วมกับสหรัฐฯต่อไป
3
Credit : NK Times
ในปี 2020 สำนักข่าวกรองแห่งชาติเกาหลีใต้ (NIS) เปิดเผยว่าคิมจองอึนได้มอบอำนาจและความรับผิดชอบทางการเมืองให้คนใกล้ชิด ซึ่งรวมถึงคิมโยจอง น้องสาวมากขึ้น โดย NIS ระบุว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจเพื่อบรรเทาความเครียดของท่านผู้นำคิมจองอึน และหลีกเหลี่ยงการทำงานที่ผิดพลาดจากนโยบายที่ล้มเหลวก่อนหน้านี้
1
โดยบทบาทของคิมโยจองที่ถูกวางไว้ เธอมักจะทำหน้าที่คล้ายโฆษกหรือเลขาส่วนตัวของคิมจองอึนในการตอบโต้กับเกาหลีใต้ ทั้งเรื่องการต่างประเทศและเรื่องภายในที่เกาหลีใต้เข้ามาเกี่ยวข้อง รวมถึงนโยบายการต่างประเทศกับสหรัฐอเมริกาด้วย
NIS ระบุว่าโดยพฤตินัย คิมโยจองคือผู้นำหมายเลข 2 แห่งเกาหลีเหนือ
2
Credit : Al Jazeera
ทว่าคิมโยจองไม่ได้มีอำนาจล้นมือขนาดนั้น ท่านผู้นำคิมแบ่งอำนาจหน้าที่ให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงอีกหลายคนให้ดูแลงานส่วนต่างๆ ดังนั้นยังไม่ชี้ชัดว่าการแบ่งอำนาจเช่นนี้จะบ่งบอกได้ว่าคิมโยจองจะเป็นผู้นำคนถัดไปหรือไม่
อีกทั้งเธอยังเคยถูกปลดออกจากตำแหน่งสำคัญๆ ที่คิมจองอึนเคยแต่งตั้งเธอด้วย ซึ่งนักวิชาการและนักวิเคราะห์ต่างชาติก็ได้แต่คาดเดาสาเหตุว่าอาจจะมาจากความล้มเหลวในการหารือเรื่องการถอนอาวุธนิวเคลียร์ในคาบสมุทรเกาหลีที่ผ่านมา
1
ในปี 2019 ข่าวลือเรื่องการป่วยของคิมจองอึนเริ่มต้นจากสำนักข่าว Daily NK ของเกาหลีใต้ ระบุว่าท่านผู้นำต้องได้รับการผ่าตัดหัวใจ เนื่องจากมีปัญหาโรคหลอดเลือดหัวใจ และกำลังทำการพักฟื้นอยู่ที่หมู่บ้านในเขตฮยางซาน และข่าวลือก็ยิ่งมีน้ำหนักมากขึ้นเมื่อท่านผู้นำไม่ปรากฏตัวในงานพิธีรำลึกอดีตผู้นำคิมอิลซุง
1
สื่อต่างชาติอย่าง CNN ก็ยิ่งให้นำ้หนักและโหมข่าวเรื่องที่คิมจองอึนป่วยมากขึ้น เมื่อได้รับข้อมูลจากหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ (CIA) ในเรื่องนี้
แน่นอนว่าคิมจองอึนในวัย 38 หรือ 39 ปี ยังไม่จำเป็นที่จะต้องคิดถึงเรื่องผู้สืบทอดอำนาจมากนัก และแม้ว่าเขาเองจะมีลูกชายที่สามารถจะสืบทอดอำนาจได้
2
ทว่าเรื่องนี้ลูกชายเขาถูกมองว่าอาจจะยังเด็กเกินไปที่จะเป็นผู้นำ หากว่า คิมจองอึนด่วนจากตามข่าวลือที่หนาหูมากว่าสุขภาพของท่านผู้นำไม่ค่อยดี ทำให้ต้องได้รับการรักษาหรือผ่าตัด ทำให้ต้องหายหน้าหายตาไปจากสื่อ ดังนั้นบทบาทของคิมโยจองจึงเป็นที่จับจ้องมากขึ้น
2
กระทั่งคิมจองอึนปรากฏตัวในเดือนพฤษภาคม ปี 2020 ในงานเปิดโรงงานปุ๋ยแห่งหนึ่ง ทำให้ข่าวลือเรื่องที่เขาป่วยหนักจบลง
อย่างไรก็ตามมีความเป็นไปได้สูงที่คิมจองอึนอาจจะได้รับพันธุกรรมและเป็นโรคหัวใจ เนื่องจากพบประวัติครอบครัว มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหัวใจด้วย บวกกับความเครียดที่ต้องเผชิญ การสูบบุหรี่อย่างหนัก และโรคอ้วน ก็อาจทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นได้ ดังนั้นเรื่องผู้นำคนถัดไปที่จะสืบทอดเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงมากขึ้น
2
เป็นไปได้หรือไม่ที่คิมโยจองจะเป็นผู้นำสูงสุดแห่งเกาหลีเหนือคนถัดไป
2
เมื่อดูจากสมาชิกในครอบครัวตระกูลคิม คิมจองอึนและคิมโยจองเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ขณะที่อดีตผู้นำคิมจองอิล มีทายาททั้งหมด 5 คน จากภรรยาทั้งหมด 5 คน
Credit : Business Insider
ในตอนแรกมีการคาดการณ์ว่าผู้ที่จะเป็นผู้นำคนถัดไปอาจจะเป็น คิมจองนัม ซึ่งเป็นพี่ชายต่างมารดาของคิมจองอึนและคิมโยจอง แต่เขาไม่ได้มีบทบาททางการเมืองมากนัก และในปี 2017 ได้เสียชีวิตที่สนามบินกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย (มีข่าวลือหนาหูว่าเป็นการลอบสังหารชีวิตจากรัฐบาลเกาหลีเหนือ เนื่องจากผู้ก่อการทั้งหมดลี้ภัยไปยังเกาหลีเหนือ และไม่มีคร่าวคราวการลงโทษใดๆหลังจากนั้นเลย)
1
คิมจองนัม (Credit : BBC)
ถัดมา คิมจองชอล น้องชายของคิมจองอึน ซึ่งไม่มีตำแหน่งทางการเมืองใดๆ และไม่สนใจการเมืองเลย และได้โดนตัดออกจากทายาทสืบทอดโดยคิมจองอิลไปแล้ว
1
สำนักข่าว KBS ของเกาหลีใต้เผยแพร่ภาพคิมจองชอลที่สถานีรถไฟโซล เมื่อปี 2011 (Credit : Business Insider)
และหลานชายของคิมจองอึน ชื่อว่า คิมฮันโซล ซึ่งเคยวิจารณ์ไม่พอใจระบอบการปกครองของเกาหลีเหนือ ก็ได้ขอใช้ชีวิตอยู่นอกเกาหลีเหนือไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เท่ากับรายชื่อด้านบนไม่น่าจะเป็นคู่แข่งเธอได้ และบทบาททางการเมืองของคิมโยจองก็มีความเป็นไปได้ที่เธอจะก้าวมาเป็นผู้นำเกาหลีเหนือคนถัดไป
ซู คิม ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายและความขัดแย้งบนคาบสมุทรเกาหลี ได้วิเคราะห์เหตุผลสนับสนุนว่า คิมโยจองได้เริ่มบทบาทการเมืองและสนับสนุนการบริหารประเทศมาเกือบสิบปีแล้ว ดังนั้นเธอสามารถดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุดทางการเมืองได้ โดยไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่เธอจะเป็นผู้นำคนถัดไป
คิมโยจองได้แสดงศักยภาพในการบริหารประเทศหลายด้าน พร้อมกับบุคลิกภาพความเป็นผู้นำ ไหวพริบ ที่เธอได้สะสมมา ทำให้เธอมีประสบการณ์มากพอที่จะเป็นผู้นำสูงสุดแห่งเกาหลีเหนือ
คิมโยจองเริ่มบทบาททางการเมืองตั้งแต่เธออายุได้ประมาณ 20 กว่าปีเท่านั้น ในขณะนี้ที่คาดว่าเธออาจจะอายุประมาณ 30 กว่าปี เธอสามารถสะสมประสบการณ์ได้อีกพอสมควรจนกว่าจะถึงวันที่เธอได้ขึ้นเป็นผู้นำแห่งเกาหลีเหนือ
Credit : The Straits Times
ซู คิม ยังกล่าวอีกว่า คิมโยจอง มีตระกูลคิมเป็นใบเบิกทางมาก่อนแล้ว และแต่งงานกับลูกนักการเมืองระดับสูง แถมยังดำรงตำแหน่งสำคัญในพรรค ทำให้รู้จักและใกล้ชิดกับคนในพรรค ดังนั้นการที่สาธารณชนเกาหลีเหนือจะยอมรับเธอในฐานะท่านผู้นำ ไม่น่าจะยากเย็นอะไร
ซู หมี่ เทอรี่ นักวิเคราะห์ด้านเกาหลีเหนือของ CIA ก็มองว่าถ้าเกิดอะไรกับท่านผู้นำคิมจองอึน คิมโยจองก็เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดแล้วที่จะสืบทอดอำนาจต่อจากพี่ชาย เพราะเป็นไปได้ยากมากที่พรรคและนักการเมืองระดับสูงจะเลือกคนนอกตระกูลคิมมาดำรงตำแหน่ง
ขณะเดียวกัน มีข้อโต้แย้งว่า สังคมเกาหลีเหนือนั้นเป็นสังคมที่ชายเป็นใหญ่ แม้ว่าคิมโยจองจะเป็นทายาทสายตรงเดียวกันกับคิมจองอึน "การเป็นผู้หญิง" ก็ยังคงเป็นอุปสรรคต่อการก้าวมาเป็นผู้นำเกาหลีเหนืออยู่ดี
เกาหลีเหนือยึดถือความเชื่อขงจื๊อมาอย่างยาวนาน และยังคงยึดถือเรื่องชนชั้น ลำดับชั้นของคนในสังคม และเมื่อเป็นระบอบเผด็จการ สถานะของผู้หญิงก็ไม่ได้เท่าเทียมกับผู้ชาย ซึ่งที่ผ่านมา 3 รุ่น ผู้นำเกาหลีเหนือก็เป็นผู้ชายทั้งหมด
1
Credit : Euro News
ยูโฮยูล อาจารย์ภาควิชาเกาหลีเหนือศึกษาแห่งมหาลัยวิทยาลัยเกาหลี และ อดีตที่ปรึกษากระทรวงรวมชาติและกระทรวงกลาโหมแห่งเกาหลีใต้ วิเคราะห์ไว้ว่า คิมโยจอง ไม่น่าจะได้เป็นผู้นำเกาหลีเหนือได้ง่ายๆ และอาจเป็นได้เพียงผู้สำเร็จราชการเพียงเท่านั้น จนกว่าที่ลูกชายของคิมจองอึน ที่ขณะนี้อายุได้ 10 ปี พร้อมรับตำแหน่งแทนบิดา
สืบเนื่องจากการบริหารและการปกครองของเกาหลีเหนือที่ชายเป็นใหญ่ ระบบเผด็จการที่มีผู้ชายเป็นผู้นำ ถ้าเธอได้ขึ้นเป็นทายาทสืบทอดอาจจะต้องเจอกับแรงต้านมหาศาลจากพรรคและนักการเมืองระดับสูง
1
Credit : BBC
นอกจากนี้ อิมแจชยอน ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเกาหลีเหนือแห่งมหาวิทยาลัยโซล และ ลีโอนิด เปตรอฟ อาจารย์มหาวิทยาลัยการจัดการนานาชาติซิดนีย์ (ICMS) ประเทศออสเตรเลีย ก็ได้ให้ความเห็นที่ตรงกันว่า คิมโยจองไม่น่าจะขึ้นเป็นผู้นำคนถัดไปได้ เนื่องจากเธอเป็นผู้หญิง และ อายุยังน้อย ขัดกับแนวคิดของขงจื๊อที่ฝังในสังคมเกาหลีดังที่กล่าวไป
อย่างไรก็ตาม นักวิชาการส่วนใหญ่ไม่ปฏิเสธว่าเธอเป็นสตรีที่มีอำนาจและทรงอิทธิพลมากต่อการเมืองเกาหลีเหนือ และมีผลต่อการตัดสินใจของคิมจองอึนในเรื่องต่างๆด้วย
นักวิชาการยังวิเคราะห์ไว้ด้วยว่าถ้าหากคิมโยจองได้ขึ้นเป็นผู้นำเกาหลีเหนือจริงๆ เธอจะพิสูจน์ความเข้มแข็งและความกล้าหาญของตัวเธอเองที่โหดและแข็งกร้าวมากกว่า ปู่ พ่อ และพี่ชายของเธอ ดังนั้นความสัมพันธ์กับเกาหลีใต้และสหรัฐอเมริกาอาจจะปั่นป่วนและแย่ลงได้
Credit : The New York Times
อย่างไรก็ตามทั้งหมดเป็นเพียงการวิเคราะห์และความเห็นจากนักวิชาการที่ศึกษาเกาหลีเหนือและบทบาทของคิมโยจอง เธอจะเป็นผู้นำคนถัดไปของเกาหลีเหนือ ได้หรือไม่ได้ ไม่มีใครทราบได้
1
แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเลยคือ เธอทรงอิทธิพลและมีบทบาททางการเมืองที่สำคัญต่อเกาหลีเหนือ รวมถึงเธอสืบสายเลือดตระกูลคิมโดยตรง ซึ่งจริงๆแล้วระบอบการปกครองของเกาหลีเหนือมีรูปแบบคล้ายราชวงศ์สืบทอดอำนาจภายในตระกูลมากกว่าจะเป็นสาธารณรัฐ
1
ดังนั้นเมื่อเธอได้เป็นผู้นำที่สืบทอดอำนาจ คนก็จะมองข้ามเรื่องเพศสภาพของเธอไปเอง และเธอก็จะได้ยอมรับในฐานะผู้สืบทอดตระกูลคิม ผู้นำแห่งเกาหลีเหนือในที่สุด
1
Credit : NK News
References:
North Korea's Princess: The Strange Life and Dangerous Future of
Kim Yo-jong

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา