Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
KidKorn คิดก่อน
•
ติดตาม
18 ส.ค. 2021 เวลา 02:25 • การเมือง
People of the week : มาลาลา ยูซาฟไซ เจ้าของรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพเมื่อปี 2014 กำลังอ้อนวอนขอให้ประเทศมหาอำนาจช่วยอัฟกานิสถาน
ทำความรู้จัก มาลาลา ยูซาฟไซ นักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนและสิทธิสตรี เจ้าของรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ปี 2014 อีกครั้ง กับ คำอ้อนวอนต่อประเทศมหาอำนาจให้ช่วยรักษาความปลอดภัยของสตรีชาวอัฟกัน หลังจากที่กลุ่มตาลีบันเข้ายึดกรุงคาบูล ประเทศอัฟกานิสถาน
Credit : ABC7 News
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม มาลาลา ยูซาฟไซ นักเคลื่อนไหวสิทธิสตรีที่กำลังลี้ภัยอยู่ที่สหราชอาณาจักร ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสำนักข่าว BBC เนื่องจากตระหนักถึงภยันตรายที่กำลังจะเกิดขึ้นในอัฟกานิสถาน
เยี่ยมชม
bbc.com
Afghanistan: UK and US must protect Afghan activists - Malala
The Nobel Peace Prize winner, who was shot by the Taliban, calls for countries to take in refugees.
มาลาลาเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากผู้นำโลก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร และประเทศตะวันตกทั้งหลาย ให้พวกเขาช่วยผู้ลี้ภัยชาวอัฟกันที่กำลังจะอพยพ และขอร้องให้ประเทศต่างๆช่วยเปิดพรมแดนรับผู้ลี้ภัย
สิ่งที่เธอกังวลคือความปลอดภัยของผู้หญิงอัฟกัน โดยเฉพาะนักเคลื่อนไหวสิทธิสตรีในประเทศ ที่กำลังตกเป็นเป้าความรุนแรงของตาลีบัน
มาลาลาได้พูดคุยกับนักเคลื่อนไหวสิทธิสตรีในอัฟกานิสถานบางส่วน ถามไถ่สถานการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งพวกเธอก็ไม่รู้ได้ว่าชะตาชีวิตของพวกเธอภายใต้ตาลีบันจะเป็นอย่างไร
มาลาลายังได้กล่าวโทษสหรัฐฯอีกด้วย ว่านี่ไม่ใช่ชัยชนะในสงครามใดๆ สหรัฐฯกำลังทำให้ความเข้าใจเรื่องสงครามในอัฟกานิสถานผิดพลาด
มาลาลากล่าวว่าเธอได้เข้าพูดคุยกับตัวแทนรัฐบาลของสหรัฐฯและสหราชอาณาจักรแล้ว เพื่อยกประเด็นขอความช่วยเหลือและรักษาความปลอดภัยของสตรีชาวอัฟกันแล้ว
เมื่อ 7 ปีที่แล้ว มาลาลายังได้เขียนจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีของอิหร่าน นายอิมราน ข่าน ให้ช่วยเปิดรับผู้ลี้ภัยชาวอัฟกัน ทีหลีกหนีจากการอยู่ภายใต้ตาลีบัน
ช่วงต้นเดือนกรกฎาคม กลุ่มสตรีชาวอัฟกันติดอาวุธรวมตัวกันต่อต้านกลุ่มติดอาวุธของตาลีบัน พวกเธอกล่าวว่าพวกเธอพร้อมสู้เพื่อไม่ให้ตาลีบันกดขี่พวกเธอได้อีก ไม่มีรายงานหลังจากนั้นว่าพวกเธอต้องเจอกับอะไรบ้างในตอนนี้ (Credit : The Guardian)
มาลาลา ยูซาฟไซ เริ่มเป็นที่รู้จักหลังจากที่เธอเขียนบล็อกเล่าเรื่องราวชีวิตผู้หญิงที่โดนกดขี่ภายใต้การปกครองของกลุ่มตาลีบันในปากีสถาน โดยเผยแพร่ครั้งแรกที่ BBC ขณะที่เธออายุได้ 11 ปี
เนื้อหาที่เธอเล่าไว้ เช่น เด็กผู้หญิงจะถูกห้ามไม่ให้ไปโรงเรียน ห้ามอ่านหรือเขียนหนังสือ ห้ามออกมาเล่นนอกบ้าน ห้ามแต่งกายด้วยสีสัน ห้ามไปนอกบ้านถ้าไม่มีผู้ชายไปด้วย เด็กผู้หญิงจะต้องดูและฟังสิ่งที่ตาลีบันอยากให้ดูเท่านั้น ผู้หญิงจะโดนตีกรอบและจำกัดเสรีภาพมากกว่าผู้ชายหลายเท่าตัว
ในปี 2013 มาลาลาได้ออกหนังสือ I am Malala บอกเล่าเรื่องราวความรุนแรงที่เธอต้องเผชิญในวัย 15 ปี โดยเธอตกเป็นเป้าหมายการโจมตีของกลุ่มตาลีบันในปากีสถาน เนื่องจากเธอเข้าร่วมโครงการต่อต้านคำสั่งของตาลีบันที่ห้ามผู้หญิงเข้าเรียนหนังสือ และรณรงค์ให้ผู้หญิงออกมาเรียนหนังสือเป็นการต่อต้าน
I am Malala (Credit : Goodreads)
ในปี 2012 กลุ่มตาลีบันบุกขึ้นมาบนรถโรงเรียนของเธอขณะที่มาลาลากำลังไปเรียน ยิงเธอและเพื่อนนักเรียนหลายคน เธอถูกยิงเข้าที่ศีรษะ จนบาดเจ็บสาหัสและต้องอยู่ในอาการโคม่าหลายวัน
หลังจากเหตุการณ์นี้เธอและครอบครัวลี้ภัยไปอาศัยอยู่ที่เมืองเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ และเธอก็เข้ารับการรักษาอาการบาดเจ็บที่นั่นเป็นต้นมา
เรื่องราวของมาลาลาได้รับการเผยแพร่ในวงกว้างมากขึ้น ทำให้คนทั่วโลกได้เห็นความอันตรายของผู้หญิงที่ต้องอยู่ภายใต้การปกครองของตาลีบัน เพียงแค่พวกเธออยากเรียนหนังสือ อยากได้สิทธิเสรีภาพพื้นฐานที่พวกเธอควรจะได้ แต่กลับได้รับความรุนแรงอย่างแสนสาหัสกลับมาแทน
กลุ่มตาลีบันกลายเป็นกลุ่มก่อการร้ายที่ถูกประณามในระดับสากลเรื่องความรุนแรงต่อสตรีและเด็กผู้หญิง นักเคลื่อนไหวสิทธิสตรีทั่วโลกต่างประณาม และทำให้แรงกระเพื่อมของความไม่พอใจขยายกว้างไปในชุมชนมากขึ้นด้วย
โดยกลุ่มตาลีบันออกมาตอบโต้หลังถูกประณามว่า การลอบสังหารเด็กนักเรียนผู้หญิง ไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิด เนื่องจากพวกเธอกำลังทำให้สังคมแบบจารีต เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ดีด้วยค่านิยมจากตะวันตก
มาลาลาได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ (Nobel Peace Prize) ในปี 2014 ขณะที่อายุเพียง 17 ปี
Credit : ABC News
เธอสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สาขาปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์ เมื่อปีที่แล้ว
ด้านบน เป็นธรรมเนียมหลังสอบเสร็จของนักเรียนอ็อกซ์ฟอร์ด ที่จะนำอาหารและเศษกระดาษมาโปรยให้มีสีสัน / ด้านล่าง มาลาลาและครอบครัวร่วมรับประทานเค้กฉลองการเรียนจบของมาลาลา (Credit : BBC)
ปัจจุบันมาลาลาในวัย 24 ปี ทำโครงการช่วยเหลือและสนับสนุนสิทธิมนุษยชนและสิทธิสตรีหลายโครงการในหลายพื้นที่ ล่าสุดเธอได้ทำมูลนิธิเรี่ยไรเงินสนับสนุนการศึกษาเด็กผู้ลี้ภัย มีการพูดในเวทีโลก และต่อสื่อต่างประเทศอีกมากมาย ที่จะช่วยขับเคลื่อนและสนับสนุนสิทธิมนุษยชนและสิทธิสตรีทั่วโลก
#YesAllGirls สนับสนุนให้ผู้หญิงทุกคนได้รับสิทธิเสรีภาพเข้าถึงการศึกษา (Credit : Global Citizens)
Malala Fund โครงการช่วยเหลือและสนับสนุนทุนการศึกษาให้กับผู้หญิงทั่วโลก ซึ่งพ่อและมาลาลา ก่อตั้งด้วยกันในปี 2013 (Credit : Teen Vogue)
มาลาลาเป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจให้กับผู้หญิงทั่วทุกมุมโลก และเป็นแรงขับเคลื่อนในสังคมให้ทุกคนรู้จักตระหนักและเคารพสิทธิเสรีภาพของบุคคล
ขอทิ้งทายไว้ด้วยคำพูดของมาลาลาที่ทำให้เห็นความสำคัญของการศึกษาที่จะเปลี่ยนชีวิต ดังนี้
"ฉันไม่ได้อยากแก้เค้นกลุ่มตาลีบัน แต่ฉันอยากให้ลูกหลานของพวกเขาได้รับการศึกษา"
"กลุ่มหัวรุนแรงกลัวหนังสือและปากกา พลังของการศึกษานั่นไงที่ทำให้พวกเขากลัว"
"คุณสามารถฆ่าผู้ก่อการร้ายด้วยปืน แต่ด้วยการศึกษา คุณจะฆ่าลัทธิก่อการร้ายได้ทั้งหมด"
"เด็กหนึ่งคน ครูหนึ่งคน หนังสือและปากกา 1 เล่ม สามารถเปลี่ยนโลกใบนี้ได้"
References:
https://www.bbc.com/news/uk-58237871
https://www.ndtv.com/world-news/malala-yousafzai-who-was-shot-by-taliban-has-a-message-for-world-leaders-2512076
https://www.theguardian.com/world/2021/aug/16/malala-yousafzai-deeply-worried-taliban-take-control-afghanistan-girls-education
https://www.standard.co.uk/news/uk/malala-yousafzai-afghanistan-refugees-b950926.html
https://thepeople.co/malala-yousafzai/
1 บันทึก
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
People of the week
1
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย