Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนในบัญชีและภาษี
•
ติดตาม
29 ส.ค. 2021 เวลา 10:29 • การศึกษา
สรุปภาษี (Vat)
กรณีการให้บริการ e-Service จากต่างประเทศ
การเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากค่าบริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นบริการจาก facebook youtube tiktok และอื่นๆ อีกมาก
1
เป็นที่สนใจและตื่นตัวกันมากสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจและพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทั่วไป เพราะภาษีดังกล่าวจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการใช้บริการของบุคคลเหล่านี้
แล้วกฎหมาย e-Service เกี่ยวข้องกับใครบ้าง และส่งผลกระทบอย่างไร เราจะมาสรุปให้เข้าใจกันค่ะ
จากที่ผ่านมาผู้ประกอบการในประเทศที่ให้บริการ e-Service ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่ยื่นแบบ และชำระภาษีมูลค่าเพิ่มมาโดยตลอด
ในขณะที่ผู้ประกอบการต่างประเทศที่ให้บริการ e-Service ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ในประเทศไทย ไม่ต้องดำเนินการดังกล่าว เนื่องจากกฎหมายเก่าไม่คลอบคลุมถึง
ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการเสียภาษี และเกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในการดำเนินธุรกิจ ระหว่างผู้ประกอบการไทยและผู้ประกอบการต่างประเทศ ซึ่งหลายประเทศที่ใช้ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มต่างก็เผชิญกับปัญหาดังกล่าวเช่นเดียวกัน
ดังนั้น ทางออกที่เป็นมาตรฐานสากล ก็คือ นานาประเทศได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาตามคำแนะนำของ OECD (องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ)
โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการต่างประเทศ หรืออิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มต่างประเทศ จดทะเบียนและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้แก่หน่วยงานจัดเก็บภาษี
⛳ ธุรกิจประเภทใดบ้างที่เกี่ยวข้อง
ผู้ประกอบการที่ให้บริการ e-Service จากต่างประเทศ อาทิ การให้บริการดาวโหลดเพลง ภาพยนตร์ เกม สติกเกอร์ สื่อโฆษณา นายหน้าจองห้องพัก โรงแรม เป็นต้น
1
หรือแพลตฟอร์มต่างประเทศที่ให้บริการในประเทศไทย เช่น Facebook Line Youtube Tiktok Netflix Google Apple Booking Agoda Spotify Zoom เป็นต้น และมีรายได้จากการให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
1
⛳ การเตรียมการและดำเนินการของสรรพากร
สำหรับด้านกรมสรรพากร ก็ได้เตรียมการด้านกฎหมายภาษี โดยการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ตามแนวทางของ OECD) ฉบับที่ 53 พ.ศ. 2564 เรื่องการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ
โดยกำหนดให้ผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ ที่มีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ในประเทศไทย ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ยื่นแบบแสดงรายการและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายเดือนให้แก่กรมสรรพากร
ภายใต้ระบบ Pay-only (ห้ามหักภาษีซื้อ) โดยไม่ต้องจัดทำใบกำกับภาษีและรายงานภาษีซื้อ
ซึ่งในขณะนี้ กฎหมายได้ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาแล้ว และประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป
1
⛳ การตรวจสอบและการบังคับใช้กฎหมายของกรมสรรพากร
📌 ใช้กลไกการตรวจสอบโดยการเชิญพลหรือออกหมายไปยังผู้ประกอบการ เพื่อตรวจสอบและประเมินเรียกเก็บภาษี
📌 การออกหมายเรียกพยานผู้เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันการเงินต่างๆ เพื่อขอข้อมูลการทำธุรกรรมผ่านสถาบันการเงิน มาใช้ประกอบการตรวจสอบและประเมินเรียกเก็บภาษี
📌 การแสดงรายชื่อของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร ทำให้ผู้ใช้บริการหรือผู้ประกอบการต่างประเทศตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนได้
ซึ่งเป็นวิธีการที่นานาประเทศใช้ และจะก่อให้เกิดมาตรการลงโทษทางสังคมแก่ผู้ประกอบการที่ไม่ยอมจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1
ทั้งนี้สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบการต่างชาติที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม e-Service ได้ที่
https://eservice.rd.go.th/rd-ves-web/search/company
💦.....อย่างไรก็ดี กรมสรรพากร ได้อำนวยความสะดวกในการให้บริการของการเสียภาษี โดยได้พัฒนาระบบ Simplified VAT System for e-Service (SVE)
3
ซึ่งเป็นระบบการจดทะเบียน การยื่นแบบฯ และการชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่มีความง่าย ทันสมัย ไม่แตกต่างจากของต่างประเทศ
ช่วยให้ผู้ประกอบการใช้บริการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ บนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร
www.rd.go.th
3
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
สามารถเยี่ยมชมเราผ่านช่องทางอื่นตามลิ้งข้างล่างนี้ค่ะ :
FB :
https://www.facebook.com/BSV.BSerp.BusinessValue
1
ขอบคุณทุกๆ กำลังใจที่มีให้กันเสมอค่ะ
🌷🌷❤❤🙏🙏🙏🙏❤❤🌷🌷
15 บันทึก
32
51
29
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
นานาภาษีและวิธีจัดการ
15
32
51
29
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย