25 ก.ย. 2021 เวลา 11:19 • ธุรกิจ
จ่ายภาษีน้อยลงได้ ด้วยการวางแผนธุรกิจที่ดี
1
การทำธุรกิจให้เติบโตมาได้นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็ทำได้ กว่าจะได้ซึ่งกำไรมาในแต่ละช่องทาง กิจการจะต้องจัดการอะไรบ้าง แต่สุดท้ายต้องปันกำไรบางส่วนไปให้กับคำว่า "ภาษี"
2
ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาของการประกอบธุรกิจเมื่อมีกำไรก็ต้องเสียภาษี แต่จะเป็นการดีกว่าไหม ถ้าเราสามารถบริหารจัดการภาษีได้ ทำให้จ่ายน้อยลง และกำไรเรายังคงอยู่เต็มเม็ดเต็มมหน่วยมากขึ้น ตามมาดูวิธีการกันเลยค่ะ
1
1. จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
การเข้าระบบนิติบุคคบจะเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าบุคคลธรรมดา อีกทั้งถ้าเกิดดำเนินธุรกิจขาดทุนไม่ต้องเสียภาษีด้วย เพราะการจ่ายภาษีนิติบุคคลคำนวณจากกำไรสุทธิ ถ้าปีไหนขาดทุนก็ไม่ต้องเสียภาษี
2
นอกจากนี้ยังสามารถใช้สิทธิขาดทุนสะสมยกมาหักออกจากกำไรย้อนหลังได้ถึง 5 ปี และถ้ากำไรที่ได้ไม่ถึง 300,000 บาทก็ไม่ต้องจ่ายภาษีเลย เพราะได้รับยกเว้นนั่นเอง
แต่ถ้ามีกำไรเกิน 300,000 บาทขึ้นไป ก็เสียภาษีเพียง 15% ของกำไรเท่านั้น (สำหรับนิติบุคคลที่ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท/ปี) แต่ถ้าเป็นนิติบุคคลกรณีทั่วไป จะเสียภาษีในอัตรา 20%
ในขณะที่ภาษีบุคคลธรรมดา จะคำนวณเป็นขั้นบันได ตั้งแต่ 5% ไปจนถึง 35% เลยทีเดียวค่ะ
2. ลงทุนในสินทรัพย์ถาวร
สินทรัพย์ถาวร สามารถนำค่าเสื่อมราคามาเป็นค่าใช้จ่ายได้ หากลงทุนซื้อสินทรัพย์ถาวรเพื่อใช้ในธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องจักร อาคาร คอมพิวเตอร์ รถยนต์ หรือสินทรัพย์ถาวรอื่นๆ ที่มีอายุการใช้งานเกิน 1 รอบระยะเวลาบัญชี
สามารถนำค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ในอัตราและเงื่อนไขที่แตกต่างกันไปตามประเภทของสินทรัพย์นั้นค่ะ
3. ค่าฝึกอบรมพนักงาน
สามารถลดหย่อนได้ 2 เท่า การส่งพนักงานไปอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ เข้าคอร์สเรียน งานสัมมนา ประชุมผู้นำ ทำกิจกรรมเสริมทักษะด้านต่าง ๆ นอกจากจะเป็นการพัฒนาคนในองค์กรเพื่อความเติบโตของธุรกิจแล้ว
หากส่งพนักงานไปอบรมในหลักสูตรที่ได้รับรองจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สามารถนำค่าใช้จ่ายเหล่านี้มาลดหย่อนภาษีได้เลย 2 เท่า
ดังนั้น การส่งพนักงานไปพัฒนาตัวเอง นอกจากธุรกิจจะได้พนักงานที่เก่งขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว ยังช่วยให้เสียภาษีน้อยลงอีกด้วย
4. ค่าวิจัยและพัฒนา นวัตกรรมเพิ่มศักยภาพให้ธุรกิจ
การวิจัยและการสร้างสรรนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับสินค้าและบริการ หรือแม้กระทั่งกระบวนการผลิต นอกจากจะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจแล้ว ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ยังสามารถนำมาช่วยธุรกิจหักค่าใช้จ่ายได้สูงสุดถึง 3 เท่าเลยทีเดียวค่ะ
5. การทำประกันคีย์แมน
กรณีที่บริษัทฯ ต้องจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการทุกคนเป็นการทั่วไปตามระเบียบและมติที่ประชุมของบริษัทฯ เพื่อผลประโยชน์ของบริษัทฯ
การจ่ายเบี้ยประกันชีวิตดังกล่าว ถือเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ และไม่ใช่รายจ่ายที่มีลักษณะเป็นการส่วนตัวหรือการให้โดยเสน่หา
บริษัทฯ มีสิทธินำเบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้นั้น มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร
ทั้งนี้ เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทฯ จ่ายแทนกรรมการ เข้าลักษณะเป็นประโยชน์เพิ่มที่กรรมการได้รับ ถือเป็น เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) หรือ (2) แห่งประมวลรัษฎากรแล้วแต่กรณี ซึ่งกรรมการต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากรค่ะ
จะเห็นได้ว่า การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แล้วเสียภาษีให้ถูกต้อง ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอย่างที่คิด ถ้าเรามีการวางแผนที่ดี นอกจากจะช่วยให้ธุรกิจจ่ายภาษีน้อยลงแล้ว ยังเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจอีกด้วย
2
💦.....อย่างไรก็ดี หลายคนอาจคิดว่าทำธุรกิจเล็ก ๆ ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลให้วุ่นวาย แต่รู้หรือไม่ว่าผู้ประกอบการ SME ที่ยื่นเสียภาษีนิติบุคคลนั้น จ่ายภาษีถูกกว่าบุคคลธรรมดาค่อนข้างเยอะ ดังที่กล่าวมาแล้ว
นั่นก็เพราะมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีมากมายที่จะช่วยผู้ประกอบการธุรกิจที่จดทะเบียนนิติบุคคล สามารถนำมาช่วยลดภาษีแบบที่บุคคลธรรมดาทำไม่ได้นั่นเองค่ะ
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ขอบคุณทุกๆ กำลังใจที่มีให้กันเสมอค่ะ
🌷🌷❤❤🙏🙏🙏🙏❤❤🌷🌷

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา