Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
TODAY
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
31 ส.ค. 2021 เวลา 11:00 • ธุรกิจ
ตลาดอีคอมเมิร์ซโตไม่หยุด แต่ธุรกิจแพลตฟอร์มอย่างเช่น Shopee และ Lazada แนวโน้มยังคงขาดทุน
KKP Research โดยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร เผยแพร่บทวิเคราะห์เรื่อง ตีแผ่สมรภูมิ E-Commerce ไทย ตรงไหนคือโอกาส เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 2564 ที่ผ่านมา
โดยมีเนื้อหาที่น่าสนใจอยู่ที่มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซไทยเติบโตต่อเนื่องในทิศทางเดียวกับอาเซียน แต่ธุรกิจแพลตฟอร์มที่ให้บริการซื้อขายออนไลน์ กลับอยู่ในสภาพ ‘ขาดทุน’ และมีแนวโน้มขาดทุนต่อเนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรง
ซึ่ง TODAY Bizview ได้สรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้
⚫ สถานการณ์โควิดทำให้คนต้องหันไปซื้อของออนไลน์มากขึ้น เป็นปัจจัยเร่งให้ตลาดอีคอมเมิร์ซในปี 2020 เติบโตขึ้นจากปีก่อนหน้า 80% มาอยู่ที่ 3 แสนล้านบาท จากที่ปกติในปี 2015-2019 เติบโตเฉลี่ยปีละ 42% เท่านั้น
⚫ KKP Research ยังคาดการณ์ว่าในปี 2025 มูลค่าอีคอมเมิร์ซไทยจะแตะ 7.5 แสนล้านบาท คิดเป็น 16% ของมูลค่าค้าปลีกรวมของประเทศที่จะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 5 ล้านล้านบาท
⚫ ที่น่าสนใจคือ ภายในปี 2025 มากกว่า 40% ของการเติบโตของตลาดค้าปลีกไทยจะถูกขับเคลื่อนจากการขยายตัวของอีคอมเมิร์ซ
⚫ การซื้อขายสินค้าหมวดอาหารและสุขภาพผ่านอีคอมเมิร์ซเติบโตโดดเด่น 74% ส่วนสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นหมวดที่มีมูลค่าสูงสุดบนอีคอมเมิร์ซ และมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง
⚫ KKP Research คาดการณ์ว่าต่อไปสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และหมวดอาหารและสุขภาพ จะมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนตลาดอีคอมเมิร์ซในไทย เนื่องจากในระยะสั้นโควิดยังไม่คลี่คลาย
และในระยะยาวเทรนด์การทำงานที่บ้านจะมีบทบาทมากขึ้น รวมถึงผู้ค้าปลีกเดิมที่มีหน้าร้านจะผันตัวมาขายสินค้าบนออนไลน์มากขึ้น
⚫ ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของอาเซียนรองจากอินโดนีเซียที่ใหญ่กว่าไทยถึง 4 เท่า
⚫ การขยายตัวอีคอมเมิร์ซไทยยังเป็นไปในทิศทางเดียวกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน คือแม้จะมีขนาดเล็กหากเทียบกับค้าปลีก (ยกเว้นอินโดฯ และสิงคโปร์ที่มีสัดส่วนสูงถึง 20% และ 16% ตามลำดับ)
แต่มีอัตราขยายตัวสูงโดยเฉพาะในรอบ 5 ปีหลังสุด (อินโดฯ โตเฉลี่ย 70% ต่อปี) และมีโอกาสขยายตัวเพิ่ม จากปัจจัย 3 ด้าน คือ
1) คนใช้อินเทอร์เน็ตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
2) คนเข้าถึงสมาร์ทโฟนและใช้โซเชียลมีเดียอย่างเข้มข้น มีการซื้อขายผ่านโซเชียลคอมเมิร์ซในสัดส่วนสูง
3) การจ่ายเงินออนไลน์มีหลายรูปแบบมากขึ้น โดยในไทยมีพร้อมเพย์ที่สะดวกและต้นทุนต่อผู้ใช้ต่ำ
⚫ อาเซียนจึงถูกจับตามองว่าจะเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีโอกาสในการเติบโตของค้าปลีกออนไลน์สูง และอีคอมเมิร์ซจะเข้ามากินส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจค้าปลีกดั้งเดิมที่มีหน้าร้านได้
⚫ ตลาดอีคอมเมิร์ซโต ทำให้ธุรกิจแพลตฟอร์มเติบโตด้วย โดย Shopee และ Lazada มีจำนวนผู้เข้าใช้งานมากสุดคือ สูงถึง 51 ล้านและ 33 ล้านรายต่อเดือน ตามลำดับ รวมแล้วเป็นจำนวนมากกว่าครึ่งของการใช้อีคอมเมิร์ซทั้งประเทศ
⚫ รายได้หลักของ Shopee และ Lazada ในปี 2020 ขยายตัวเช่นกัน โดยเติบโตสูงถึง 296% และ 43% ตามลำดับ
⚫ แต่ถึงอย่างนั้น การแข่งขันดุเดือด ทำให้แต่ละรายต้องใช้เงินมหาศาลไปกับการโฆษณาและส่งเสริมการขาย ทำให้ธุรกิจแพลตฟอร์มยังคงขาดทุน และมีแนวโน้มขาดทุนต่อเนื่องในช่วงที่ยังไม่มีผู้ชนะที่ชัดเจน
คือ Shopee และ Lazada มีผู้ใช้งานห่างกันเพียง 6-8% และยังคงแข่งขันกันอย่างไม่สิ้นสุด ทั้งระหว่างนี้ก็อาจมีรายอื่นมาแย่งส่วนแบ่งการตลาดได้
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจคือ
⚫ เมื่อค้าปลีกออนไลน์ขยายตัว ทำให้ธุรกิจอื่นได้รับประโยชน์และเติบโตไปด้วย ได้แก่ ธุรกิจคลังสินค้า, บรรจุภัณฑ์, ขนส่ง และธุรกิจดิจิทัลที่เกี่ยวข้อง เช่น โฆษณาออนไลน์
⚫ แม้มีธุรกิจที่ได้ประโยชน์จากอีคอมเมิร์ซ แต่หลายธุรกิจยังต้องเผชิญกับความท้าทาย เช่น ธุรกิจค้าปลีกที่อาศัยหน้าร้าน, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการขายหรือให้เช่าพื้นที่เพื่อการพาณิชย์ รวมถึงร้านอาหารขนาดใหญ่ที่ถูกแย่งส่วนแบ่งจากฟู้ดเดลิเวอรี่
⚫ แต่ถึงอย่างนั้น ในระยะต่อไปธุรกิจค้าปลีกแบบมีหน้าร้านจะยังอยู่ แต่สินค้าที่จะวางขายนอกจากกลุ่มของชำ อาจเหลือเพียงกลุ่มที่ต้องใช้การปฏิสัมพันธ์กับพนักงานขายหรือผู้เชี่ยวชาญ
ยกตัวอย่างคือ เครื่องสำอาง น้ำหอม นาฬิกา เครื่องประดับ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์มูลค่าสูง และสินค้าที่มีบริการติดตั้ง
⚫ ขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป และสินค้ากลุ่มแฟชั่น จะขยับไปอยู่บนอีคอมเมิร์ซเพิ่มมากขึ้น
⚫ ธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่อย่างห้างสรรพสินค้า สามารถใช้ช่องทางออนไลน์มาเสริมกลยุทธ์ Omnichannel เพื่อสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้า แต่ต้องปิดจุดอ่อนอื่น เช่น ลดต้นทุนค่าเช่าพื้นที่ และจำนวนพนักงาน ถึงจะแข่งกับค้าปลีกออนไลน์ได้
⚫ ช่องทางออนไลน์เป็นทั้งกลยุทธ์ลดผลกระทบจากโควิด และขยายโอกาสเติบโต โดย KKP Research ประเมินว่าธุรกิจค้าปลีกออนไลน์จะขยายตัวต่อเนื่องในอัตราสูงแม้โควิดจะคลี่คลายลงไปแล้ว
⚫ แนะ 3 ข้อให้ภาคธุรกิจปรับตัวรับการเติบโตของอีคอมเมิร์ซคือ
1.ธุรกิจเอสเอ็มอี สร้างตัวตนบนอินเทอร์เน็ต เช่น เพิ่มโปรไฟล์บนแผนที่ออนไลน์อย่าง Google Maps หรือสร้างบัญชีของแบรนด์บนโซเชียลมีเดียต่างๆ และคอยอัพเดตคอนเทนต์ สร้างการมีส่วนร่วมอยู่เสมอ
2.ธุรกิจที่เป็นที่รู้จักอยู่แล้ว เช่น ห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าที่แบรนด์ติดตลาดแล้ว อาจเพิ่มช่องทางออนไลน์เข้ามารวมกับช่องทางหน้าร้าน คือขายผ่านออนไลน์ แล้วให้หน้าร้านเป็นช่องทางให้ลูกค้ามาลองหรือนัดรับสินค้าได้
3.ควรกระจายความเสี่ยงไปในหลากหลายช่องทาง และหลากหลายแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น และสามารถทำธุรกิจต่อเนื่องได้แม้บางแพลตฟอร์มปิดตัวลงจากการแข่งขันที่รุนแรง
⚫ ภาครัฐไทยควรส่งเสริมค้าปลีกออนไลน์ใน 3 ด้าน คือ ส่งเสริมคุณภาพโลจิสติกส์ในประเทศ, ส่งเสริมการจ่ายเงินออนไลน์ สนับสนุนการเก็บภาษีออนไลน์อย่างเป็นระบบและโปร่งใส
และท้ายที่สุดคือลดขั้นตอนและกฎระเบียบต่างๆ เพื่อขยายตลาดค้าปลีกไทยให้ไปไกลกว่าในประเทศ
ที่มา :
https://media.kkpfg.com/document/2021/Aug/(%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%87%E0%B8%A1)%20KKP%20Research_ecommerce.pdf?fbclid=IwAR3lZgv_lkeJXSBGwI3NDcCy9syyXkgztNMhSzNICunfW8JWO9nGhBZzEd0
#TODAYBizview
#workpointTODAY
#สาระความรู้เพื่อวันนี้
ไม่พลาดข่าวธุรกิจ การตลาดที่สำคัญ ติดตาม TODAY Bizview
https://bit.ly/3picIeS
ติดตามรายการของ workpointTODAY ทาง YouTube
https://bit.ly/2YDfyiK
ติดต่อโฆษณา E-mail:
advertorial@workpointnews.com
8 บันทึก
5
9
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
TODAY Bizview
8
5
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย