“ภาษี e - Service นี้ ช่วยสร้างความเป็นธรรมในการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการไทยกับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างชาติ ที่ผ่านมาผู้ประกอบการไทยที่ทำธุรกิจบริการออนไลน์ จะต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ในขณะที่ผู้ประกอบการต่างชาติไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม นอกจากทำให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขันแล้ว ภาษี e - Service จะเป็นการเพิ่มรายได้ทางหนึ่งให้กับประเทศ ซึ่งคาดว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาทในปีงบประมาณ 2564 และในอนาคตจะทำให้ประเทศไทยมีฐานข้อมูลรายได้ของผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างชาติ ที่จะสามารถนำไปใช้ในการคำนวณเป็นฐานภาษีใหม่ที่น่าจะเป็นรายได้อีกทางหนึ่งของประเทศไทยในอนาคต” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าว
4
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า กฎกระทรวงฯ ดังกล่าว ยังกำหนดวิธีการดำเนินการจัดเก็บภาษี e - Service ตั้งแต่กระบวนการจดทะเบียนในระบบ VES การติดต่อระหว่างกรมสรรพากรและผู้ประกอบการจากต่างประเทศ การจัดทำ ส่ง รับ เก็บรักษาเอกสาร การยื่นแบบและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบ Internet โดยการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการ e - Service จากต่างประเทศ ที่จดทะเบียนตามกฎกระทรวงฯ นี้ จะชำระภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการในไทยที่ไม่ได้จดทะเบียน VAT (สำหรับผู้ใช้บริการในไทยที่จดทะเบียน VAT อยู่แล้ว ให้ดำเนินการโดยยื่นแบบและชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบ ภ.พ. ๓๖ และสามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรมาหักเป็นภาษีซื้อได้เช่นเดิม )
4
นอกจากนั้น ผู้ประกอบการ e - Service จากต่างประเทศไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีและไม่มีสิทธินำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย ทั้งนี้ กรมสรรพากรได้เผยแพร่รายชื่อผู้ประกอบการ e - Service จากต่างประเทศที่ได้จดทะเบียนแล้วบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากรที่