Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bluekoff
•
ติดตาม
1 ก.ย. 2021 เวลา 10:30 • ไลฟ์สไตล์
เทคนิคการเลือกดริปเปอร์และกระดาษกรอง
หากคุณเป็นคนที่ชอบดื่มกาแฟดริปต้องรู้จักกับ Dripper อย่างแน่นอน เพราะ Dripper เป็นอุปกรณ์สำคัญในการทำกาแฟดริป เป็นภาชนะที่มีรูระบายน้ำอยู่ตรงกลางใช้คู่กับกระดาษกรอง ซึ่ง Dripper ในท้องตลาดนั้นก็มีให้เราได้เลือกใช้หลากหลายมากๆ ทั้งขนาด วัสดุ และรูปแบบที่แตกต่างกัน วันนี้เราจึงมาแนะนำ Dripper ในแบบต่างๆ ว่ามีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง เพื่อให้เลือกใช้งานได้ตามที่เราถนัดนั้นเอง
ขนาดของ Dripper
1. ขนาด 1-2 cup ปริมาณกาแฟที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 13-20 กรัม
2. ขนาด 2-4 cup ปริมาณกาแฟที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 15-30 กรัม
หากเราใส่ปริมาณมากหรือน้อยเกินไปนั้นก็จะส่งผลต่อการสกัดกาแฟด้วย ดังนั้นการเลือกขนาดของ Dripper ก็เป็นเรื่องที่สำคัญมากทีเดียวค่ะ
วัสดุ
Dripper ที่วางอยู่ตามท้องตลาด หรือแต่ละยี่ห้อก็จะเลือกใช้วัสดุที่แตกต่างกัน เพราะวัสดุแต่ละแบบเองก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกัน ทั้งการนำความร้อน (Thermal Conductivity) และ การกักความร้อน (Heat Retention) ก็แตกต่างกันออกไป การเลือกวัสดุจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะส่งผลต่อรสชาติของกาแฟแก้วอร่อยของคุณ
เรามาทำความรู้จักกับวัสดุต่างๆ ที่นิยมนำมาทำเป็น Dripper และมาดูกันว่าวัสดุแต่ละแบบมีคุณสมบัติอย่างไรบ้างค่ะ
1. แก้ว
เป็น Dripper ที่เห็นกันบ่อยและนิยมเลือกใช้สำหรับการดริปกาแฟ ซึ่ง Dripper ที่ทำจากแก้วนั้นก็มีหลายเกรด หากทำจากแก้วที่มีคุณภาพสูงจะสามารถทนความร้อนและขยายตัวได้ดี ช่วยให้คุณสามารถควบคุมอุณหภูมิของน้ำในขณะที่สกัดกาแฟไม่ให้ลดลงเร็วจนเกินไป อีกทั้งจะไม่ทำปฏิกิริยากับกาแฟ ทำให้รสชาติกาแฟไม่เปลี่ยนไปจากเดิม และด้วยลักษณะของ Dripper ที่ทำจากแก้วจะมีความใส ช่วยให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของกาแฟในขณะที่ทำการสกัดได้อีกด้วย
2. เซรามิก
นับว่าเป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่ได้รับความนิยมจากเหล่านักดริปกาแฟทั้งหลาย เพราะ Dripper ที่ทำจากเซรามิกจะมีสีสันที่หลากหลาย ทำให้หลายคนถึงกับซื้อไว้สะสมเลยทีเดียว ด้วยคุณสมบัติของเซรามิกนั้นเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี ทำให้ Dripper ที่ทำจากเซรามิกนั้นไม่สะสมความร้อนและกักเก็บความร้อนได้ดี ทำให้ความร้อนของกาแฟและน้ำในขณะทำการสกัดจะไม่สูญเสียไป และมีความคงที่ของอุณหภูมิที่ดี กาแฟที่ได้จึงมีรสชาติที่กลมกล่อม เนื้อสัมผัสปานกลาง และมีความสมดุลของรสชาติที่ดี
3. พลาสติก
เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งสำหรับสายดริปที่ชอบการเดินทาง เพราะ Dripper ที่ทำจากพลาสติกพกพาสะดวก ไม่ต้องกลัวแตก สำหรับคุณสมบัติของ Dripper ที่ทำจากพลาสติก คือสามารถถ่ายเทความร้อนในรูปแบบพาความร้อนออกไปได้ค่อนข้างง่าย ทำให้ถ่ายเทความร้อนภายใน Dripper ให้กับอากาศ จนทำให้อุณหภูมิของจุดสมดุลความร้อนใน Dripper ลดลงเร็วกว่าวัสดุอื่นๆ
แต่หากผลิตด้วยพลาสติกชนิด PP หรือ Polypropylene ซึ่งเป็นวัสดุที่มีคุณภาพ จะทำให้เป็นฉนวนความร้อนที่ดีช่วยรักษาอุณหภูมิภายใน Dripper ไม่ให้ลดลงเร็วเกินไปได้ และช่วยคงกลิ่นและรสชาติของกาแฟได้ดี มีความสมดุลและมีมิติของรสชาติ
4. โลหะ (Metal)
ได้แก่ สแตนเลส สตีล (Stainless Steel) และ ทองแดง (Copper) ซึ่งโลหะเป็นวัสดุที่นำความร้อนได้ดีที่สุด และคายความร้อนได้ไวสุด ทำให้ได้กาแฟที่ได้จาก Dripper ที่ทำจากโลหะนี้มีรสชาติที่เข้มข้น มีเนื้อสัมผัสที่ดีขึ้น ส่วนใหญ่จะใช้เกรด 304 มีความแข็งแรง และไม่ทำเป็นปฏิกิริยาเกิดอันตรายต่อร่างกายแต่บางครั้ง (จากประสบการณ์) อาจจะทำให้กาแฟมีรสชาติจัดจ้านและเปรี้ยวขึ้นเล็กน้อยเหมาะสำหรับผู้ชอบกาแฟที่รสจัดมีเนื้อสัมผัสค่อนข้างมาก
รูปทรงของ Dripper และกระดาษกรอง
รูปทรงของ Dripper นั้นจัดว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสกัดและรสชาติของกาแฟ ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่เราจะเห็นดริปเปอร์ที่วางขายในท้องตลาดนั้นจะมีรูปทรงที่หลากหลาย และด้วยรูปทรงของ Dripper แต่ละแบบนั้นก็จะใช้กระดาษกรองที่แตกต่างกันออกไป
ก่อนอื่นเราก็จะมาทำความรู้จักกับกระดาษกรองกันก่อน โดยกระดาษกรองจะมีด้วยกัน 2 ชนิดคือแบบฟอกสี และไม่ฟอกสี
1. แบบฟอกสี ซึ่งจะมีลักษณะเป็นกระดาษสีขาว
กระดาษกรองสีขาว คือกระดาษกรองที่ผ่านการฟอกสี ซึ่งการฟอกสีมีทั้งแบบใช้คลอรีน (Chlorine-bleaching) และใช้ออกซิเจน (Oxygen-bleaching) สามารถดูได้จากบนกล่อง ข้อดีของกระดาษกรองแบบนี้คือไม่ส่งผลต่อรสชาติของกาแฟนั่นเอง
2. แบบไม่ฟอกสีซึ่งก็จะมีลักษณะเป็นกระดาษสีน้ำตาล
กระดาษกรองสีน้ำตาล เป็นกระดาษกรองแบบไม่ฟอกสี ซึ่งเป็นกระบวนการที่ถือว่าอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพราะผ่านกระบวนการแปรรูปที่น้อยกว่า แต่อาจจะทำกาแฟมีกลิ่นกระดาษติดมาด้วย ซึ่งอาจจะป้องกันด้วยการลวกกระดาษกรองก่อน
ไม่ว่าจะเป็นกระดาษกรองแบบไหน อีกอย่างที่สำคัญคือเรื่องของคุณภาพและความหนา
เพราะความหนาบางจะส่งผลต่อการไหลของน้ำด้วยเช่นเดียวกันค่ะ แต่ทั้งนี้ก่อนการใช้งานแนะนำให้ทำการลวกกระดาษก่อนใช้งานเสมอ เพื่อเป็นการล้างกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ที่มักจะติดมากับกระดาษ
หลังจากที่ทำความรู้จักกับชนิดของกระดาษกรองกันไปแล้ว มาทำความรู้จักกับรูปทรงของ Dripper กันดีกว่า ซึ่งแบ่งออกมาได้ 3 ประเภทด้วยกันคือ
1. ทรงกรวย
2. ทรงตะกร้าหรือทรงกระบอก
3. ทรงคางหมู
1. ทรงกรวย (Cone-Shaped)
Dripper ทรงกรวยถูกผลิตขึ้นครั้งแรกโดยบริษัท Kono ประเทศญี่ปุ่นและถูกดัดแปลงจากหลายบริษัทจนกลายเป็น Dripper ที่นิยมไปทั่วโลก
เป็นทรงคลาสสิกของ Dripper หรือที่รู้จักกันในนาม V60 เพราะเป็น Dripper ที่ถูกออกแบบมาให้ทำมุม 60 องศา เพื่อให้เกิดการสกัดรสชาติที่ดี มีลักษณะปลายทะลุเป็นช่องว่าง
ซึ่งแต่ละยี่ห้อจะมีความแตกต่างกันทั้งวัสดุที่ใช้ ขนาดและรูปทรงเกลียวด้านใน ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ผลิต เกลียวด้านใน Dripper จะช่วยให้น้ำไหลผ่านกาแฟได้อย่างราบรื่น ไม่เกิดสูญญากาศ แต่เนื่องจากส่วนปลายของ Dripper นี้เป็นรูใหญ่เพียงตำแหน่งเดียว ทำให้น้ำไหลผ่านลงไปค่อนข้างเร็ว ฉะนั้นหากเราไม่ต้องการให้น้ำไหลผ่านกาแฟเร็วเกินไป หรือกลัวว่าน้ำจะสัมผัสกาแฟได้ไม่ทั่วถึง ก็ต้องพิถีพิถันกันในขั้นตอนการรินน้ำร้อน เพื่อให้น้ำสัมผัสกาแฟได้อย่างทั่วถึง และอยู่ในระยะเวลาเหมาะสม
กระดาษกรองเป็นรูปทรงกรวยปลายแหลม โดยควรเลือกให้มีขนาดสัมพันธ์กับ Dripper ด้วย มีอยู่สองแบบคือ แบบเรียบและแบบหยัก ทรงกรงกรวยมีอัตราการไหลของน้ำค่อนข้างคงที่
2. ทรงกระบอกหรือตระกร้า
มีลักษณะเด่นที่ก้นของ Dripper จะเป็นแบบแบนทรงกลม มีรูระบายน้ำด้านล่าง 3 จุด แต่ด้านในจะไม่มีร่องน้ำเพื่อช่วยในการควบคุมการไหลของน้ำ แต่ด้วยรูระบายน้ำ 3 จุดจึงทำให้ไม่กักน้ำไว้นานจนเกินไป รสชาติกาแฟจึงไม่เกิดการสกัดจนมากเกินไปนั้นเอง
สำหรับกระดาษกรองที่ใช้จึงเป็นแบบหยัก ที่ออกแบบมาสำหรับ Dripper แบบนี้โดยเฉพาะ เพื่อให้เกิดช่องว่างทำให้อากาศสามารถไหลผ่านได้ดีมากขึ้น
3. ทรงคางหมู
เป็น Dripper ที่มีลักษณะตรงปลายถูกบีบให้แคบเป็นแนวเส้นตรง จะมีรูเล็กๆ ระบายน้ำอยู่ด้านล่าง ซึ่งจะมีทั้งแบบที่เป็น 1 ตำแหน่ง จนถึง 3 ตำแหน่ง ลักษณะเด่นของ Dripper แบบนี้คือสามารถกักน้ำไว้ได้ดี ยิ่งรูระบายน้อย น้ำก็จะระบายได้ช้าลง ซึ่งการเทน้ำเพื่อสกัดกาแฟจึงต้องระวังเพื่อไม่ให้กาแฟแช่น้ำนานจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้กาแฟถูกสกัดออกมามากจนเกินไปนั่นเอง
สำหรับกระดาษกรองที่เหมาะสมเป็นกระดาษกรองทรงกรวยปลายตัด ที่ถูกออกแบบมาสำหรับ Dripper แบบนี้โดยเฉพาะ หรือสามารถใช้กระดาษกรองที่เป็นทรงกรวยแล้วพับปลายก็ได้เช่นกัน
จากประสบการณ์ที่ชงกาแฟดริปมาพบว่ามีอยู่ 1 ตัวที่น่าสนใจมากๆ คือ Wilfa ซึ่งเป็น Dripper ทรงคางหมูแต่มีความแตกต่างจากทรงคางหมูทั่วไปรวมถึงแตกต่างจาก Dripper ในแบบอื่นๆ ตรงที่ ออกแบบรูปทรงให้มีผนัง 2 ชั้น (Double wall) ช่วยควบคุมอุณหภูมิของน้ำให้เสถียร อีกจุดเด่นของ Wilfa คือมี Flow Rate control สามารถปรับอัตราการไหลของน้ำได้ถึง 9 ระดับ ทำให้เราสามารถปรับให้มีการแช่ผงกาแฟไว้ในน้ำได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับการเปิด-ปิดวาล์วนั้นเอง
ลักษณะการทำงานของ Wilfa เป็นเสมือนการผสมผสานระหว่าง Dripper และ French press คือสามารถชงด้วยวิธีการดริปทั่วไปแบบให้น้ำไหลผ่านและการปรับให้มีการแช่ได้ด้วยเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ทำให้มือใหม่ที่เพิ่งหัดชงสามารถชงให้รสชาติออกมาใกล้เคียงตามเดิมไม่ต้องกังวลในการลงน้ำหลายๆ ครั้ง และตัว Wilfa นั้น ยังมี Water ByPass หรือก็คือช่องสำหรับเทน้ำเพื่อเจือจางกาแฟที่สกัด โดยที่คุณไม่ต้องยก Dripper ออกนั่นเอง
หลังจากที่เรารู้จัก Dripper ในแบบต่างๆ แล้ว การชงกาแฟดริปให้รสชาติออกมาดีนั้นยังมีองค์ประกอบอื่นๆที่สำคัญนอกเหนือจาก Dripper อีกหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น อุณหภูมิ เวลาในการสกัด และขนาดของผงกาแฟอีกด้วย
หากถามว่ารสชาติกาแฟที่ดีควรจะเป็นแบบไหน เป็นเรื่องที่ตอบได้ยากมากๆ เพราะรสชาติที่ดีคือรสชาติที่เราชื่นชอบนั่นเอง การชงกาแฟไม่มีผิดไม่มีถูก ขอเพียงเราสนุกไปกับเรื่องราวของมัน และดื่มด่ำไปกับกลิ่นและรสชาติใหม่ๆ เพิ่มประสบการณ์และซึมซับไปกับมัน นั่นจึงถือเป็นเรื่องราวดีๆ ที่เราอยากให้คุณได้รับเหมือนๆ กันกับคอกาแฟหลายคนที่รักและหลงใหลในโลกของกาแฟใบนี้ ขอให้มีความสุขและสนุกไปกับการชงกาแฟในทุกๆ ครั้งของคุณ
ดูรายละเอียดของสินค้าได้ที่ :
https://shop.bluekoff.com/ProductList.aspx?cat=90
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือสั่งซื้อ
โทร. 081-979-9565 ต่อ 2 Bluekoff Showroom
Line: @bluekoff
www.bluekoff.com
#Bluekoff #SpecialCoffee #SpecialtyCoffee #CoffeeCoffeeCoffee #Origami #Dripper
1 บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Specialty Coffee : เจาะลึกเรื่องกาแฟกันแบบหมดเปลือก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
โฆษณา
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย