Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
A WAY OF LIFE : ทางผ่าน
•
ติดตาม
4 ก.ย. 2021 เวลา 08:01 • ปรัชญา
"พบผู้รู้ ให้ทำลายผู้รู้ เป็นยังไง ? "
1
"... ผู้รู้ ก็คือ สภาวะของจิตที่ตั้งมั่นนั่นเอง
เกิดจากการที่เราฝึกอบรมสติปัฏฐาน 4 อยู่เนือง ๆ
เจริญกายคตาสติอยู่เนือง ๆ
ระลึกรู้สึกตัวขึ้นมาอยู่เสมอ
จนเกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมขึ้นมา
1
เมื่ออยู่กับความรู้สึกตัวไปเรื่อย ๆ
อยู่กับความรู้สึกตัวทั่วพร้อมได้ดี
จากฐานของเวทนาก็ส่งเข้าสู่ฐานของจิต
เกิดความตั้งมั่น ตื่นรู้ขึ้นมา
ก็จะมีแรงส่ง วางฐานเวทนา เข้าสู่ฐานของจิต
1
เมื่อเข้าสู่ฐานของจิต
เกิดความตั้งมั่น ตื่นรู้ขึ้นมา
จิตก็จะหลุดออกจากอารมณ์ต่าง ๆ
ปล่อยวางกาย ปล่อยวางอารมณ์ต่าง ๆ
ก็จะเกิดสภาวะของการแยกขันธ์ในเบื้องต้น
1
ก็คือแยกกาย กับ แยกจิต
แยกอารมณ์ กับ ผู้รู้อารมณ์
จึงเกิดสิ่งที่เรียกว่า "จิตผู้รู้" ขึ้นมา
นั่นคือสภาวะของจิตที่ตั้งมั่น
เกิดสภาวะธรรมคู่ ก็คือ ผู้รู้และสิ่งที่ถูกรู้
กาย กับ จิต ก็แยกออกจากกัน
ผู้ปฏิบัติที่เข้าถึงสภาวะตรงนี้
ฐานของจิตมีความตั้งมั่น
เวลาเดินไป เคลื่อนไป
จะรู้ว่ากายก็เป็นแค่ส่วนของกาย
เหมือนหุ่นยนต์ที่เคลื่อนไป
มันไม่ใช่ตัวเราแล้ว
เพราะว่าสติไม่ได้ครองฐานกายแล้ว
วางฐานกาย วางอารมณ์แล้ว
แต่มันมีใจที่รู้อยู่
จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้อยู่นั่นเอง
จะหลุดจากอุปาทานเบื้องปลาย
ก็คือสภาวะของจิตส่งออก
จิตไม่เกิดการส่งออกแล้ว
จึงเกิดสิ่งที่เรียกว่า จิตตั้งมั่น หรือจิตอยู่ที่ฐาน
นั่นคือสภาวะระดับสมาธิ จิตตั้งมั่น
แต่มันยังมีความยึดผู้รู้อยู่นั่นเอง
เพราะว่าอุปาทานเบื้องปลายหลุดไปแล้ว
แต่อุปาทานเบื้องต้นยังอยู่
ก็คือ อวิชชาที่ครอบงำอยู่
ทำให้เกิดกระบวนการที่เรียกว่า
อวิชชาเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขาร
สังขารเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญานขันธ์
สภาวะของจิตผู้รู้จะอยู่ได้
ทั้งระดับของรูปฌาน แล้วก็อรูปฌาน
รูปฌาน ก็คือ จิตตั้งมั่น
มีเอกคัคตาจิต มีอุเบกขา ความนิ่งเฉยต่าง ๆ
แต่ถ้าอยู่กับสภาวะนี้ไปเรื่อย ๆ
มันก็จะเข้าสู่ระดับอรูปฌาน
อากาสานัญจายตนะ ว่างเวิ้งว้าง
โดยเฉพาะวิญญานัญจายตนะ เข้าถึงวิญญานธาตุ
มันจะเป็นรู้เวิ้งว้าง ไร้ขอบเขตเลย
1
ตรงนี้จะเป็นสภาวะเด่นมาก
ที่เรียกว่า "พบผู้รู้ ที่ต้องทำลายผู้รู้"
2
มันจะเป็นรู้เวิ้งว้างอยู่อย่างนั้น
ทุกอย่างมันไม่มีอะไร มันหลุดหมดแล้ว
แต่มันเป็นเนื้อเดียวกับวิญญานธาตุ
ตัวรู้ ผู้รู้นั่นเอง
ซึ่งถ้าระดับ วิญญานนัญจายตนะ จะชัดมาก
จะเป็นผู้รู้ที่เด่นดวงอยู่อย่างนั้น
อารมณ์หลุดออกหมดแล้ว
1
ไม่ไปยึดเกาะกับอารมณ์ใด ๆ แล้ว
แต่ยึดตัวมันเอง ก็คือ ยึดผู้รู้อยู่
มีตัวรู้อยู่ จะรู้สึกว่าเหมือนผู้รู้ที่เป็นจุดเป็นหย่อมอยู่นั่นเอง
มีเซ็นเตอร์ (Center) ยังมีความเป็นตัวเราอยู่
ตรงนี้บางทีเราจะรู้สึกเหมือนเราอยู่ในห้องโล่ง ๆ
ห้องก็ว่างเปล่า ไม่มีอะไร
แต่จริง ๆ มันยังมีตัวเราอยู่
ตัวเราที่รู้สึกว่ามันโล่ง มันว่าง ไม่มีอะไร
ยังมีตัวเราที่เป็นผู้รู้ ยังมีต่อมผู้รู้อยู่นั่นเอง
1
ถ้าเราเดินสภาวะในระดับวิญญาณัญจายตนะ จะชัดเลย
แล้วก็ไปอากิญจัญญายตนะ โล่งเวิ้งว้างเป็นเนื้ออวกาศ
จนเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ นิ่งเฉย
นิ่งเฉย สงบ ไม่มีอะไร
แต่มันก็ยังมีผู้รู้ที่เป็นจุดเป็นหย่อมนี้อยู่เช่นเดิม
ฉะนั้นต่อให้เราเดินสมาธิ ฌานสมาบัติละเอียดเท่าไร
ก็ยังมีต่อมผู้รู้ตรงนี้อยู่
เราจะเริ่มหลุดจากตรงนี้ได้
ก็ต่อเมื่อเรา ... อยู่กับความตั้งมั่นของสติไปเรื่อย ๆ
จนสามารถเพิกอวิชชาออกไปจากใจได้
หรือว่า "เปลื้องจิต"
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
เมื่อจิตตั้งมั่น พระองค์ก็สอนให้ยิ่งขึ้นไปว่า
เปลื้องจิต หรือ ปล่อยวางจิตนั่นเอง
หรือ ทำจิตให้ปล่อยอยู่
หรือบางครั้งพระองค์ก็จะตรัสว่า
น้อมจิตเข้าสู่อมตธาตุ
นั่นสงบ นั่นระงับ นั่นประณีต ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
โดยสภาวะก็คือ เมื่อเราอยู่กับความตั้งมั่นของสติได้ดี
จนมันเกิดสภาวะรู้ ตื่น แล้วก็เบิกบาน
แก่นที่เป็นธาตุบริสุทธิ์ภายใน
จะแทงทะลุอวิชชา เพิกอวิชชาที่เป็นสิ่งที่ห่อหุ้มอยู่
เพิกอวิชชาออกไป
ธรรมทั้งหลายก็จะปรากฏตามความเป็นจริง
ยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา
ตัวจิตผู้รู้จะถูกเพิกออกไป หลุดออกไป
กลายเป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้
ขันธ์ทั้งห้าก็จะกลายเป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้
รับรู้สรรพสิ่งตามความเป็นจริง
การแตกดับของสรรพสิ่ง
นั่นคือการยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาญาน
เห็นตามความเป็นจริงขึ้นมา
จึงจะเห็นเลยว่า
เวลาอยู่กับจิตที่เป็นสมาธิจิตตั้งมั่น
จิตก็สงบนิ่งดี
แต่พอสามารถยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาญานได้เท่านั้น
จะพบว่าจิตมันไม่เคยนิ่งสงบเลย
จิตมันจะเกิด-ดับ เกิด-ดับ เกิด-ดับ เป็นสันตติ
ที่ท่านเรียกว่า "เกิดญานเห็นจิต" นั่นเอง
เกิดญานเห็นจิต หรือ พิจารณาเห็นจิตในจิต
จะเป็นสภาวะระดับของวิปัสสนาญานนั่นเอง
เห็นการแตกดับของสรรพสิ่ง
ของรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน
ของรูปนาม ขันธ์ห้า
เรียกว่า "เห็นตามความเป็นจริง"
เมื่อเกิดการเห็นตามความเป็นจริงอย่างนี้
ย่อมเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด
มีแต่สิ่งที่ปรุงแต่ง มีแต่สิ่งที่แตกดับ
เมื่อเกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด
จะถอนอาลัยในโลก สิ้นอาลัยในตัณหานั่นเอง
เกิดกระบวนการรู้ทุกข์ เห็นตามความเป็นจริง
ละเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ก็คือ ตัณหาอุปาทาน
มันจะเป็นการละอุปาทานเบื้องต้นนั่นเอง
ชอบเรียกสลับกัน เบื้องต้น เบื้องปลาย ต้นน้ำ ปลายน้ำ
อุปาทานเบื้องปลาย คือ จิตส่งออก
อุปาทานเบื้องต้น ละอุปาทานเบื้องต้น คือ ต้นน้ำเลย
ก็คือตั้งแต่อวิชชาเป็นปัจจัย
จึงเกิดสังขาร ความปรุงแต่ง
สังขารเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญานขันธ์
ละกันเบื้องต้นเลย
เมื่อละเบื้องต้น เบื้องปลายออกหมดสิ้น
ก็สลัดคืนสู่ความบริสุทธิ์ของธรรมชาติ
เมื่อคืนสู่ความบริสุทธิ์
กระแสปฏิจจสมุปบาทก็จะดับไปตลอดสาย
อวิชชาก็จะดับ
แต่ยังไม่สามาถทำลายอวิชชาได้นะ
ยังมีตัวกระแสอยู่
เหมือนดอกบัวที่เราเพิกออก แล้วหายไป
แต่จริง ๆ แล้ว
เรายังไม่สามารถทำลายอวิชชาได้จริงหรอก
ถ้าเราทำลายได้ ต้องเป็นรอบสุดท้ายแล้ว
ที่เรียกว่า "สังโยชน์เบื้องปลาย"
ก็คือต้องบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์
ถึงจะทำลายกระเปาะอวิชชาได้จริง ๆ
ระดับรองลงมาคือได้แต่เพิกออกแล้วสลายไป
แต่ว่ายังมีตัวเชื้ออยู่
ก็สลัดคืนสู่ความบริสุทธิ์
กระแสปฏิจจสมุปบาทก็จะหายไปหมดเลย
วิญญานขันธ์ก็ไม่เกิด จิตผู้รู้ก็ไม่เกิด
ถึงเรียกว่า "พบผู้รู้ ให้ทำลายผู้รู้"
เราไม่ได้ไปทำลายตรง ๆ หรอก
มันจะสลายไปเอง
เมื่อไม่เกิดการยึดมั่นถือมั่น
ที่เรียกว่า "จิตหลุดพ้น เพราะความไม่ยึดมั่นถือมั่น"
ก็จะเข้าถึงความบริสุทธิ์ของธรรมชาติ
ถ้าสงสัยว่า อ้าว ผู้รู้ไม่มี วิญญานขันธ์ไม่มี
แล้วรับรู้ได้ยังไง ?
ภาษาพระท่านเรียกว่า "วิมุตติญานทัศนะ"
เหลือแต่ "ธาตุบริสุทธิ์" ที่เป็นญานทัศนะ
เกิดการรู้ตามความเป็นจริง
นั่นแหละของจริง ที่เป็นธาตุบริสุทธิ์ล้วน ๆ
มีแต่ธาตุอันบริสุทธิ์เท่านั้น
ที่จะสามารถสลัดคืนสู่ธาตุบริสุทธิ์ได้
ก็คือความบริสุทธิ์ของธรรมชาติ
1
ตรงนั้นก็จะเป็นการรับรู้แบบบริสุทธิ์
ที่เรียกว่า "ญานทัสสนวิสุทธิ"
การเห็นที่หมดจด นั่นเอง
อยากเข้าใจกลไลธรรมชาติตรงนี้
ก็ให้ฝึกตามที่สอนอยู่ประจำ
แล้วเราจะแจ้งด้วยใจของเราเอง
เมื่อเราปฏิบัติเข้าถึงสภาวะระดับนั้นได้นะ
การฟังก็แค่พอทำความเข้าใจ
แต่มันจะเกิดความเข้าใจ
ที่เรียกว่า "แจ่มแจ้งในธรรม"
ก็ต่อเมื่อเราลงมือปฏฺิบัติ
แล้วเกิดการรู้แจ้งแทงตลอดด้วยตัวเองนั่นเอง
เป็นสัจธรรมเหมือนกันทุกคน
เพราะฉะนั้น พระพุทธศาสนาเรา
เราจะเข้าใจแจ่งแจ้งจริง ๆ
ก็ต่อเมื่อต้องลงมือปฏิบัติ
แล้วเกิดการรู้แจ้งตามความเป็นจริงโดยสภาวธรรม
1
เราไม่สามารถแจ่มแจ้งได้
โดยการใช้มันสมองในการตรึกนึก
ในการฟังเท่านั้น
มันเป็นแค่ไกด์เฉย ๆ
แต่เราจะเข้าใจแบบแจ่มแจ้ง
ที่เรียกว่า "รู้แจ้ง" จริง ๆ
ก็ต่อเมื่อต้องก้าวเดินฝึกปฏิบัติ
เพราะฉะนั้น วิถีของพระพุทธศาสนา
จึงเป็นวิถีของการสร้างเหตุ
การลงมือปฏิบัติ การฝึกฝนตนเอง
จนสามารถแทงตลอดอริยสัจ 4
คืนสู่ความบริสุทธิ์ของธรรมชาติได้ ... "
.
ธรรมบรรยาย โดย
พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
1
เยี่ยมชม
youtube.com
พบผู้รู้ ให้ทำลายผู้รู้ | ธรรมให้รู้•2564 : ตอนที่ 150
ขอบคุณรูปภาพจาก : Unsplash
13 บันทึก
9
4
26
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
คำสอนครูบาอาจารย์
13
9
4
26
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย