Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
FIT ESTiiM | TH
•
ติดตาม
5 ก.ย. 2021 เวลา 12:11 • สุขภาพ
ต้องออกกำลังกาย 30 นาทีขึ้นไป
ร่างกายจึงเผาผลาญไขมัน ... จริงหรือไม่?
ตอบสั้นๆ... ไม่จริง!!
ตอบยาวๆ...
ไม่จริง เพราะร่างกายของคนเรามีระบบการใช้พลังงาน 3 ระบบ คือ
1. Oxidative Aerobic System
2. Glycolytic System
3. ATP-PC
ระบบทั้ง 3 ทำงานอย่างไร ขึ้นอยู่กับ
1. ความเข้มข้นของกิจกรรม
2. ระยะเวลาที่ทำกิจกรรมนั้นๆ
แล้วระบบไหนทำงานอย่างไร?
1. Oxidative Aerobic System
เผาผลาญไขมันออกมาเป็นพลังงาน โดยใช้ Oxygen
ร่างกายมักจะใช้พลังงานจากระบบนี้ เมื่อเราทำกิจกรรมที่ความเข้มข้นต่ำ ใช้ระยะเวลานานๆ
เช่น การวิ่ง Jogging, การเดินออกกำลังกาย, การยืน, หรือแม้แต่การ "นอน" ร่างกายล้วนใช้ระบบพลังงาน Oxidativeฯ ทั้งสิ้น
คนที่นอนอย่างเดียว จึงผอมลงได้ โดยที่ไม่ต้องออกกำลังกาย แค่เพียงทำให้ Calorie Deficit ได้ ก็เป็นอันพอ เพราะตลอดเวลาที่นอน ร่างกายก็ดึงไขมันมาเป็นพลังงานอยู่แล้ว 🤣 (แต่ก็แนะนำให้ออกกำลังกายอยู่ดีนะ)
ระบบนี้ข้อเสียคือ ดึงพลังงานออกมาใช้ได้ไม่เร็วนัก
และดึงพลังงานออกมาใช้แต่ละครั้งได้ไม่เยอะ
ดังนั้น หากร่างกายต้องใช้แรงเยอะเมื่อไหร่ ร่างกายจึงจำเป็นต้อง Switch ไปใช้แหล่งพลังงานรูปแบบอื่น ที่ดึงพลังงานมาใช้ได้ไวกว่านี้
2. Glycolytic System
เป็นระบบพลังงานที่ไม่ใช้ Oxygen เป็นพลังงาน
แต่ใช้ Glycogen (แป้ง) ที่เก็บอยู่ตามกล้ามเนื้อมาใช้เป็นพลังงาน
เนื่องจากแหล่งพลังงานเก็บไว้ในกล้ามเนื้ออยู่แล้ว การดึงไปใช้จึงทำได้รวดเร็วกว่าระบบ Oxidative และสามารถใช้พลังงานได้มากกว่า (ภายในเวลาที่เท่ากัน) ทำให้เราสามารถทำกิจกรรมที่มีความหนักมากขึ้นได้ เช่น Weight Training, วิ่งรอบสนาม, ฯลฯ
แต่ระบบพลังงานนี้ ก็ยังไม่ใช่ระบบที่ทำงานได้ เร็ว + แรง ที่สุดอยู่ดี หากต้องทำกิจกรรมที่ต้องใช้ "แรงระเบิด" ร่างกายก็จะต้องเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานอีกอย่างหนึ่งร่วมด้วย คือ
3. ATP-PC
เป็นระบบพลังงานที่ร่างกายจะใช้เมื่อต้องทำกิจกรรมที่เข้มข้นสูง (เร็ว + แรง) แต่จะใช้ได้ในระยะเวลาสั้นๆ (เพราะหมดเสียก่อน 😂) เช่น วิ่ง Sprint, Power Lifting ที่ต้องใช้แรงเยอะๆ ในคราวเดียว
โดยพลังงานจากระบบ ATP-PC ทำงานได้เพียงแค่ประมาณ 15 วินาทีเท่านั้น จากนั้นร่างกายจะเปลี่ยนไปใช้ Glycolytic และ Oxidative ตามลำดับ
(ในคนที่ฝึกฝนอาจจะนานขึ้น ส่วนคนที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย พลังงานส่วนนี้อาจหมดก่อน 15 วินาทีก็ได้)
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพการทำงานของทั้ง 3 ระบบง่ายๆ
สมมติเรายืนอยู่เฉยๆ แล้วออกวิ่ง Sprint ทันที
ช่วง 0-15 วินาที ร่างกายจะใช้ ATP-PC
เมื่อพ้น 15 วินาทีไปแล้ว แรงเราจะเริ่มตก
นี่เป็นช่วงที่ร่างกายค่อยๆ เปลี่ยนมาใช้ระบบ
Glycolytic ณ จุดนี้แม้แรงจะตก แต่เราก็ยังวิ่งเร็วต่อได้อีกสักระยะหนึ่ง
ถัดไป ประมาณนาทีที่ 2 ของการวิ่ง หากสังเกตุดีๆ จะพบว่าแรงตกจากช่วงก่อนหน้ามากพอสมควร ตอนนี้คือตอนที่ร่างกายค่อยๆ Switch มาใช้ระบบ Oxidative นั่นเอง
ซึ่งถ้าเราฝึกระบบนี้มาดี จะสามารถวิ่งต่อได้ยาวๆ เพราะระหว่างทางที่วิ่ง ร่างกายก็มีการ Recovery ด้วยนิดหน่อยเช่นกัน (แต่ไม่ฟื้นตัวเร็วเท่าตอนนั่งพัก / ยืนพัก นะ)
และเมื่อใช้พลังงานไปจนวิ่งไม่ไหวแล้ว
ร่างกายจะเข้าสู่ระบบพลังงาน Oxidative เต็มตัว
เพื่อฟื้นฟูร่างกาย
เห็นไหมครับว่าร่างกายใช้ไขมันเป็นพลังงานอยู่ตลอดเวลา แม้ไม่ออกกำลังกาย
ส่วนตอนที่ออกกำลังกาย ร่างกายก็เริ่มใช้ไขมันมาเป็นพลังงาน ตั้งแต่ตอนที่เข้านาทีที่ 2 แล้ว
(นี่ยังไม่ได้พูดถึงเรื่อง After Burn เลยนะ ที่ร่างกายก็จะเผาผลาญไขมันชดเชยอยู่ดี แม้จะออกกำลังกายด้วยความเข้มข้นสูง)
ดังนั้น การที่บอกว่า "ร่างกายจะเผาผลาญไขมันก็ต่อเมื่อเราออกกำลังกายเกิน 30 นาที" จึงไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
แต่ถึงกระนั้น มันก็เป็นกุศโลบาย สำหรับคนที่ออกกำลังกายด้วยความเข้มข้นต่ำ เช่น วิ่ง Jogging, เดินออกกำลังกาย ว่าให้ออกกำลังกายให้นานๆ หน่อย ถึงจะเผาผลาญแคลอรีได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ
หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้เพื่อนๆ เข้าใจระบบพลังงานของร่างกายมากขึ้น ไม่มากก็น้อย
และสำหรับใครที่ "ไม่ออกกำลังกาย เพราะเวลาน้อย"
ก็อยากให้ลองเปลี่ยนความคิดดู เพราะว่าต่อให้มีเวลาน้อย การออกกำลังกายก็ยังสามารถทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันได้อยู่ดี แม้ว่าจะออกกำลังกายไม่ถึง 30 นาทีก็ตาม
สำหรับใครที่มีข้อสงสัย หรือมีข้อเสนอแนะอะไร สามารถส่งคำถามมาได้ทาง inbox หรือทาง Comment ได้เลยนะครับ
เพราะคำถามของเรา
อาจช่วยคลายความสงสัยให้ใครได้หลายคน
Thanks for Reading. 😊
Be Fit,
Be Esteem.
#ระบบพลังงาน #ออกกำลังกาย #30นาที
#เผาผลาญไขมัน #oxidative #glycolytic #ATP
บันทึก
1
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย