7 ก.ย. 2021 เวลา 03:30 • สุขภาพ
โรคหูดับ อันตรายที่อาจจะแฝงมาพร้อม ๆ กับหมูกระทะ !?
หลาย ๆ คนช่วงนี้ที่ร้านเริ่มเปิดแล้ว ก็คงจะให้หมูกระทะเยียวยาจิตใจจากความเครียดใช่ไหมละครับ (ผมก็เป็น 1 ในนั้นเหมือนกัน😄😄😄)
เลยนึกขึ้นมาได้ว่า มันมีโรคที่อันตราย มาก ๆ โรคนึง ที่อาจจะมาพร้อมกับหมูกระทะ
นั่นก็คือโรคหูดับ !!
โรคหูดับเกี่ยวอะไรกับหมูกระทะ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันเลยดีกว่าครับ
โรคหูดับ คืออะไร ?
โรคหูดับ คือ โรคติดเชื้อ สเตรฟโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus Suis) เป็นโรคติดต่อระหว่าง สัตว์ สู่ คน
ซึ่งต้นต่อของโรคนี้มาจาก หมู ที่เราบริโภคเข้าไป หรือแม้กระทั้งการสัมผัสกับหมูที่เป็นโรคนี้ ก็อาจจะทำให้เราเสี่ยงจากการติดโรคหูดับ ได้ด้วยเหมือนกัน 😲😲😲
โรคหูดับ เป็นโรคที่เกิดจากแบคทีเรียที่ชื่อว่า สเตรฟโตคอกคัส ซูอิส ซึ่งมีอยู่ภายในร่างกายของหมู ซึ่งปกติแล้วก็จะมีกันเกือบทุกตัวอยู่แล้ว
โดยที่แบคทีเรียชนิดนี้ สามารถติดต่อจากหมู สู่คนได้ จากทั้งหมด 2 วิธี
คือ 1 การบริโภค หมูที่ไม่สุก
แน่นอนว่าหมูที่ไม่สุกนั้นจะมีแบคทีเรียจำนวนมาก ซึ่งนั่นรวมไปถึง แบคทีเรียชนิดนี้ด้วยเหมือนกัน ทำให้เมื่อเราทานหมูที่ดิบทๆ เราก็จะมีโอกาสติดเชื้อ จากแบคทีเรียตัวนี้ได้
และ 2 คือ การสัมผัส !! 😲🤔🤔
ฟังดูไม่น่าเชื่อนะครับ ว่าแค่การสัมผัสหมูที่มีแบคทีเรียชนิดนี้ นั้นสามารถทำให้เราป่วยเป็นโรคหูดับได้
ถ้าเป็นการสัมผัสธรรมดานั้นก็อาจจะไม่เป็นอะไร แต่ถ้าสมมุติว่า เรานำมือที่เป็นแผลบริเวณมือ แล้วไปสัมผัสกับหมูที่มีแบคทีเรียชนิดนี้
หรือ เรานำมือที่เปอะหมูที่มีแบคทีเรียชนิดนี้ ไปขยี้ตา ก็จะมีโอกาสที่จะทำให้แบคทีเรียชนิดนี้ เข้าสู่ร่างกายและก่อโรคได้เช่นกัน
อาการของโรคหูดับนั้น จะเริ่มจาก มีไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว ตามข้อ ปวดหัว เวียนศีรษะ มีจ้ำเลือดตามตัว ซึม คอแข็ง (ไม่ได้หมายว่ากินเเหล้าเก่งนะ😄😄😄) ชัก ลามไปจนถึงเสียชีวิตครับ
สำหรับการรักษานั้น คือการให้ยาจำพวกยาปฏิชีวนะในกลุ่มยาเพนนิซิลลิน (Penicillin)
แต่ สำหรับผู้ป่วยบางคน อาจจะมีอาการผิดปกติหลงเหลืออยู่บ้าง เนื่องจากแบคทีเรียได้เข้าไปทำลายระบบบางอย่างในร่างกายแล้ว ในบางรายอาจจะเป็นได้มากถึงการตาบออดเลยละครับ
สำหรับการป้องกัน นั้นไม่ยากครับ อันดับแรกคือ ทานหมูที่สุกแล้วเท่านั้น ต่อมาคือ หลีกเลี่ยกการสัมผัสหมูด้วยมือเปล่า หรือ การสัมผัสหมูโดยตรง
เพี่ยงเท่านี้ก็สามารถตัดโอกาสกการเกิดโรคหูดับได้แล้วละครับ
เพราะฉะนั้นแล้ว ในวงหมูกระทะนั้นในระหว่างที่ทาน ก็ควรจะแน่ใจจริง ๆ ว่าหมูนั้นสุกแล้วแน่นอน
และการคีบหมูก็ควรจะใช้ที่คีบ ไม่ควรใช้ตะเกียบส่วนตัวในการคีบหมูครับ เพราะอาจจะทำให้แบคทีเรียติดไปกับตะเกียบได้
ถ้าเราปฏิบัติตามคำแนะนำนี้แล้วละก็เราก็จะมั่นใจได้เลยครับ ว่า โรคหูดับนั้นจะไม่มีทางเกิดขึ้นกับเราแน่นอน
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับเรื่องราว ที่นำมาฝากกันในวันนี้ ?
ทุก ๆ คนสามารถ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับ นภา ได้ผ่านการแสดงความคิดเห็นและแบ่งปันเรื่องราวกันได้ที่ด้านล่าง นี้เลยครับ ⬇️⬇️⬇️
และมากไปกว่านั้น ยังสามารถ เป็นกำลังใจ และสนับสนุน นภา ได้ด้วยการ กดว้าว เพื่อบอกกับเราว่า อ่านมาถึงบรรทัดสุดท้ายนะครับ 😆😆
Ref :
🌸 นภา เรียบเรียง 7/09/64

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา