20 ก.ย. 2021 เวลา 00:00 • นิยาย เรื่องสั้น
ยุทธจักรวาลกิมย้ง
ตอน 2 : หนึ่งร้อยปีมีกิมย้งหนึ่งคน
3
Blockdit Originals ซีรีส์บทความพิเศษ
หากวงการไซไฟมีสามเสาหลัก รอเบิร์ต ไฮน์ไลน์ - ไอแซค อสิมอฟ - อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก วงการนิยายจีนกำลังภายในสมัยใหม่ก็มีสามเสาหลักคือ เนี่ยอู้เซ็ง-กิมย้ง-โก้วเล้ง
1
เนี่ยอู้เซ็งกับกิมย้งเป็นผู้บุกเบิก โก้วเล้งเป็นผู้พัฒนาต่ออีกขั้น
3
จากงานเขียนโบราณซึ่งมักเป็นการเล่าพล็อตหรือเหตุการณ์มากกว่า เช่น สามก๊ก วิวัฒนาการมาเป็นยุทธจักรนิยายที่มีการใช้พลังลมปราณ วิชาการต่อสู้พิสดาร ตัวละครแปลกๆ สำนักแปลกๆ เปลี่ยนโลกนิยายการต่อสู้ของจีนไปสิ้นเชิง
4
นี่คือการเปลี่ยนแปรของนิยายกำลังภายในซึ่งวิวัฒนาการโดยกลายพันธุ์ (mutation)
เนี่ยอู้เซ็งก็คือ mutation หนึ่ง
กิมย้งก็คือ mutation หนึ่ง
โก้วเล้งก็คืออีก mutation หนึ่ง
2
นวนิยายกำลังภายในของทั้งเนี่ยอู้เซ็งและกิมย้งมักอิงประวัติศาสตร์ แต่มันวางกรอบแนวทางใหม่ที่เรียกว่า บู๊เฮียบ (武侠)
โดยคำจำกัดความ บู๊เฮียบต้องมีทั้งบู๊และเฮียบ
บู๊คือการต่อสู้ วิทยายุทธ์สำนักต่างๆ มีทั้งเพลงมวยและเพลงอาวุธ อาวุธลับ อาวุธพิสดารทั้งหลาย รวมไปถึงค่ายกล
2
เฮียบคือความกล้าหาญ คุณธรรม ความเสียสละ
3
สามเสาหลักแห่งบู๊เฮียบ เนี่ยอู้เซ็ง กิมย้ง และโก้วเล้ง
แต่สิ่งที่แตกต่างจากนิยายในสมัยโบราณเกี่ยวกับการต่อสู้ของจอมยุทธ์ก็คือ นิยายกำลังภายในแนวใหม่นี้ไปไกลกว่านิยายอิงประวัติศาสตร์ล้วนๆ มีการเติมองค์ประกอบของแฟนตาซีและซูเปอร์ฮีโรเข้าไปบ้าง ตัวอย่าง เช่น ก๊วยเจ๋งดื่มเลือดจากงูจนเพิ่มพลัง การเป่าขลุ่ยเรียกฝูงงู เอี้ยก้วยเรียนวิชาจากนกอินทรี อาชิงฝึกวิชากับค่าง ฯลฯ รวมไปถึงการตกเขาพบคัมภีร์วิทยายุทธ์
5
เหล่านี้ต้องใช้จินตนาการที่หลุดโลก
และหนึ่งในยอดคนที่คิดเรื่องหลุดโลกแบบนี้ได้ในระดับเซียนก็คือกิมย้ง
กิมย้งหรือฉาเหลียงยงเกิดในตระกูลปราชญ์ ที่ไห่หนิง จังหวัดเจ้อเจียง เป็นลูกคนที่สองจากเจ็ดคน ตระกูลของเขารับใช้ฮ่องเต้มาหลายชั่วคน เป็นตระกูลมีชื่อเสียงทางใต้แม่น้ำแยงซี มีคำกล่าวถึงตระกูลเขาว่า ‘ตระกูลเจ็ดบัณฑิต’
3
ปู่ของกิมย้งชื่อฉาเหวินชิง สอบไล่จิ้นซื่อ (進士) ได้อันดับสาม ในการสอบไล่ของทางการ นับว่าเป็นผู้มีความสามารถในความรู้ เป็นปราชญ์อย่างแท้จริง
3
จิ้นซื่อเป็นการสอบระดับสูงสุด เริ่มมาตั้งแต่ราชวงศ์ฮั่น การสอบมักกระทำที่เมืองหลวง ภายในวังหลวง คนสอบไล่ได้จะได้เป็นข้าราชการประจำราชสำนัก
ผู้เข้าสอบราวสองพันคน รับไว้จำนวนหนึ่งเท่านั้น
2
คนที่สอบได้ระดับสูงสุดมีสามอันดับ
อันดับหนึ่งเรียก จ้วงเหวียน หรือจอหงวน (狀元)
1
อันดับสองเรียก ปั่งเหยี่ยน หรือป๋างั่ง (榜眼)
อันดับสามเรียก ทั่นฮวา หรือถ้ำฮวย (探花)
1
(ในเรื่อง ฤทธิ์มีดสั้น ตัวละครลี้คิมฮวงสอบได้ที่สาม)
บรรพบุรุษห้ารุ่นของกิมย้งรับราชการในราชวงศ์ชิง ทั้งหมดเป็นบัณฑิตผู้รอบรู้ ทำงานกับฮ่องเต้คังซี หย่งเจิ้ง กวางซี่ (กวางสู)
1
ในบ้านของเขามีป้ายจากจักรพรรดิคังซีประดับอยู่
ปู่ของเขา ฉาเหวินชิง เป็นข้าราชการด้านการยุติธรรมในรัชสมัยกวางซี่ เป็นจิ้นซื่อยุคสุดท้าย เมื่อจีนผลัดแผ่นดินสู่ระบอบสาธารณรัฐและต่อมาเป็นคอมมิวนิสต์ จิ้นซื่อก็ไร้ความหมายสำหรับคนรุ่นใหม่ กลายเป็นไดโนเสาร์ที่รอความตาย
4
ส่วนบิดาของเขา ฉาชูชิง ได้รับการศึกษาแบบตะวันตก เรียนจบจากมหาวิทยาลัยออโรรา สหรัฐฯ ต่อมาทำธุรกิจธนาคาร แม่ของเขาเป็นลูกสาวคหบดี กวีสำคัญฉีจื้อหมอ เป็นญาติของแม่
เมื่อญี่ปุ่นบุกเมืองจีนในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ครอบครัวเขาก็อพยพ แม่ของเขาที่กำลังป่วยเสียชีวิตขณะหนีการทิ้งระเบิดของญี่ปุ่น
หลังสงครามโลกยุติไม่กี่ปี กิมย้งก็ได้งานทำที่ฮ่องกง
กิมย้งคุ้นเคยวงการหนังสือมาแต่เด็ก มิเพียงรักการอ่าน ยังรักการเขียน
2
ตั้งแต่เด็กกิมย้งเป็นนักอ่านตัวกลั่น อ่านงานคลาสสิกเก่ามาแต่เล็ก เขาอ่านหนังสือที่พี่ชายซื้อมาจากเซี่ยงไฮ้ หรือที่ยืมมา เขาชอบนิยายของปาจิน เขารู้เรื่องวรรณกรรมตะวันออกและตะวันตก
ปี 1939 เมื่ออายุสิบห้า เขาตีพิมพ์หนังสือเล่มแรก เป็นคู่มือเตรียมสอบชั้นมัธยมที่เขาทำร่วมกับเพื่อนสองคน หนังสือขายดีจนทั้งสามได้เงินมากพอเรียนต่อชั้นมหาวิทยาลัยที่ฉงชิง
4
กิมย้งมีนิสัยขบถตั้งแต่เด็ก อายุสิบเจ็ดเขาถูกให้ออกจากโรงเรียนเพราะเขียนเรื่องวิพากษ์รัฐบาลว่าเป็นพวกเผด็จการ และเสียดสีระบบ แต่ครูใหญ่ช่วยเขาไปที่โรงเรียนอื่น
เขาอยากทำงานสายการทูต จึงไปเรียนที่โรงเรียนการปกครองที่ฉงชิงในปี 1944 แต่ก็ถูกบีบให้ออกอีก หลังจากวิจารณ์พฤติกรรมของพวกก๊กมินตั๋ง
1
เขาเรียนต่อด้านภาษาต่างประเทศในมหาวิทยาลัยที่ฉงชิง แต่เรียนไม่จบ หันไปเรียนด้านกฎหมายนานาชาติแทน ตั้งใจจะทำงานสายการต่างประเทศ
เขาเรียนจบมหาวิทยาลัยจนได้ ด้วยปริญญากฎหมายระหว่างประเทศ
2
แต่กลิ่นหมึกดึงเขากลับไปสู่การพิมพ์จนได้ เขาเข้าสู่สายนักข่าว เริ่มจากงานผู้สื่อข่าวให้ Southeastern Daily ที่เมืองหังโจว ปี 1946
3
ปีถัดมาก็ไปทำงานที่เซี่ยงไฮ้กับหนังสือพิมพ์ต้ากงเป้า ทำงานเป็นนักแปลข่าวต่างประเทศ หลังจากนั้นก็ถูกย้ายไปทำงานที่สาขาฮ่องกง
1
กิมย้งไม่ได้กลับบ้านเกิดอีกนาน เพราะจีนกลายเป็นคอมมิวนิสต์ในปี 1949
1
ปี 1957 กิมย้งลาออกจากงานหนังสือพิมพ์ ไปทำงานเขียนหนังสือและบทภาพยนตร์ เขายังร่วมกำกับหนังด้วย โดยใช้ชื่อ ฉาจินหยง เช่น เรื่อง The Nature of Spring (有女懷春) ในปี 1958 Bride Hunter (王老虎搶親) ในปี 1960 เป็นต้น
ความสำเร็จของ มังกรหยก ทำให้เขาได้ทุนก้อนหนึ่งไปร่วมก่อตั้งหนังสือพิมพ์หมิงเป้าในปี 1959 เขาเป็นหัวหน้าบรรณาธิการ เขียนนิยายและบทความควบคู่กันไป
2
ในช่วงต้นหมิงเป้าเกือบปิดกิจการ แต่นวนิยายกำลังภายใน มังกรหยก ภาค 2 ที่ลงตอนต่อตอนทำให้หมิงเป้าหายใจต่อไปได้ หมิงเป้ายังตีพิมพ์นิยายของนักเขียนอื่นๆ ด้วย และมีนิยายหลากหลายประเภท
1
กิมย้งกับนักแสดงหนังเรื่อง The Story of the Great Heroes (1960) หนัง โทรทัศน์สี่ตอนที่สร้างจาก มังกรหยกภาค 2
ขณะทำงานก่อร่างสร้างหมิงเป้า เขาเขียนหนังสือวันละหมื่นคำ ทำงานมือเป็นระวิง เล่ากันขำๆ ว่าเขาใช้มือขวาเขียนบทความ และมือซ้ายเขียนนิยายกำลังภายใน
4
ณ จุดนั้น กิมย้งมีบทบาทมากกว่านักประพันธ์ เขาเขียนบทความวิเคราะห์วิจารณ์การเมืองด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหมาเจ๋อตงและนโยบายที่ผิดพลาดหลายอย่างของพรรคคอมมิวนิสต์ เช่น ความอดอยากที่เกิดจากแผนพัฒนาประเทศห้าปีที่เรียกว่า แผนก้าวกระโดดไปข้างหน้า ที่ทำให้คนตายไป 15-55 ล้านคน และการปฏิวัติวัฒนธรรม ที่คนมากมายตกเป็นเหยื่อการเมือง
กองบรรณาธิการของหมิงเป้ามีนักประวัติศาสตร์และกวีหลายคนที่มาจากเมืองจีน ทำให้หนังสือพิมพ์มีความหลากหลาย และให้ภาพจริงของเมืองจีน
1
กิมย้งเขียนต่อต้านเรื่องปฏิวัติวัฒนธรรม ทั้งบทความและสอดแทรกในนิยาย ตัวละครจอมยุทธ์ที่บ้าอำนาจ แย่งชิงอำนาจในนิยายของเขาล้วนสะท้อนความเป็นไปในโลกจริง
2
ย่อมมีเหตุผลที่กิมย้งต่อต้านคอมมิวนิสต์
พ่อของเขาถูกคอมมิวนิสต์ฆ่า
3
สองปีหลังจากจีนกลายเป็นแผ่นดินสีแดง พวกคอมมิวนิสต์ตราหน้าพ่อของเขาว่าเป็นศัตรูของประชาชน เพราะเป็นชนชั้นกระฎุมพี เจ้าของที่ดิน เป็นหัวหน้าซ่องโจร พ่อของเขาถูกสั่งประหารชีวิต บ้านและสมบัติถูกยึดเป็นของรัฐ
เมื่อรู้ข่าวพ่อถูกประหาร เขาร้องไห้อยู่สามวันสามคืน
พ่อของเขาไม่ใช่เจ้าที่ดินคนเดียวที่ถูกฆ่า มีจำนวนนับหมื่นที่ตายในยุคนั้น
1
ตระกูลฉาไม่ใช่คนแปลกหน้าต่อผลกระทบของความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ในปี 1727 บรรพบุรุษคนหนึ่งของกิมย้งเคยถูกจักรพรรดิหย่งเจิ้งสั่งตัดศีรษะ เสียบประจาน เนื่องจากไม่พอพระทัยบทกวีที่เขียน
2
กิมย้งเรียนรู้เรื่องการเมืองด้วยความเจ็บปวด
ผลของการวิพากษ์เหมาเจ๋อตงและระบบ ทั้งในบทความและนิยายทำให้กลุ่มฝ่ายซ้ายในฮ่องกงใส่ชื่อกิมย้งในบัญชีฆ่า
2
นอกจากนี้หนังสือของกิมย้งถูกแบนในเมืองจีน เพราะจีนคอมมิวนิสต์เห็นว่ามันเป็นนิยายมอมเมาประชาชน อีกประการ เพราะนิยายของเขาสะท้อนภาพอัปลักษณ์ของระบอบคอมมิวนิสต์โดยเฉพาะในยุคแก๊งสี่คน
5
ในปี 1967 กิมย้งร่วมก่อตั้งหนังสือพิมพ์ซินหมิงที่สิงคโปร์ เป็นปีเดียวกับที่เกิดจลาจลโดยกลุ่มซ้ายในฮ่องกง กิมย้งถูกขู่ฆ่า จึงไปหลบที่สิงคโปร์นานเดือนครึ่ง
1
เขาเขียน กระบี่เย้ยยุทธจักร บางส่วนที่นั่น
ช่วงเวลานั้นบ่ายสองโมงทุกวัน เขาปรากฎตัวที่สำนักงานหนังสือพิมพ์ซินหมิง เลขที่ 7 ถนนเดวิดสัน เขียนนิยายวันละ 1,200 คำ
1
คนในสำนักงานซินหมิงสิงคโปร์เล่าว่า กิมย้งจะจุดบุหรี่แล้วเริ่มเขียนไม่หยุด เขาเขียนสามหน้ากระดาษรวดเดียว แล้วพัก
เมื่อเขียนครบ 1,200 คำก็จบงานสำหรับวันนั้น เขาจะไม่เขียนเพิ่มเผื่อไว้ และไม่ตรวจทาน น้อยครั้งมากที่เขาแก้ไขคำผิดในต้นฉบับ ซึ่งแปลว่าเขาคิดอย่างถี่ถ้วนแล้วก่อนเขียน
4
อัจฉริยภาพของกิมย้งคือการสร้างของใหม่ สร้างโลกใหม่ กิมย้งสร้างจักรวาลบู๊ลิ้มที่น่าตื่นตะลึง เช่นเดียวกับที่ จอร์จ ลูคัส สร้างจักรวาลใหม่ของเขาในงานชุด Star Wars
2
งานของเขาถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ครั้งแล้วครั้งเล่า ตัวละครเป็นที่จดจำ
1
กิมย้งหยุดเขียนนิยายในปี 1972 เมื่ออายุ 48 ใช้เวลาที่เหลือขัดเกลาปรับปรุงนิยายทั้งหมดถึงสองรอบ
1
งานของเขาแปลเป็นภาษาไทย เวียดนาม ญี่ปุ่น อังกฤษ ฯลฯ
1
งานเขียนของกิมย้งเข้ามาในเมืองไทยเร็วมาก คือ พ.ศ. 2501 ต้องยกเครดิตให้สำนักพิมพ์เพลินจิตต์ของ เวช กระตุฤกษ์ ที่ตีพิมพ์ มังกรหยก แปลโดย จำลอง พิศนาคะ โดยมีเครดิตร่วมกับ ประยูร พิศนาคะ
2
นิยายแปลเรื่องนี้ดังระเบิด คนไทยไม่เคยอ่านอย่างนี้มาก่อน
มังกรหยก แปลโดย จําลอง พิศนาคะ
สิ่งแรกที่เราสัมผัสได้ในงานของกิมย้งคือความสนุก
ทำไมงานของกิมย้งจึงสนุกและจับใจคนได้ง่าย?
เราอาจถามคำถามเดียวกันกับงานชุด Star Wars ของ จอร์จ ลูคัส
1
หากเราวิเคราะห์โครงสร้างของงานชุด Star Wars จะพบว่ามันเหมือนงานนิยายจีนกำลังภายใน 100 เปอร์เซ็นต์ ขอบข่ายของงานเหมือนกัน แนวทางเดียวกัน Star Wars รวมเรื่องผจญภัย (เทียบกับนิยายกำลังภายใน คือชาวบู๊ลิ้มเดินทางท่องยุทธจักร) การฝึกวิชาเจได (เทียบกับการฝึกวิทยายุทธ์) ด้านมืดหรือ dark side (เทียบกับการฝึกวิชามาร) อาวุธพิเศษ เช่นดาบเลเซอร์ (เทียบกับดาบวิเศษ) พลัง The Force (เทียบกับพลังลมปราณ) กลุ่มอำนาจต่างๆ เช่น สำนักมาตรฐาน (เทียบกับสำนักธรรมะ) ฝ่ายมาร (เทียบกับพรรคอสูร) การแย่งชิงอำนาจในกาแล็คซี (เทียบกับการชิงเป็นเจ้ายุทธจักร) แม้กระทั่งฉากคือกาแล็คซีก็เทียบได้กับยุทธภพ
3
งาน Star Wars เหมือนนิยายกำลังภายในจนไม่แปลกใจหาก จอร์จ ลูคัส ได้รับแรงบันดาลใจจากนิยายตระกูลนี้ Star Wars ออกมาในปี 1977 ห้าปีหลังจากกิมย้งเขียนเรื่องสุดท้ายคือ อุ้ยเซี่ยวป้อ
1
ในวงการสร้างสรรค์นิยาย ย่อมมิใช่เรื่องแปลก ไอเดียต่อยอดไอเดีย นิยายต่อยอดนิยาย แม้แต่งานของเนี่ยอู้เซ็งและกิมย้ง ก็ต่อยอดมาจากของเก่า
1
แต่ที่แตกต่างอย่างหนึ่งคือ งานของกิมย้งสะท้อนภาพของสังคมและการเมือง
1
งานของกิมย้งแทบทั้งหมดอิงประวัติศาสตร์ เช่น มังกรหยก อิงสมัยเจ็งกิสข่าน ซ่ง จิน เหลียว อุ้ยเซี่ยวป้อ อิงสมัยราชวงศ์ชิง ฯลฯ และเขาสอดแทรกอัตลักษณ์จีนเข้าไปในงานของเขาเสมอ เห็นชัดในงานที่มีตัวละครต่างชาติ เช่น มองโกล ชี่ตัน แมนจู
เขาเฝ้าดูความเป็นไปของสังคมแต่เด็ก ก่อนคอมมิวนิสต์ครองแผ่นดิน ครอบครัวเขามีฐานะดีกว่าบ้านคนอื่น เขาจำเด็กหญิงคนหนึ่งที่มาทำงานที่บ้าน พ่อแม่เธอส่งเธอมาเพื่อรับประกันหนี้ที่ยืมจากครอบครัวกิมย้ง
1
กิมย้งเขียนเล่าว่า พ่อแม่ของเขาไม่ใช่คนเลวร้ายหรือกดขี่ใคร แต่กระทำไปตามจิตใต้สำนึกที่จะเดินตามระบบที่สืบทอดกันมานานปี
1
เขาชี้ว่าบางครั้งเราก็เดินตามระบบด้วยความเคยชิน และไม่ตั้งคำถามต่อระบบ
1
ในนิยายของเขา คนอ่อนแอกว่าจึงต้องไม่ถูกรังแก
1
กิมย้งเป็นเจ้าแห่งการแต่งซับพล็อตที่ร้อยรวมกันเป็นเรื่องใหญ่ จนเหง่ยคัง นักเขียนบทภาพยนตร์และเพื่อนสนิทของกิมย้งกล่าวว่าเป็น ‘ภูษาสวรรค์ไร้ตะเข็บ’
5
วิทยายุทธแปลกๆ กระบวนท่าพิสดาร เหล่านี้เป็นเพียงองค์ประกอบให้เรื่องสนุก แต่หากอ่านให้ลึกกว่าความสนุก จะพบว่าตัวละครมีความลึก และมีพัฒนาการ
2
หากอ่านต่อไปอีกก็จะพบสาระที่ซ่อนอยู่ เช่นผลกระทบของการเมือง
1
เขามักรวมประสบการณ์ตรงกับจินตนาการเป็นนวนิยาย เช่น ในเรื่อง กระบี่ใจพิสุทธิ์ ตัวละคร ‘เต๊กฮุ้น’ จำลองมาจากคนจริง เป็นคนงานในบ้านของกิมย้ง ถูกติดคุกอย่างไม่เป็นธรรม ปู่ของกิมย้งลอบช่วยเขาออกมาจากคุก
นอกจากพล็อตสนุก สาระที่ซ่อนอยู่แล้ว สิ่งที่กิมย้งนำเสนอเสมอคือความเป็นมนุษย์
3
กิมย้งเขียนถึงธาตุแท้จิตใจคนได้ดีที่สุด โดยให้พฤติกรรมของตัวละครแสดงให้ผู้อ่านเห็นเอง
อีกสิ่งหนึ่งที่อยู่ในงานของเขาคือหัวใจ
4
กิมย้งเขียนงานโดย ‘อิน’ กับตัวละครมาก
1
เขาร้องไห้เมื่อเขียนถึงตอนที่เอี้ยก้วยรอเซี่ยวเล้งนึ้งนานสิบหกปี แล้วพบว่าเป็นการรอคอยที่สูญเปล่า
7
เขาร้องไห้เมื่อเขียนถึงตอนที่เตียบ่อกี้ต้องลาจากเซี่ยวเจียว
เมื่อเฉียวฟงฆ่าคนรักของเขาด้วยความเข้าใจผิด เขาก็ร้องไห้หนัก
เพราะเขาเขียนด้วยหัวใจ ดังนั้นจึงไม่แปลกที่งานของเขาแตะหัวใจผู้อ่านตลอดมา
5
นามปากกากิมย้งหรือจินหยง (金庸) สะท้อนนิสัยใจคอของเขา กิมย้งเป็นนักเขียนที่รอบรู้มาก แต่ถ่อมตนอย่างที่สุด
5
กิมย้งแปลตรงตัวว่าทองธรรมดา
1
金 (จิน หรือกิม) = ทอง
庸 (หยง หรือย้ง) = ธรรมดาสามัญ
ตั้งชื่อตัวเองว่า ‘ธรรมดาสามัญ’ ย่อมสะท้อนว่าเป็นคนถ่อมตัว
1
คำว่ากิมหรือทองในที่นี้อาจใช้เป็นแซ่ก็ได้ เพราะมันมาก่อนคำว่าหยง (ภาษาจีนคุณศัพท์มาก่อนคำนาม) แต่จะตีความว่ากิมคือความบริสุทธิ์ ความสูงส่งก็ได้
2
กิม+ย้ง จึงมีความหมายว่า ‘ทองธรรมดา’ แต่ฟังดูย้อนแย้ง เพราะทองย่อมไม่ธรรมดา
เราอาจตีความว่า “มองเห็นทองเป็นเรื่องธรรมดา” ก็ย่อมได้ หรือจะหมายถึง ‘สูงสุดคืนสู่สามัญ’ ก็น่าจะได้ เพราะเป็นทองอันงำประกาย คล้ายๆ เพชรในตม
วงการบู๊ลิ้มยกย่อง ‘ทองธรรมดา’ ผู้นี้ว่า เป็นทองที่หายากนัก
คนในวงการหนังสือกล่าวว่า “หนึ่งร้อยปีมีกิมย้งหนึ่งคน”
3
ผมรู้สึกว่าหนึ่งร้อยปีอาจประเมินต่ำไปหน่อย
อย่างต่ำต้องห้าร้อยปี
ทำไมในรอบร้อยปีมีคนเดียว?
ในมุมมองของนักเขียน ผมเชื่อว่าเป็นเพราะงานของกิมย้งประกอบด้วยโครงเรื่องยอดเยี่ยม + ความสนุกเต็มอัตรา + ตัวละครมีมิติและมีสีสัน + ฉากประวัติศาสตร์ที่สมจริงและสนุก นอกจากนี้ในบางเรื่องมีคอนเส็ปต์ที่แรง เช่น คอนเส็ปต์เรื่องความดีความเลวและอำนาจใน กระบี่เย้ยยุทธจักร คอนเส็ปต์เรื่องอำนาจมิได้มาจากความดีงามใน อุ้ยเซี่ยวป้อ
3
และนี่ก็คือสาระที่ผู้เขียนมอบให้มากกว่าแค่ความบันเทิง
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา