14 ก.ย. 2021 เวลา 01:00 • ปรัชญา
"ทำไมเราต้องฝืนใจ ?"
"... วันนี้เรามาดูกันเรื่องของการฝึกใจ
หรือการฝึกจิต การฝึกสติ
ทำไมเราต้องฝึกด้วย ?
มันเกิดคำถามในผู้คนมากมาย
ทำไมเราต้องฝืนใจตัวเองด้วย ?
ก็ในเมื่อเราเองก็อยากจะทำตามใจของเรา
เราทำตามใจของเรา
แล้วเราก็มีความสุข
การฝึกฝืนก็ไม่เห็นได้อะไรเลย
นอกจาก ทำให้มีความทุกข์แล้วก็อึดอัด
ในเบื้องต้น
เราต้องเข้าใจความจริงอย่างนึงก่อน
ที่เราบอกว่า พวกเราทุกคน
ที่อยากทำตามใจตัวเองแล้วมีความสุขนี้
เราไปดูตรงกลางทาง
เราลืมดูตอนต้นทาง
แล้วเราก็ไม่เห็นตอนปลายทาง
เราเอาแต่ตรงกลางทาง
หมายความว่ายังไง ?
หมายความว่า วันนี้เราสูบบุหรี่
พอเราได้สูบบุหรี่ เราบอกว่าเรามีความสุข
เราพูดแค่ตรงนี้
เราลืมไปว่า
ตั้งแต่เริ่มต้น มันเริ่มมายังไง
แล้วถ้าเราติดอย่างนี้ต่อไป
มันจะเกิดอะไรขึ้น
วันนี้มนุษย์ทั้งหลาย ดูกันแค่ของตรงหน้า
เราไม่ดูของที่ผ่านมา
แล้วเราก็ไม่ดูของที่จะเกิดขึ้น
ปัญหาเกิดขึ้นตรงนี้แหละ
ถ้าเราพูดแค่บุหรี่
ใครติดบุหรี่ หรือติดยาเสพติด
วันที่ฝืน วันที่เลิก แน่นอนทุกข์แน่
แต่ความทุกข์ที่เกิดขึ้น
ในผู้ที่กำลังฝึก กำลังฝืน กำลังอดทน
เพื่อจะพ้นมันไปให้ได้นี้แหละ
เราก็รู้อยู่แล้วว่า
วันข้างหน้า เค้าจะพบกับความสุขที่แท้จริง
ก็คือ ความเป็นอิสระจากยาเสพติดเหล่านั้น
...
แต่คนติดบุหรี่ กลับไม่มอง
ว่าอนาคตจะได้พบกับความสุขที่แท้จริง
คือ ความเป็นอิสระ
แต่คนติดบุหรี่ กลับมองแค่ว่า
วันนี้มีความทุกข์เหลือเกิน ที่จะให้ชั้นเลิก
ชั้นไม่เห็นอยากเลิกเลย
เพราะทุกครั้งที่ชั้นได้เสพ ชั้นมีความสุข
เค้าเห็นแค่นี้
แต่น่าแปลกนะ
ถ้าเรามาขยายเวลาดูกันจริง ๆ
คำว่ามีความสุข
คือการที่ตอนที่ได้เสพ
สมมติตอนที่ได้เสพ แล้วมีความสุข
หลังจากนั้นอีกสักแปบนึง มีความสุข
ซึ่งเวลาในการเสพ
อาจจะตีว่า 15 นาที
แต่หลังจากนั้นตอนที่อยาก ตอนที่ไม่ได้ กลับไม่เห็น
ตอนที่ไม่ได้เสพ
สมมติว่าไม่มีเงินจะซื้อเสพ
ยิ่งหนักเข้าไปใหญ่
หรืออยู่ในตำแหน่งที่หาซื้อไม่ได้
ก็ยิ่งกลายเป็นทุกข์หนักเข้าไปใหญ่
ตรงนี้กลับไม่เห็น
กลับเห็นแค่ตอนเสพเล็ก ๆ
ตอนที่ได้เสพตอนเล็ก ๆ
แล้วกลับไม่เห็นว่าในอนาคตมันจะเป็นมะเร็ง
เมื่อเราติดหนักแล้ว มันจะเป็นนั่น เป็นนี่
ถุงลมโป่งพอง
เราจะทำงานไม่ได้
อาจจะต้องเสียอนาคตไป
ชีวิตของเราจะสั้นลง
กลับไม่เห็น
ทั้งหมดมามองกันที่เล็ก ๆ สั้น ๆ
เรากลับมาที่การฝึกจิต
ผมบอกให้เลยว่า เรื่องนี้เหมือนกันเป๊ะเลย
วันนี้เราบอกว่า
เราอยากจะทำตามใจของเรา
อย่างเช่น อยากกินอะไรก็กิน
อยากซื้ออะไรก็ซื้อ
อยากไปไหนก็ไป
อยากทำอะไรก็ทำ
ดูเหมือนจะค่อนข้างจะค้านกับคำของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในอริยมรรคมีองค์ ๘ ทางลัดสั้นตรงสู่พระนิพพาน
สมมติว่าเป็นพระภิกษุสงฆ์เข้าไปบวช
เป็นทางลัดสั้นตรงสู่พระนิพพาน
แต่ผมพูดอย่างนี้
ไม่ได้หมายถึง ฆราวาสเข้าถึงความเป็นอริยะไม่ได้
เราแค่จะดูว่าทางที่ง่าย ที่ลัดสั้นที่สุด
ทำไมในสงฆ์สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ถึงถูกบังคับ กีดกัน หรือว่าไม่ให้ใช้สิ่งต่าง ๆ ตั้งมากมาย
เหลือแค่อัฐบริขารที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต
เท่านั้นเอง
แรก ๆ ผมก็เชื่อว่า
พระภิกษุทั้งหลายที่เข้าไปบวชนี้
ก็จะต้องอึดอัดกับการที่เคยคุ้น เคยมี เคยเป็น
กับเรื่องราว หรือว่าสิ่งที่ตัวเองเคยมี
แต่เมื่อไม่ได้ ใจจะร้อนรนขึ้นมา
เป็นทุกข์
...
ถ้าเป็นคนติดยา
ก็จะคล้าย ๆ อาการที่ลงแดง
หรืออยากจะเสพ
เหมือนกัน
เมื่อเกิดการบีบบังคับรัดตัวเอง
สิ่งนี้จะต้องเกิดขึ้น
แต่ถ้าอดทนไป
แล้ววันนึงข้างหน้า
ก็เหมือนกับคนที่เลิกยาได้
เมื่อเลิกยาได้
มันก็จะเริ่มเป็นอิสระมากขึ้น
ในหมู่ของคนติดยาทั้งหลาย
ถ้ารุ่นพี่ที่ติดยา แล้วเลิกยาได้
มาให้กำลังใจรุ่นน้อง
ขณะที่รุ่นน้องอาจจะกำลังอ้วกอยู่ที่วัดถ้ำกระบอก
รุ่นพี่ก็จะมาช่วยกันเชียร์
แล้วก็บอก ...
ความสุขที่แท้จริง ไม่ใช่จากการได้เสพยาหรอก
แต่ความสุขที่แท้จริง
มาจากการที่เลิกยาเสพติดได้ต่างหาก
วันนั้นที่เป็นอิสระจากยา
วันนั้นที่ไม่ต้องเสพยาอีก
วันนั้นล่ะ คือความสุขที่แท้จริง
1
วันนี้เรากำลังหลงทางแล้วล่ะ
ที่เราบอกเรากำลังแสวงหาความสุข
เรากำลังมีความสุข เมื่อเราได้สิ่งนั้น สิ่งนี้
เมื่อเราติดหนัง ติดละคร
แล้วเราไปดูหนัง ดูละคร
เมื่อเราได้เสพอย่างนั้น เราบอกเรามีความสุข
แต่วันไหนที่เราไม่อยู่บ้าน
เราจำเป็นต้องออกไปธุระ
แล้วใจเราโหยหา เสียดายจังเลย
นี่เป็นตอนจบ เราไม่ได้ดู
มันก็จะเกิดความทุกข์ขึ้นมา
เราลืมไปว่า
เมื่อไรเราเสพอะไรเข้าไปมาก ๆ
แล้วเราไม่ได้อย่างที่เราปรารถนา
มันจะล้วนเป็นทุกข์
4
ไม่ว่าจะทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ที่เราเข้าไปเสพ เข้าไปติด
เข้าไปยึด ในทุก ๆ ทาง
1
ถ้าเราไม่หัดที่จะฝึก ที่จะฝืน ที่จะเนกขัมมะออกมา
วันนึงมันจะกลายเป็นอสรพิษ
ที่ย้อนกลับมาทิ่งแทง แล้วก็กัดเรา
แต่หากวันนี้ เราเข้าสู่การปฏิบัติ
เข้าสู่การฝึกใจ ฝึกจิต
ฝึกที่จะเนกขัมมะออกจากมันบ้าง
หรือฝึกที่จะเนกขัมมะออกจากมันให้มากขึ้น
มันเหมือนกันคนติดยา
เมื่อเลิกได้แล้ว
หรือเลิกได้มากแล้วเนี่ย
เค้าจะเริ่มเป็นอิสระมากขึ้น
1
หลังจากนี้ เมื่อเป็นอิสระจนถึงที่สุด
ไม่ใช่จะหยุดเสพ
อย่างเช่นอาหาร เราบอก
ถ้างั้นก็ไม่ต้องกินอาหารอร่อย ๆ
วันนี้เรากินอาหารอร่อย ๆ ด้วยความหลงใหล
ด้วยการหลงเข้าไปกิน
ทั้งปาก ทั้งลิ้น ทั้งใจ
เราไม่ได้กินเฉพาะ ...
สมมติถ้าผมถามว่า อร่อยลิ้นมั้ย อร่อย
อร่อยใจมั้ย อร่อย
อร่อยไปหมดเลย
คือมันเสพไปทั้งลิ้น ทั้งใจเลย
แต่ถ้าวันไหนไม่ได้ ลิ้นก็ไม่ได้ ใจก็ไม่ได้
มันก็จะโหยหาขึ้นมา
แต่วันนึงข้างหน้า
ที่เราพรากออกมา ๆ
จนกระทั่งใจของเราถูกพราก
วันนึงมันจะอร่อยลิ้น
แต่ใจของเราเป็นปรกติ
เมื่อเราอร่อยลิ้น
ก็เป็นเรื่องของรสชาติธรรมดา
เมื่อรสชาติที่คุ้นลิ้น ก็ทานได้มากหน่อย
ถ้าไม่คุ้นลิ้น ก็อาจจะทานได้น้อยหน่อย
แต่ไม่ได้เกิดปฏิฆะ คือแรงผลักดัน
ต้องโกรธ ต้องเกรี้ยวโกรธ
บางคนอาหารไม่อร่อย
ด่าแม่ครัว ด่าร้านอาหาร
กลายเป็นโทสะ
กลายเป็นสร้างภพ สร้างชาติขึ้นมาอีก
เพราะฉะนั้น สิ่งนี้จะหายไป
เมื่อเราเข้ามาฝึกจริง ๆ
มันจะได้พบกับความอิสระ ... "
.
จากการบรรยาย
สุขทุกวัน 7 วัน 7 กูรู
ออกอากาศวันที่ 12 ธันวาคม 2557 (1/2)
AMARIN TV HD ช่อง 34
โดย อ. ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
ขอบคุณรูปภาพจาก : Unsplash

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา