Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สุขภาพดีไม่มีในขวด
•
ติดตาม
14 ก.ย. 2021 เวลา 13:17 • สุขภาพ
เชื้อรา 'ที่เล็บ' << 𝙤𝙣𝙮𝙘𝙝𝙤𝙢𝙮𝙘𝙤𝙨𝙞𝙨 >>
💅 จัดการได้ด้วยการรักษา
โรคเชื้อราที่เล็บ (onychomycosis) ในประเทศไทยชนิดของเชื้อราที่พบบ่อยๆ คือ เชื้อกลากแท้ (dermatophytes) เชื้อกลากเทียม (non-dermatophytes) และเกิดจากยีสต์ (yeasts) โดยเฉพาะเชื้อแคนดิดา (Candida)
.
ลักษณะและอาการของโรคเชื้อราที่เล็บ
ความผิดปกติที่เล็บนั้น พบว่าเล็บเท้าพบได้บ่อยกว่าเล็บมือ และเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก
ผู้ป่วยส่วนหนึ่งอาจมีการติดเชื้อราที่ผิวหนังร่วมด้วย เช่น เชื้อราที่เท้า หรือ เชื้อราที่ผิวหนังส่วนอื่นที่กระจายออกไปกว้าง หรือผู้ป่วยบางส่วนอาจมีผลแทรกซ้อนตามมาหลังการติดเชื้อรา เช่น เล็บขบ เล็บขบอักเสบติดเชื้อ หรือ เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน
ลักษณะที่สังเกตของโรคเชื้อราที่เล็บนั้นมีได้หลายประการ ที่สำคัญคือ
◾ จำนวนของเล็บที่มีการเปลี่ยนแปลงจะพบไม่มาก มีเล็บที่เป็นโรคเพียงประมาณ 1 - 3 เล็บ
◾ เล็บที่ติดเชื้ออาจพบลักษณะหนาตัวขึ้น มีขุยหนาใต้เล็บ มีสีเล็บที่เปลี่ยน แปลงไป หรือเล็บที่แยกตัวออกมาจากฐานเล็บ อาจเห็นเป็นโพรงหรือช่องว่างใต้เล็บ
.
การติดเชื้อราที่เล็บ มี 2 รูปแบบ
1️⃣ อาจมีอาการกดเจ็บรอบเล็บ รอบเล็บบวมแดง ผิวเล็บขรุขระ มักเกิดจากนิ้วมือที่เปียกน้ำบ่อยหรือแช่น้ำ เช่น ซักผ้า ล้างจาน เป็นต้น โดยเชื้อที่เป็นสาเหตุกิดจาก เชื้อแคนดิดา
การรักษา
ทำได้ด้วยการทายาต้านเชื้อรานานเป็นสัปดาห์ หรือใช้ยาต้านเชื้อราชนิดรับประทาน
2️⃣ เล็บร่น เนื่องจากแผ่นเล็บไม่ติดกับพื้นเล็บทำให้เกิดโพรงใต้แผ่นเล็บ บางรายพบว่ามีภาวะใต้เล็บหนาหรืออาจทำให้ผิวเล็บเสียและขรุขระได้ เกิดจากเชื้อราที่เข้าไปใต้เล็บ อาจติดจากดิน สัตว์ และคนสู่คนได้
การรักษา
– ใช้ยาต้านเชื้อราชนิดรับประทานหรือยาต้านเชื้อราในรูปแบบของยาทาเล็บ
– หมั่นทำความสะอาดเล็บมือหลังสัมผัสดินและสัตว์ ที่มีอาการขนร่วงหรือมีรอยโรคที่ผิวหนัง
– ดูแลไม่ให้เล็บมือและเท้าอับชื้น
.
โรคเชื้อราที่เล็บแบบไหนที่รักษายาก‼
โรคเชื้อราที่เล็บแม้เป็นโรคติดเชื้อที่สามารถรักษาได้ แต่บางครั้งการรักษานั้นอาจไม่ง่าย หากมีลักษณะบางอย่างเกิดร่วมอยู่ด้วย เช่น
◾ เล็บติดเชื้อราลามกว้างมากกว่าร้อยละ 50 ของเนื้อเล็บ
◾ ติดเชื้อบริเวณด้านข้างของเนื้อเล็บ
◾ เล็บที่มีความหนาตัวมากกว่า 2 มิลลิเมตร
◾ พบแถบสีเหลือง สีส้มหรือสีขาวเป็นเส้นในเนื้อเล็บ ซึ่งบ่งถึงการมีก้อนเชื้อราอัดแน่นอยู่ใต้เล็บ
◾ เนื้อเล็บถูกทำลายทั้งหมด
◾ ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทั้งจากโรคประจำตัวหรือยาที่ได้รับ ผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคหลอดเลือดส่วนปลายร่วมด้วยมักรักษายากกว่า
.
วิธีการรักษาโรคเชื้อราที่เล็บ
💊 การใช้ยารับประทาน : มียารักษาเชื้อราโดยการรับประทานหลายชนิด โดยทั่วไปแล้วมีประสิทธิภาพการรักษาสูง สามารถ รักษาความผิดปกติของเล็บที่เป็นโรคได้ทุก ๆ เล็บ รวมถึงเท้า และฝ่าเท้าที่เป็นโรคได้ แต่การใช้ยารับประทานต้องระวังผลข้างเคียงของยาเช่น การแพ้ยา ผลต่อตับและไต ผลของยาอื่นที่กระทบกับการรักษาเช่น การรับประทานยาลดไขมันบางชนิดควบคู่ด้วย หรือการได้ยาลดกรด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดูดซึมของยา เป็นต้น
ตัวอย่างยารับประทาน : Ketoconazole, Itraconazole, Fluconazole, Griseofulvin
💊 การใช้ยาทาเฉพาะที่ : เป็นการรักษาที่มีความปลอดภัย ยาทาชนิดที่เป็นยาทาเคลือบเล็บ ทำให้มีความสะดวกในการใช้ยา การเลือกรักษาด้วยยาทาเฉพาะที่นั้นจะใช้ได้ดีโดยเฉพาะโรคเชื้อราที่เล็บที่มีจำนวนเล็บไม่มากนัก และไม่มีลักษณะที่ทำให้เกิดการรักษาได้ยาก เช่น มีรอยโรคเชื้อราที่ลามไปถึงโคนเล็บ การรักษาโดยการใช้ยาทาเฉพาะที่ที่เล็บ อาจต้องใช้ยารับประทานอื่น ๆ ร่วมด้วยเพราะยาจะออกฤทธิ์ได้เฉพาะที่เล็บที่ทายาเท่านั้น
ตัวอย่างยาทาเฉพาะที่ : Ciclopirox
💊 การใช้ยาครีมรักษาเชื้อรา : ไม่เป็นที่นิยมมากในการรักษาเชื้อราที่เล็บ เนื่องจาเชื้อรานั้นอยู่ใต้เล็บ ครีมไม่สามารถซึมผ่านเล็บลงไปถึงเชื้อราได้ หรือซึมได้น้อย หากพิจารณาใช้จะใช้ในกรณีเชื้อราบริเวณอื่นๆ เช่น ฝ่าเท้า ผิวหนัง
ตัวอย่างยาครีม : Miconazole cream, Clotrimazole cream, Ketoconazole cream เป็นต้น
.
การป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ
✅ พยายามดูแลเล็บให้สั้น แห้ง และสะอาดอยู่เสมอ
✅ เลือกถุงเท้าชนิดที่ดูดซับเหงื่อ ระบายอากาศได้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้เท้าอับชื้นเกิินไป ในระหว่างวันอาจจะต้องถอดรองเท้าออกบ้างเป็นครั้งคราว
✅ ใช้แป้งหรือสเปรย์ที่มียารักษาเชื้อราโรยเท้า เมื่อต้องทำงานที่มือต้องเปียกนาน ๆ หรือโรยใส่ถุงมือยางป้องกันมือ
✅ หลีกเลี่ยงการตัดผิวหนังบริเวณที่อยู่รอบ ๆ เล็บ
✅ อย่าเดินเท้าเปล่า เหยียบตามบริเวณน้ำท่วมขัง
✅ หากทำเล็บ แน่ใจว่าร้านทำเล็บได้ใช้เครื่องมือที่ผ่านการฆ่าเชื้อ
✅ หลีกเลี้ยงยาทาเล็บหรือการต่อเล็บ
✅ ล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสเล็บที่มีการติดเชื้อ
.
โรคเชื้อราที่เล็บเป็นโรคติดต่อที่เกิดขึ้นจากเชื้อราแต่การติดต่อก็ไม่สามารถติดกันง่าย การรักษาต้องใช้ระยะเวลานาน อาจใช้เวลาหลายเดือน หรืออาจเป็นปี และยังมีโอกาสเกิดโรคซ้ำได้ แม้ว่าเล็บที่ดูเหมือนเกือบจะปกติหลังการรักษาแล้ว ยังอาจมีเชื้อราจำนวนน้อยอยู่ซึ่งเป็นเหตุของการเกิดโรคซ้ำได้ การดูแลสุขภาพเท้าและมือจึงสำคัญ ดูแลให้แห้ง ไม่ควรเดินเท้าเปล่า การใช้ยารักษาเชื้อราชนิดรับประทาน ควรแจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบถึงยาอื่น ๆ ที่ท่านได้ร่วมกัน โดยเฉพาะยากลุ่มลดไขมันหรือโรคประจำตัวอื่นที่มีร่วมอยู่ เพื่อความปลอดภัยค่ะ
.
.
เรียบเรียงโดย : สุขภาพดีไม่มีในขวด
ขอบคุณข้อมูลจาก :
1. ผศ. พญมาริษา พงศ์พฤฒิพันธ์. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. เชื้อราที่เล็บ.
https://bit.ly/3xzJPxO
2. ผศ.พญ.จรัสศรี ฬียาพรรณ, ผศ.นพ.สุมนัส บุณยะรัตเวช. คลินิกโรคเชื้อราที่เล็บ สาขาวิชาโรคเชื้อราผิวหนัง ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. โรคเชื้อราที่เล็บ.
https://bit.ly/3dTmPlE
2 บันทึก
6
3
2
6
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย