22 ก.ย. 2021 เวลา 11:00 • หนังสือ
#รีวิวหนังสือ 2+2=5 Norm(al)
สิงที่จะได้รับ ชำแหละศีลธรรมในหลักเศรษฐศาสตร์ พฤติกรรม ทฤษฎีเกม และหลักจิตวิทยา ที่จะพาให้คุณ มองย้อนกลับไปถึง มุมมองและทัศนคติ ว่าจริงๆแล้วสิ่งที่คิดว่า "ถูกต้อง" ตลอดมา อาจไม่ "ถูกต้อง" เสมอไปก็เป็นได้
ผู้เขียน : ดร.ยิ่งยศ เจียรวุฑฒิ
ราคา 395 บาท
จำนวน 100 หน้า
📌 1. คนเลว คนดี
การตัดสินว่าเป็น คนดี หรือ คนไม่ดี
การตัดสินใจของมนุษย์ไม่ได้มีมาตรฐานเสมอไป แต่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์แวดล้อมภายนอกด้วย เช่น ภายใต้ "แรงกดดันด้านเวลา"
ทำไม “คนดี” จึงทุจริตคอร์รัปชัน
1. “การเชื่อฟังผู้มีอำนาจ” Obedience Authority การเชื่อฟังผู้มีอำนาจทำให้รู้สึกผิดน้อยลง
2. “อคติในการทำตามคนอื่น” Conformity Bias การทำตามคนอื่นทำให้รู้สึกผิดน้อยลง
3. “จับต้องได้สำคัญกว่าจับต้องไม่ได้” เวลาคนเราคิดจะโกง มักชั่งน้ำหนักระหว่าง “ประโยชน์ และ โทษ
ความกล้าหาญทางจริยธรรม คนเราจะลดลง หากคนทำผิดเป็นผู้มีอำนาจเหนือเรา แม้กระทั่งว่าเราเห็นเพื่อนร่วมงานทำผิด เราก็ยังไม่กล้าบอกเพื่อนอย่างตรงไปตรงมา เรากลับคิดว่าจะทำให้เขาเสียหน้า มองหน้าเราไม่ติด หรือเลิกคบเรา ฯลฯ
อย่าว่าเขา ถ้าเราก็ทำ อคติจากการเข้าข้างตัวเอง Self-Servig Bias มนุษย์ชอบหาเหตุผลเข้าข้างตัวเอง ส่งผลให้มาตรฐานที่เราใช้ตัดสินตัวเราเองแตกต่างจากมาตรฐานที่เราใช้ตัดสินคนอื่น หรือ สองมาตรฐาน
อคติจากการเข้าข้างตัวเอง ทำให้คนเราตัดสินตัวเองไม่เหมือนเวลาที่เราตัดสินคน Stephen M.R. Covey เราตัดสินตัวเองโดยดูที่ความตั้งใจ ในขณะที่เราตัดสินคนอื่นโดยดูที่การ กระทำ
ไม่มีใครเปลี่ยนตัวเราได้ถ้าเราไม่อยากเปลี่ยนตัวเอง เราไม่อยากเปลี่ยนตัวเองถ้าเรายังไม่รู้เลยว่าเราทำผิดหรือเราทำถูก
📌 2. เพื่อตัวเอง เพื่อคนอื่น
การตั้งราคาที่ไม่เป็นธรรม
◾ การตั้งราคาในภาวะไม่ปกติ หรือ Price Gouging การปรับขึ้นราคาสินค้าไปสู่ระดับที่ไม่ป็นธรรมต่อผู้บริโภค
ต้นทุนขึ้นเพราะ Social Distancing ขอขึ้นราคาได้ไหม
◾ Social Distancing ส่งผลกระทบอย่างมากต่อธุรกิจที่ต้องใช้ พื้นที่ ในการให้บริการลูกค้า จนทำให้ผู้ประกอบการบางรายจำเป็นต้องขึ้นราคาสินค้าและบริการ ขึ้นราคาไม่ใช่เพราะต้องการกำไร แต่เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้
เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม
◾ เศรษฐศาสตร์+จิตวิทยา = เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม
เพื่ออธิบายพฤติกรรมมนุษย์ อย่างที่ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แบบดั้งเดิมไม่สามารถอธิบายได้เนื่องจากจากทฤษฎีดั้งเดิมเหล่านั้นมักจะอยู่ภายใต้สมมติฐานว่ามนุษย์มี “เหตุผล” หรือ Rationality และ “เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว” หรือ Self Interest
📌 3. ธุรกิจวันนี้ ธุรกิจพรุ่งนี้
การเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินธุรกิจ
“ตลาดผูกขาด” Monopoly การมีผู้ประกอบการ ผู้ผลิต หรือผู้ขาย เพีนงรายเดียว จึงสามารถตั้งราคาสูงได้
พฤติกรรมแบบนี้ ทำให้ตัวผู้ขายเองได้กำไรมาก “กำไรสูงสุด” Maximum Profits ซึ่งส่งผลให้ผู้ซื้อลำบากและเสียประโยชน์
“ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด” Monopolistic Competition และ “ตลาดแข่งขันน้อยราย” หรือ Oligopoly แต่ก็ยังไม่เสียเปรียบเท่ากับ “ตลาดผูกขาด” เพราะผู้ซื้อไม่จำเป็นต้องซื้อจากผู้ขายเพียงรายเดียว
ผูกขาดมีอยู่ทั่วไป ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์บอกว่าธุรกิจที่ผูกขาดนั้นจะมี “อำนาจเหนือตลาด” หรือ Markt Power คือ สามารถตั้งราคาสูงเกินไปหรือสูงกว่าราคาตลาดที่มีการแข่งขัน
📌 4. ออนไลน์ ออฟไลน์
จริยธรรมของผู้มีอิทธิพลในสังคมออนไลน์
การรีวิวโดยที่ผู้รัวิวได้รับค่าตอบแทนจากแบรนด์นั้น เข้าข่าย “ความขัดแย้งทางผลประโยชน์” หรือ Conflict of Interests ซึ่งส่งผลให้การรีวิวนั้นเชื่อถือไม่ได้
การกระทำของผู้มีอิทธิพลในสังคมออนไลน์จึงหลีกเลี่ยงเรื่องของจริยธรรมได้ยาก
“ข้อมูลส่วนตัวเป็นของใคร” การกำหนด กลุ่ม “ลูกเป้าหมาย” หรือ Target Market รวมทั้งการทำวิจัยทางการตลาด ต่างก็ต้องการให้ลูกค้าเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวให้ผู้ขายทราบ
ในปัจจุบัน (และอนาคต) ข้อมูลส่วนตัวมีคุณค่ามากกว่านั้น เพราะผู้ชายสามารถนำมาศึกษา “พฤติกรรม” ของลูกค้าได้ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ทางด้าน Big Data
“ราคา” ของ “ข้อมูลส่วนตัว” ในต่างประเทศ ตอนนี้มีธุรกิจซื้อขายข้อมูลส่วนกันแล้ว
ไม่นานมานี้ Facebook มีการออกแอปที่จ่ายเงินให้ 20 เหรียญ หากเรายินยอมให้เขาใช้ข้อมูลส่วนตัวของเรา
📌 5. วันนี้ผิด พรุ่งนี้ถูก
ในขณะที่ สิ่งที่ผิดในวันนี้ ก็อาจกลายเป็นสิ่งที่ ถูกต้องใน วันพรุ่งนี้ ได้เช่นกัน ทั้งนี้เพราะคนดีที่แท้จริงคือคนที่ตระหนักและยอมรับว่า ตัวเองเป็นคนไม่ดี และพยายามที่จะไม่ทำผิดอีก
แม้ว่าวันนี้เราจะทำผิดแต่พรุ่งนี้เราจะมุ่งมั่นทำสิ่งที่ถูกต้องให้ได้
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน ติดตามได้ที่ Add LINE id: @tfcacademy
อัพเดทและติดตามข่าวสารได้ที่
Line : @thaifranchise
Twitter : @thaismecenter
Twitter : @thaifranchise

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา