21 ก.ย. 2021 เวลา 07:44 • ไลฟ์สไตล์
ชวนส่อง เรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับ "การดื่มกาแฟ" รอบโลก ตอนที่ 1
“กาแฟ” เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการดำเนินชีวิตแต่ละวันของพวกเรา
ระหว่างที่ดื่มไป ก็เลยนึกไปถึงเรื่องราวของการดื่มกาแฟในแต่ละประเทศรอบโลก
ประจวบกับได้ดูสารคดีเกี่ยวกับการชงกาแฟตุรกีมาพอดี จึงเป็นแรงบันดาลใจให้นั่งค้นหาประเทศอื่น ๆ ต่อไปด้วย
ถ้าอย่างนั้น ในตอนแรกตอนนี้ พวกเรา InfoStory ขอพาเพื่อน ๆ ไปส่องเรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับการดื่มกาแฟ ของประเทศญี่ปุ่น, เวียดนามและตุรกี กันก่อนเลยแล้วกัน !
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการดื่มกาแฟในประเทศญี่ปุ่น (Japan)
ประเทศญี่ปุ่นที่เรามักจะคุ้นเคยกันในเมนูของชาเขียว หรือชาร้อน
แต่เพื่อน ๆ ทราบไหมว่า กาแฟดำเข้มข้น และ กาแฟนมกระป๋องที่กดจากตู้กดกาแฟอัตโนมัติ ยังเป็นที่นิยมสำหรับชาวญี่ปุ่นเหมือนกันนะ
นอกจากการดื่มกาแฟสำเร็จรูปเพื่อความรวดเร็วและสะดวกในการเดินทางไปทำงานแล้ว
อันที่จริงคนญี่ปุ่นเอง หากพอมีเวลาว่างในวันหยุด เขาก็จะนิยมไปนั่งดื่มกาแฟ ทานขนมหวาน พร้อมพูดคุยกันกับคู่สนทนา ด้วยเสียงที่ค่อนข้างเบา
แต่ส่วนใหญ่แล้ว ชาวญี่ปุ่นจะไม่ค่อยนิยมนั่งแช่ในร้านกาแฟกันนาน ๆ
บาริสต้าคนญี่ปุ่นเอง ยังมีความเคารพพื้นที่ส่วนตัวของลูกค้าสูงมาก ๆ อีกด้วย
ยกตัวอย่างเช่น บาริสต้าในสตาร์บัคของประเทศญี่ปุ่นเอง ก็จะให้ความเป็นส่วนตัวกับลูกค้า และ ไม่กล่าวคำทักทายที่มากเกินไป หรือ แม้กระทั่งสอบถามชื่อของลูกค้า ซึ่งจะค่อนข้างแตกต่างจากสไตล์ของสตาร์บัคสาขาอื่นๆทั่วโลก
ที่น่าสนใจอีกจุดหนึ่งก็คือ เรื่องราวของ จุน-คิสสะ (Jun-kissa) หรือ ร้านกาแฟบริสุทธิ์ “Pure cafés”
สาเหตุที่ต้องเรียกแบบนี้ ก็เพราะว่าหนึ่งในวัฒนธรรมที่เข้มข้นของคนญี่ปุ่น ก็คือการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์คู่ไปกับการทานอาหาร นั่นรวมไปถึงการดื่มกาแฟ เป็นเรื่องปกติ
โดยในช่วงแรกเลยที่วัฒนธรรมการดื่มกาแฟสไตล์ตะวันตกเริ่มเป็นที่นิยมในประเทศญี่ปุ่นเนี่ย ร้านกาแฟส่วนใหญ่ก็จะนิยมเสิร์ฟกาแฟพร้อมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยมีพนักงานเสิร์ฟผู้หญิงคอยให้บริการ
จนกระทั่งในเวลาต่อมา ร้านกาแฟเริ่มเป็นที่นิยมในการนัดพบปะ พูดคุยกันแบบเบา ๆ (คือไม่เชิงเป็นการรื่นเริงสังสรรค์) จึงทำให้ร้านกาแฟหลายร้านในเมืองเกียวโต เริ่มมีการปรับรูปแบบเป็น “Pure cafés” หรือ Jun-kissa โดยเน้นไปที่คุณภาพของการชงกาแฟ บรรยากาศในร้านที่แสนสงบเรียบง่าย ตกแต่งด้วยไม้หรือสีที่ไม่ได้ดูฉูดฉาด เน้นการดื่มเครื่องดื่ม Soft drink กับขนมหวานแทน
4
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการดื่มกาแฟในประเทศเวียดนาม (Vietnam)
หนึ่งในจุดเด่นของประเทศเวียดนาม ที่นอกจากเมนูอาหารน่าลิ้มลองแล้ว
เรื่องราวของกาแฟ (เช่นเมล็ดกาแฟโรบัสต้า วัฒนธรรมการดื่มและการชงกาแฟ) ก็ยังเป็นหนึ่งในสิ่งที่ถ้าไม่พูดถึงก็คงจะไม่ได้
ส่วนเรื่องวัฒนธรรมการดื่มกาแฟ สำหรับชาวเวียดนามแล้ว
จากที่พวกเราค้นหามา คนเวียดนามเปรียบกาแฟเหมือนศิลปะหรือแหล่งพบปะทางสังคม
โดยการดื่มกาแฟของคนเวียดนาม จะเน้นไปทางของการดื่มไปคุยไป และ รับประทานคู่กับขนมปัง
ที่น่าสนใจคือ การดื่มกาแฟของที่นี่ จะค่อนข้างนิยมในกลุ่มวัยรุ่นมากพอสมควร เพราะร้านกาแฟที่มีหลากหลายแบบ ส่วนใหญ่จะเน้นบรรยากาศร้านแบบ Open-air จึงดึงดูดให้กลุ่มวัยรุ่นมานั่งพูดคุย มีมุมถ่ายรูปกันได้ทุกวัน
เวียดนาม เริ่มต้นรู้จักและปลูกกาแฟ จากชาวอาณานิคมของฝรั่งเศส ในช่วงปี ค.ศ. 1857
แต่อย่างไรก็ดีเนี่ย ในช่วงแรกเลยการปลูกกาแฟของเวียดนามภายใต้การควบคุมของอาณานิคมฝรั่งเศส ก็ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเท่าไรนัก
ต่อมา หลังสิ้นสุดสงครามเวียดนาม ในปี ค.ศ. 1975 รัฐบาลคอมมิวนิสต์ของเวียดนาม ก็ได้ให้ความสนใจกับการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยการปลูกกาแฟมากขึ้นที่เมืองฮานอย
เพื่อน ๆ หลายคนน่าจะคุ้นกับชื่อของวิธีการชงกาแฟที่เป็นเอกลักษณ์ของเวียดนามอย่าง “Café Phin” (กาแฟฟิน) ซึ่งเป็นวิธีการชงกาแฟระบบน้ำหยด (Drip) กับวิธีการสุดจะสะดวก โดยนำกาแฟบดใส่ในอุปกรณ์ถ้วยกรอกสังกะสี ที่มีรูเจาะอยู่ข้างใต้ หลังจากนั้นเทน้ำร้อนลงไปและ รอให้น้ำกาแฟไหลลงในถ้วย กาแฟจะมีกลิ่นหอมและเข้มข้น
พอพูดถึงหลักการคร่าว ๆ แบบนี้ ก็จะคล้ายคลึงกับกาแฟดริป
คือรอให้กาแฟค่อยๆ ไหลผ่านฟิลเตอร์หยดลงมาในแก้วนั่นเองเนอะ
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการดื่มกาแฟในประเทศตุรกี (Turkey)
ต้องบอกว่ากาแฟตุรกี มีประวัติและความเป็นมาที่ยาวมาก เพราะกาแฟตุรกี
หรือเรียกในภาษาท้องถิ่นว่า Turk kahvesi หรือ Turkish kahve ซึ่งเป็นคำยืมมาจากภาษาอาหรับ
ว่ากันว่าประเทศตุรกีมีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่การนำเข้าเมล็ดกาแฟในช่วงปี ค.ศ. 1540 หรือในสมัยของสุลต่านสุลัยมาน จักรวรรดิออตโตมัน
สุลต่านสุลัยมาน ที่เพิ่งเคยจะลิ้มลองรสชาติของกาแฟ ก็กลับติดใจเอาเสียมาก จนกระทั่งกาแฟกลายเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมในพระราชวังและกลุ่มชนชั้นสูง
ซึ่งวิธีการทำก็ไม่ได้ยากเย็นนักเลย ในสมัยนั้นเขาก็จะต้มกันในหม้อต้มใบเล็กด้ามจับยาว หรืออาจเป็นครกที่มีด้ามจับ ที่เรารู้จักกันในชื่อที่เรียกว่า Cezve หรือ Ibrik
“Cezve” เป็นหม้อต้มท้องถิ่นที่ถูกออกแบบเมื่อหลายร้อยปีก่อนให้มีผลส่งเสริมต่อการสร้างฟองกาแฟและป้องกันผงกาแฟจากหม้อต้มไม่ให้ไหลลงสู่ถ้วย ซึ่งจุดประสงค์ก็เพื่อเอาใจคนดื่มอย่างท่านสุลต่านนี่ละนะ
กาแฟในยุคนั้น ก็ได้แพร่กระจายไปตามอำนาจและอิทธิพลของจักรวรรดิออตโตมัน
ยอดนิยมขนาดที่ว่าในปี ค.ศ. 1656 อาณาจักรออตโตมันก็ได้มีการออกกฎหมาย ที่ว่าด้วยการสั่งปิดร้านกาแฟให้หมด อีกทั้งยังประกาศให้การดื่มกาแฟเป็นสิ่งผิดกฎหมาย กันเลยทีเดียว !
เพราะสุลต่านกลับมองว่า กาแฟเนี่ยมันจะเป็นภัยคุกคามความมั่นคงคงชาติ…
(จนสมัยของสุลต่านสุลัยมานที่ 2 ก็อนุญาตให้เปิดร้านกาแฟและค้าขายได้ แต่เก็บภาษีแทน)
แน่นอนว่ากาแฟที่คั่ว ก็จะต้องเป็นแบบบดละเอียดมากระดับ "Extra fine grind"
หรือถ้าจะพูดให้เห็นภาพง่าย ๆ ก็คือละเอียดเหมือนผงแป้งเลยทีเดียว !
ที่ต้องละเอียดขนาดนี้ ก็เพราะกาแฟตุรกีไม่ได้ผ่านการกรองหรือใช้ฟิลเตอร์ ซึ่งเป็นวิธีการชงที่ตกทอดเป็นวัฒนธรรมมาตั้งแต่ 700 กว่าปีที่ผ่านมา มันก็จะไม่เหมือนกับการชงกาแฟในแบบที่เราคุ้นเคยกันนั่นเองจ้า
1
ซึ่งวิธีการชงนั้นก็จะเป็นคร่าวๆแบบนี้
1. นำกาแฟที่บดละเอียดมากมาใส่ในอุปกรณ์ชงกาแฟ "Cezve"
2. จากนั้นค่อย ๆ เติมน้ำลงในอุปกรณ์แล้วคนให้เข้ากัน
3. ตั้งไฟให้ร้อน แล้วนำอุปกรณ์ มาวางต้มด้วยเวลาเฉลี่ย 2-5 นาที
4. อาจเพิ่มความหวานด้วยน้ำตาลได้ เป็นอันเสร็จสิ้น
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา