24 ก.ย. 2021 เวลา 10:00 • ไลฟ์สไตล์
"บันได 7 ขั้น ... สู่ความหลุดพ้น"
" ... เริ่มต้นที่สีลวิสุทธิ
ศีล ก็คือความเป็นปกติของกาย วาจา ใจ
ถ้าว่าโดยภาพรวมก็คือ การไม่เบียดเบียนกัน
1. สีลวิสุทธิ
ซึ่งถ้าแจกแจงลงไป คำว่า สีลวิสุทธิ จะประกอบด้วย
สิ่งที่เรียกว่า จาตุปริศีล ศีลที่บริสุทธิ์
ที่ประกอบด้วย 4 ส่วนด้วยกัน ก็คือ
ปาติโมกสังวรศีล การสำรวมศีลในพระปาติโมกข์
อย่างพระ ก็มีศีลในพระธรรมวินัย ๒๒๗ ข้อด้วยกัน
สำหรับนักบวช ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ก็ศีล ๘
สำหรับคฤหัสถ์ฆราวาสก็ศีล ๕
นี่คือศีลในพระปาติโมกข์ คือความปกติของกาย วาจา ใจ
จาตุปริสุทธิศีล
แล้วก็อินทรียสังวรศีล คือการสำรวมอินทรีย์
ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ
สำรวมระวังการเห็น การได้ยิน
การได้กลิ่น การลิ้มรส การสัมผัส ต่าง ๆ
มีสติรู้สึกตัว รู้เท่าทัน
ไม่ปล่อยใจให้หลงไปกับอารมณ์ต่าง ๆ นั่นเอง
ซึ่งตรงนี้ฆราวาสก็สามารถนำไปใช้ได้เหมือนกัน
การสำรวมอินทรีย์นี้ ไม่ใช่เฉพาะนักบวชเท่านั้นนะ
มีศีลปกติ มีการสำรวมอินทรีย์
แล้วก็อาชีวปริสุทธิศีล
ก็คือมีอาชีพที่หมดจด
ถ้าอย่างคฤหัสถ์ฆราวาสก็ประกอบอาชีพที่สุจริต
อาชีพที่ไม่เบียดเบียน ไม่เกิดโทษนั่นเอง
ถ้าสำหรับบรรพชิต ภิกษุสงฆ์
อาชีวะ ก็คือการได้ปัจจัย ๔ มาโดยชอบธรรม
ไม่ผิดพระธรรมวินัยนั่นเอง
เช่น การบิณฑบาตร เป็นต้น
ในพระวินัยก็จะมีข้อห้ามอยู่
ถ้าเราไปทำละเมิดผิดข้อวินัย ก็ไม่บริสุทธิ์แล้ว
แล้วก็ปัจจัยนิตยศีล
ก็คือการพิจารณาใช้สอยปัจจัย ๔ ก่อน
พิจารณาใช้เพื่อ เท่าที่จำเป็น
ยังอัตภาพให้เป็นไป
พิจารณาใคร่ครวญก่อน แล้วจึงใช้สอย
ไม่ใช้เพื่อสนองกิเลสตัณหาอุปทาน ต่าง ๆ
ถ้าเราทำได้อย่างนี้
มีศีลสำรวม มีอินทรีย์สำวม มีอาชีวะที่หมดจด
แล้วก็มีการพิจารณาใช้สอยปัจจัย ๔ ตามสมควร
ก็เรียกว่าใช้เท่าที่จำเป็น
เป็นผู้มักน้อย สันโดษ นั่นเอง
ก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า สีลวิสุทธิ
เป็นความปกติยืนพื้น เรียกว่า อยู่บันไดขั้นแรกได้แล้ว
มีเป็นผู้ที่มีสีลวิสุทธิก่อน
ความเป็นปกติของกาย วาจา ใจ
กายสะอาด วาจาสะอาด ใจสะอาด
เมื่อผ่านบันไดขั้นแรกได้
ก็จะมีแรงส่งเข้าสู่บันได้ขั้นที่ 2 จิตตวิสุทธิ นั่นเอง
2. จิตตวิสุทธิ
เป็นผู้ที่มีสติ สัมปชัญญะ อยู่เนือง ๆ
จนสามารถสงัดจากกาม และอกุศลธรรม
เข้าถึงปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตฌาน
เป็นผู้ที่มีจิตใจที่ตั้งมั่น ตื่นอยู่นั่นเอง
เมื่อจิตตั้งมั่น ก็จะเกิดการแยกขันธ์ในเบื้องต้น
คือ แยกกายแยกจิต
แยกอารมณ์ กับ ผู้รู้อารมณ์
ครูบาอาจารย์ท่านเรียกว่า จิตผู้รู้ นั่นเอง
สภาวะของจิตผู้รู้ ก็คือ จิตที่ตั้งมั่น
เมื่อจิตตั้งมั่น มันจะเกิดสภาวะธรรมคู่ขึ้นมา
ก็คือผู้รู้ แล้วก็สิ่งที่ถูกรู้
อย่างตอนจิตยังไม่ตั้งมั่น
เราดูลมหายใจ มันก็รู้สึกว่ามันเป็นเนื้อเดียวกับลมหายใจ
ดูกาย มันก็รู้สึกว่าเป็นเนื้อเดียวกับกาย
ดูอะไร มันก็ไปรู้สึกว่ามันเป็นอันเดียวกับอันนั้น
แต่พอจิตตั้งมั่นปุ๊บ มันแยกออก
ลมหายใจ มันก็เป็นเพียงแค่สิ่งที่ถูกรู้
กาย มันก็เป็นเพียงแค่สิ่งที่ถูกรู้
อารมณ์ ความรู้สึกต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น มันก็เป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้
มันเริ่มเกิดสภาวะธรรมคู่
แยกกายแยกจิตนั่นเอง
ซึ่งเมื่อจิตตวิสุทธิ คือ จิตตั้งมั่น
พระผู้มีพระภาคเจ้าอุปมาว่าเหมือน
น้ำที่มันใส เรามองดูน้ำในบ่อที่มันใส
มันก็จะมองเห็นชัดเลย กุ้ง หอย ปู ปลา ต่าง ๆ
มันเห็นชัด
เมื่อจิตตั้งมั่น
ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏตามความเป็นจริง
พอจิตตวิสุทธิ บันไดขั้นที่ 2 ได้
หรือรถผลัดที่ 2 ได้
ก็จะมีแรงส่งเข้าสู่ ทิฏฐิวิสุทธิ
3. ทิฏฐิวิสุทธิ
เกิดความเห็นที่หมดจดนั่นเอง
เพราะว่าเกิดการรู้เห็นตามความเป็นจริง
เมื่อยกจิตเข้าสู่วิปัสสนาญาน
ที่เรียกว่าเกิดวิปัสสนาญานนั่นเอง
จะเกิดสภาวะแยกธาตุ แยกขันธ์
การแตกดับของสรรพสิ่ง
ตอนจิตตั้งมั่นก็เกิดสภาวะ ธรรมคู่
ก็คือผู้รู้ กับ สิ่งที่ถูกรู้
อารมณ์ ความรู้สึกต่าง ๆ
มันเป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้
แต่มันยังมีอุปาทานยึด จิตผู้รู้ อยู่
จิตมันยังนิ่ง ยังสงบ มันยังมีความตั้งมั่น
เป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่
แต่เมื่อสามารถยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาญานได้
แม้กระทั่งจิตผู้รู้นี้ ก็หลุดออกไป
กลายเป็นเพียง สิ่งที่ถูกรู้
ขันธ์ทั้งห้า กลายเป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้
จึงเกิดการรู้เห็นตามความเป็นจริงขึ้นมา
เรียกว่า เห็นรูปนาม ขันธ์ห้า แตกดับตามความเป็นจริงขึ้นมา
มันจะอีกระดับนึงแล้ว
ตรงจิตตั้งมั่นนี่แยกแค่ผู้รู้ กับ สิ่งที่ถูกรู้
แต่พอเข้าสู่วิปัสสนาญานปุ๊บ
จิตผู้รู้ก็หลุดออกไป
เกิดการเห็นการแตกดับของสรรพสิ่ง
แม้กระทั่งจิตผู้รู้ก็แตกดับ
เห็นการแตกดับของวิญญานขันธ์ได้
เห็นการแตกดับของสรรพสิ่ง ของรูป นาม ขันธ์ห้าได้
เมื่อเกิดการแยกธาตุแยกขันธ์
การแตกดับของสรรพสิ่ง
จะเกิดความเข้าใจสภาวะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
เกิดการรู้เห็นตามความเป็นจริง
เมื่อเกิดการรู้เห็นตามความเป็นจริงอย่างนี้
เกิดทิฏฐิวิสุทธิ ความเห็นที่หมดจด
เกิดการรู้เห็นตามความเป็นจริง
ก็จะมีแรงส่งเข้าสู่บันไดขั้นต่อไป
ที่เรียกว่า กังขาวิตรณวิสุทธิ
4. กังขาวิตรณวิสุทธิ
คือ ข้ามพ้นความสงสัยเสียได้
เข้าใจ เข้าใจสภาวะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
ตามเหตุตามปัจจัยที่เกิดขึ้น นั่นเอง
มันเกิดขึ้น มันตั้งอยู่ แล้วมันก็สลายไป
ที่เรียกว่า ทุกขสัจจะ
ตั้งแต่ทิฏฐิวิสุทธิ เป็นขั้นวิปัสสนา
เป็นขั้นปัญญามาละ
จนถึงกังขาวิตรณวิสุทธิ ข้ามพ้นความสงสัยเสียได้
เมื่อข้ามพ้นความสงสัยเสียได้
ก็จะมีแรงส่งเข้าสู่บันได้ขั้นต่อไป
หรือรถผลัดต่อไปนั่นเอง
ที่เรียกว่า มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
5. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
ก็คือ มีญานรู้ว่าเป็นทาง หรือไม่ใช่ทาง นั่นเอง
เพราะว่าเวลาปฏิบัติจนจิตละเอียดแบบนี้แล้ว
มันก็จะเกิดทั้งสิ่งวิจิตรได้ง่าย
ที่เรียกว่า บ่วงทิพย์
กิเลสมันมีทั้งกิเลสอย่างหยาบ กิเลสอย่างกลาง
แล้วก็กิเลสอย่างละเอียด
การปฏิบัติจนกิเลสอย่างหยาบ คือ นิวรณ์
เครื่องหุ้มจิตมันหลุดออกไปแล้ว
แต่มันจะมีเรื่องกิเลสอย่างกลาง กิเลสอย่างละเอียดอยู่
ที่เรียกว่า การติดดี นั่นเอง
ละชั่วว่ายากแล้ว ละการติดดีนี่ยากกว่านั่นเองนะ
บ่วงมนุษย์นี่กว่าเราจะละได้ เรื่องกามคุณอารมณ์ต่าง ๆ
พอละได้แล้ว จิตสงบตั้งมั่นแล้ว
ก็จะเผชิญสิ่งที่เรียกว่า บ่วงทิพย์
เรื่องคุณวิเศษ เรื่องความวิจิตรพิศดารต่าง ๆ
ยิ่งจิตเรามีศรัทธามาก
ก็จะถูกหลอก ถูกให้ยึดติดได้ง่าย
เช่น เกิดพุทธนิมิตรบ้าง
หรือเกิดนิมิตรที่ครูบาอาจารย์ที่เราเคารพบ้าง
มาสอนเราบ้าง
ก็จะทำให้เราเกิดความติดข้องอยู่ได้ง่าย
ที่เรียกว่า บ่วงทิพย์
บ่วงทิพย์นี่มีเยอะมากเลย
หรือสิ่งที่ท่านเรียกว่า วิปัสสนูปกิเลส นั่นเอง
การติดกิเลส
วิปัสสนา พอเจอแล้ว
สิ่งที่จะเจอต่อมาก็คือ วิปัสสนูปกิเลส
เช่น ไปเจอความสว่าง ความว่าง
ที่เข้าใจว่าพ้นแล้ว ติดอยู่นั่นเอง
อย่างสมัยก่อน พบประจำเลย
ลูกศิษย์พอปฏิบัติได้ดีแล้ว
จิตมันว่าง จิตมันสว่าง
ก็อยู่กับความว่าง อยู่กับความสว่างแบบนั้น
ผลพอเชคแล้ว
อ้าว ติดมิติส่วนตัวซะแล้ว เป็นกันเยอะเลย
เพราะว่าเวลาปฏิบัติ วางใจถูก
สลัดคืนได้ เข้าถึงความว่าง ความสว่างได้
ทีนี้เริ่มเกิดความติดใจ
พอเกิดความติดใจ
ทีนี้ แทนที่จะสลัดคืนตัวจริง
มันนึกถึงสิ่งใด มันก็ติดอยู่กับสิ่งนั้น
มันกลายเป็นจิตมันสร้างเป็นมิติส่วนตัวขึ้นมา
สร้างเป็นพลังงานความว่าง เป็นพลังงานความสว่างขึ้นมา
อย่างมีคนนึง ปฏิบัติมา 40 ปี
จิตแกสว่างมาก จ้า สว่างว่าง
ไม่มีกิเลสเลย มีแต่ความว่าง มีแต่ความสว่าง
แต่พอตรวจสอบ กลับพบว่าติดอยู่ในมิติส่วนตัว
ซึ่งใหญ่มากเลย เพราะสะสมมานานนั่นเอง
เสียโอกาสในการชำระตนเอง
กลายเป็นการติดอยู่ในระดับสมาธิไป
กิเลสละเอียดนี่ละยาก
ละการติดดีนี่ละยาก
ซึ่งมันจะมีอุปสรรคระหว่างทางตรงนี้เยอะมากเลย
ให้เราติดอยู่
พระพุทธเจ้าถึงตรัสว่า
ธรรมทั้งปวงใคร ๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
ทุกอย่างก็เพื่อละ เพื่อวาง
แค่รู้ สักแต่ว่า รู้ นั่นเอง
เพราะฉะนั้นเมื่อเข้าถึงมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
รู้แล้วว่ามันเป็นทาง หรือไม่ใช่ทาง
เมื่อรู้ก็จะมีแรงส่งเข้าสู่ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
6. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
เรียกว่า ตรงทางตรงธรรม ละ
ทางสายกลาง นั่นเอง
ละชั่ว ละดี ละการติดข้องทั้งหลายทั้งปวง
ไม่อาลัยกับอะไรแล้ว
เดินทางสายกลาง ปฏิปทาญานทัสสนวิสุทธิ
จนมีแรงส่งเข้าสู่ เข้าถึงผลัดสุดท้าย
ที่เรียกว่า ญานทัสสนวิสุทธิ
7. ญานทัสสนวิสุทธิ
หลุดพ้นจากการยึดมั่นถือมั่นทั้งปวง
ชำระตนเองจนหมดสิ้นนั่นเอง
5 ข้อหลังนี้เป็นเรื่องปัญญาระดับวิปัสสนาญาน
ละเอียด จะติด
มีด่านที่เราจะต้องค่อย ๆ หลุด
กิเลสอย่างละอียดนี้ละยาก
เป็นเรื่องที่ติดข้องได้ง่าย
เพราะว่ามันติดดี มันมีความสุข มันมีความสบาย
มันมีความประณีต มันมีความสงบ
แต่ว่า ถ้าเราเข้าใจว่ามันเป็นที่สุดแห่งทุกข์แล้ว
มันก็ยังติดอยู่แค่นั้น นั่นเอง
พอเข้าถึงญานทัสสนวิสุทธิ
มันหลุดออกจากการยึดมั่นถือมั่นทั้งปวง
ขันธ์ทั้งห้า จากปกติเป็นอุปาทาน
อุปาทานขันธ์
เมื่อเกิดญานทัสสนวิสุทธิ
ก็จะเป็น ขันธวิสุทธิ แล้ว
รูปนาม ขันธ์ห้า ก็จะไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น
เหมือนหยดน้ำบนใบบัว
มันหลุดออก ๆ ๆ มันกลิ้งออก
มันปราศจากการยึดมั่นถือมั่นทั้งปวง
มันไม่อาลัยอะไรเลย
มันเข้าถึงความเป็นกลางของธรรมชาติ
ไม่เกาะเกี่ยวกับสิ่งใด
ไม่ติดข้องกับสิ่งใด ๆ ในโลก
ที่ท่านเรียกว่า ลอยบุญ ลอยบาป
พ้นดี พ้นชั่ว นั่นเอง
เมื่อสามารถพ้นไปแล้วได้
ก็สลัดคืนสู่ความบริสุทธิ์ของธรรมชาติได้
ที่เรียกว่า อนุปาทาปรินิพพาน
...
เพราะฉะนั้นการที่จะสลัดคืนสู่ความบริสุทธิ์
ก็มีบันไดเป็นขั้น ๆ
หรือว่า มีรถ เปรียบเหมือนรถ 7 ผลัดนั่นเองนะ
สีลสุทธิ เป็นประโยชน์แก่ จิตตวิสุทธิ
จิตตวิสุทธิ เป็นประโยชน์
จิตตวิสุทธิ ก็คือจิตตั้งมั่น
ก็จะมีแรงส่งให้เกิด ทิฏฐิวิสุทธิ
ก็คือ การรู้เห็นตามความเป็นจริง
ทิฏฐิวิสุทธิ ก็เป็นปัจจัยให้เกิด
กังขาวิตรณวิสุทธิ คือ การข้ามพ้นความสงสัยไปได้
กังขาวิตรณวิสุทธิก็จะเป็นประโยชน์แก่
มัคคามัคญานทัสสนวิสุทธิ คือ ญานที่รู้ว่าเป็นทางหรือไม่ใช่ทาง
นั่นคือ ทางสายกลางอย่างเดียว ไม่เบ้ซ้าย ไม่เบ้ขวา
ไม่ติดดี ไม่ติดชั่ว ละชั่วว่ายากแล้ว ละติดดียากกว่า
กิเลสอย่างกลาง กิเลสอย่างละเอียดนั่นเอง
เมื่อรู้แล้ว ก็ตรงทางตรงธรรมแล้ว
เข้าสู่ปฏิปทาญานทัสสนวิสุทธิ
มีแต่ความเป็นกลางล้วน ๆ ไม่อาลัยกับอะไร
ไม่เกาะเกี่ยวกับสิ่งใด
ไม่ยึดโยงกับสิ่งใด ๆ ในโลกทั้งสิ้น
ที่เรียกว่า สิ้นอาลัยในตัณหา นั่นเองนะ
เมื่อดำเนินไป ชำระตนจนหมดสิ้น
ก็เข้าสู่ ญานทัสสนวิสุทธิ
เป็นญานทัสสนหมดจดละ
ไม่เป็นอุปาทาน ไม่เกิดการยึดมั่นถือมั่นใด ๆ ทางโลก
ก็จึงสามารถสลัดคืนสู่ความบริสุทธิ์ของธรรมชาติ
อนุปาทาปรินิพพาน ดับไม่มีส่วนเหลือ นั่นเอง ... "
.
ธรรมบรรยาย โดย
พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
ตั้งแต่นาทีที่ 12.38
ขอบคุณรูปภาพจาก : Unsplash

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา