Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
A WAY OF LIFE : ทางผ่าน
•
ติดตาม
23 ก.ย. 2021 เวลา 13:11 • ปรัชญา
"หัวใจของการฝึกสติปัฏฐาน"
" ... วิธีการฝึกสติปัฏฐาน ๔
หัวใจของการฝึกสติปัฏฐาน ๔ คือ
ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น รู้ธรรมเฉพาะหน้า
ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น รู้ธรรมเฉพาะหน้า
เป็นแกนหลักของวิชาสติปัฏฐาน ๔
ทั้งในระดับเบื้องต้น ระดับท่ามกลาง แล้วก็ระดับที่สุด
เรียกว่าตลอดรอดฝั่งเลย
จนสามารถคืนสู่ความบริสุทธิ์ของธรรมชาติได้
ที่เรียกว่า ตรงทางตรงธรรม นั่นเอง
เหมือนเราจะเดินทางไปในที่ที่เราไม่เคยไป
เช่น เราจะไปเชียงใหม่เราก็ต้องขึ้นเหนือ
ไปตามเส้นทางสายหลักนั่นเอง
ตรงทางตรงธรรม ไม่แว่บออกนอกลู่นอกทาง
การที่เราจะเดินในเส้นทางที่ถูกต้องได้ตลอดรอดฝั่ง
เราต้องมีแกนหลักตรงนี้
ก็คือตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น รู้ธรรมเฉพาะหน้า
อันนี้เป็นมาตรวัดเลยว่า
เรายังอยู่ในเส้นทางที่ถูกต้องหรือไม่
ไม่เบ้ซ้าย ไม่เบ้ขวา
ถ้าเบ้ออกไปก็ต้องดึงกลับเข้าสู่เส้นทาง
ก็คือตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น รู้ธรรมเฉพาะหน้า
ตั้งแต่เบื้องต้น
ก็เริ่มจากปรับร่างกายให้ตรงก่อนนั่นเอง
คำว่า "ตรง" ก็คือ แกนสันหลังตรง
อย่างบางทีเรานั่งสมาธิ เราใช้ที่พิง
เราต้องเข้าใจแก่นปฏิบัติก่อน
ไม่ใช่พิงให้หลังมันโค้ง แต่เราปรับให้มันตรง
มันเป็นตัวพยุงเฉย ๆ
ให้แกนสันหลังเราตรง ตั้งกายตรงขึ้นมา
ถ้ากายยังตรงไม่ได้ จิตมันจะตรงขึ้นมาได้ยังไง
เมื่อเราปรับกายให้ตรงแบบสบาย ๆ
ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น รู้ธรรมเฉพาะหน้า
จิตมันจะเข้าถึงความเป็นกลางโดยธรรมชาติ
ก็คือมันไม่เอียงซ้าย มันไม่เอียงขวา นั่นเอง
เมื่อเพียงแค่เรารักษากายตรง
ดำรงสติมั่น รู้ธรรมเฉพาะหน้าไปเรื่อย ๆ
มันจะเกิดการรับรู้ที่เป็นกลางเป็นธรรมชาติขึ้นมา
คือมันรู้สึกทั่วกายขึ้นมาได้เองโดยธรรมชาติเลย
แบบเป็นกลางเลย
ไม่เบ้ซ้าย ไม่เบ้ขวา
ไม่เข้าไปสู่จุดใดจุดหนึ่ง
เพียงแต่กายตรง ดำรงสติมั่น รู้ธรรมเฉพาะหน้า
แล้วเมื่อเรารักษาความเป็นปกติตรงนี้ได้
รู้กายทั่วกายได้
มันก็จะมีแรงส่งเข้าสู่ฐานเวทนา
เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมขึ้นมาได้
จิตก็จะมีความนิ่ง มีความตั้งมั่นขึ้นมา
เมื่ออยู่กับฐานเวทนาได้ดี
มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมได้ดี
จิตเข้าสู่ความตั้งมั่นในระดับของสมาธิ
เกิดความตั้งมั่นที่ถูกต้อง
ก็จะมีแรงส่งเข้าสู่ฐานของจิต
เกิดความตั้งมั่น ตื่นรู้ขึ้นมา
ในระดับของสัมมาสมาธิ
ผลจากการที่เราตั้งกายหยาบให้ตรง
เมื่อเข้าถึงสมาธิ มันจะเกิดกายในที่เป็นนามกายขึ้นมา
นามกายมันก็จะตรงขึ้นมาโดยธรรมชาติเลย
ถ้ากายหยาบไม่ตรง
เราจะทำให้นามกายหรือกายในมันตรง
มันจะเป็นไปได้อย่างไร
มันจะส่งผลกันเป็นชั้น ๆ แบบนี้
เมื่อกายหยาบตรง
นามกายหรือกายในตรง
ผลที่ตามมาเมื่อเข้าสู่ฐานของจิต
จิตย่อมนิ่ง ตั้งมั่น ตรงทางตรงธรรม
เมื่อจิตมีความนิ่ง มีความตั้งมั่น ตรงทางตรงธรรม
เมื่อมีกำลังพอ ย่อมยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาญานได้
ธรรมทั้งหลายก็จะปรากฏตามความเป็นจริง
เกิดการรู้เห็นตามความเป็นจริง
เวลาที่จิตเกิดการเบิกบาน
การรู้เห็นตามความเป็นจริง
เห็นสภาวะการแตกดับของสรรพสิ่ง
การที่เรารักษาวิถีตรงนี้ ตรงทางตรงธรรม
ก็คือดำรงสติมั่น รู้ธรรมเฉพาะหน้า
จิตมันก็จะไม่แว๊บไปจับ สภาวะจุดใดจุดหนึ่ง
หรือ จิตส่งไปที่สภาวะจุดใดจุดหนึ่ง
โดยเฉพาะจิตที่ละเอียด
จิตที่เข้าถึงสมาธิ มีความละเอียด
มันเริ่มสัมผัสเรื่องมิติภพภูมิ เรื่องพลังงานต่าง ๆ
มันจะตัวล่อมันเยอะ
ที่เรียกว่า บ่วงทิพย์ นั่นเอง
การที่เราจะหลุดรอดบ่วงทิพย์
หรือ กับดักทางจิตทุกสิ่งทุกอย่าง
ก็คือ หัวใจตัวนี้นี่แหละ เบสิคตัวนี้แหละ
Simple is the best
ง่าย ๆ แต่สุดยอด
การปฏิบัติก็คือ
ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น รู้ธรรมเฉพาะหน้า
อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ธรรมเฉพาะหน้า
แค่รู้ แค่รู้สึกไปเรื่อย ๆ
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ผู้เข้าไปหา ... ไม่หลุดพ้น
ไม่เข้าไปหาต่างหาก จึงหลุดพ้น
การปฏิบัติธรรมที่จะทำให้เราสลัดคืน
จนพ้นจากวังวนของวัฏสงสารได้
ไม่ใช่เกิดจากการเข้าไปหา
โดยเฉพาะจิตละเอียด มันจะแว๊บ ๆๆๆ
จับอารมณ์ จับมิติ จับสภาวะต่าง ๆ
ถ้าอย่างนั้นน่ะมันไม่หลุดพ้นหรอก
มันเหมือนเวลาที่เราขับรถที่เร็ว
เครื่องแรง เครื่องเร็ว
ถามว่าเราต้องประคองให้ดีไหม
ถ้าประคองไม่ดี บางทีปุ๊บ
แฉลบปุ๊บ มันพุ่งเลย
มันออกซ้าย ออกขวา เข้ารกเข้าพงได้ง่าย
เกิดอุบัติเหตุอันตรายได้ง่าย
ยิ่งเครื่องแรงเครื่องเร็ว
พวงมาลัยต้องมั่นคง
จิตต้องเป็นกลาง ตั้งมั่น ตรงทางตรงธรรม
ไม่วอกแวก
ถ้าวอกแวกปุ๊บมันหลุด ๆๆๆ
หลุดออกนอกทางได้ง่ายมาก
จิตที่ละเอียดมันจะหลุดออก
เบ้ซ้ายหรือเบ้ขวาได้ง่ายมาก
ไม่ว่าจะเป็นพวกสิ่งวิจิตร
เรื่องคุณวิเศษ เรื่องอะไรต่าง ๆ
ที่เป็นบ่วงทิพย์ทั้งหลาย
มันจะดึงเราให้แฉลบออกนอกทางได้ง่ายมาก
แล้วการแฉลบแบบนี้
บางทีมันก็จะหลุดไปไกลเลย
วิธีการง่าย ๆ เลย
ที่เราจะไม่หลุดนอกทาง ตรงทางตรงธรรม
ก็คือตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น รู้ธรรมเฉพาะหน้า
สุดท้ายมันจะสลัดคืนจากทุกอย่าง
จนคืนสู่ธรรมชาติที่บริสุทธิ์นั่นเองนะ
เพราะฉะนั้นอันนี้เป็นแกนหลักของสติปัฏฐาน ๔ เลยนะ
ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น รู้ธรรมเฉพาะหน้า
ใช้ได้ตั้งแต่ระดับเบื้องต้น ระดับท่ามกลาง
แล้วก็ระดับที่สุดเลยนะ
เหมือนเราจะเดินทาง เรามี GPS มันไม่หลง
มันไปตรงทางตรงธรรมไปเรื่อย
จนถึงเป้าหมายเลยนั่นเอง ... "
.
ธรรมบรรยาย โดย
พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
เยี่ยมชม
youtube.com
หัวใจของการฝึกสติปัฏฐาน | ธรรมให้รู้•2564 : ตอนที่ 163
4 บันทึก
7
4
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
คำสอนครูบาอาจารย์
4
7
4
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย