Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คีตาแห่งสยาม
•
ติดตาม
25 ก.ย. 2021 เวลา 03:51 • หนังสือ
✴️ บทที่ 1️⃣ ความท้อแท้ของอรชุน (ตอนที่ 41) ✴️
🌸 “สังข์” : พลังสั่นสะเทือนภายในสนามของการต่อสู้ในสมาธิ 🌸
⚜️ โศลกที่ 1️⃣5️⃣➖1️⃣8️⃣ ⚜️ (ตอนที่ 2)
หน้า 125 – 127
❇️ ขั้นตอนต่าง ๆ ของสมาธิที่ดิ่งสู่ภายใน ❇️
#ปตัญชลี ได้นิยามภาวะเหล่านี้ในการจำแนกขั้นตอนต่าง ๆ ของสมาธิที่ดิ่งสู่ภายในไว้ในโยคะสูตร 1:17–18 ซึ่งท่านได้จำแนก “สมาธิขั้นพื้นฐาน” ไว้ (2) ประเภท 1️⃣ ‘สัมปชัญญสมาธิ’ กับ 2️⃣ ‘อสัมปชัญญสมาธิ’
1️⃣ เมื่อนำไปใช้กับการหยั่งรู้ขั้นก้าวหน้า ‘สัมปชัญญสมาธิ’ จะถูกเรียกว่า ‘สวิกัลปะ’ (“มีความแตกต่าง”) — “สมาธิ” หรือ #การรวมเป็นหนึ่ง ซึ่งยังมี #ความแตกต่างอยู่บ้าง ระหว่าง ‘ผู้รู้’ กับ ‘สิ่งที่ถูกรู้’ เช่นในการหยั่งรู้ว่า “ท่านกับฉันเป็นหนึ่งเดียวกัน” ซึ่งถ้าจะว่าไป #สภาพตามธรรมชาติยังคงเหลืออยู่บ้าง
2️⃣ แต่ใน ‘อสัมปชัญญสมาธิ’ นั้น #ธรรมชาติทั้งหลายที่แตกต่าง_รวมเป็นหนึ่งกับบรมวิญญาณ จิตสำนึก “ท่านกับฉันเป็นหนึ่งเดียวกัน” กลายเป็น “พระองค์คือฉัน ในสภาวะ ‘ฉัน’ ตัวเล็กๆนี้ และในสรรพสิ่ง” ทั้งนี้มิใช่เป็นการประกาศอย่างยโสโอหังหลงผิดว่า “ฉันคือพระเจ้า❗” หากแต่เป็นการหยั่งรู้อย่างบริบูรณ์ถึง ‘อุตมสัจจะ’ : #พระเจ้า_คือ_ความจริงซึ่งมีอยู่เพียงหนึ่งเดียว ดังนั้นคำนิยามอันสมบูรณ์ของ ‘อสัมปชัญญสมาธิ’ ก็คือ ‘นิรวิกัลปะ’ (“ไม่มีความแตกต่าง”) — “สมาธิโยคะขั้นสูงสุด” หรือ #ความเป็นหนึ่งเดียว_ซึ่งสำแดงในอาจารย์ผู้เป็นอิสระแล้วอย่างแท้จริง หรือ #ในบุคคลผู้เข้าสู่ประตูอิสรภาพแห่งวิญญาณ
◾ความแตกต่างระหว่าง ‘ประสบการณ์อภิอินทรีย์’ กับ ‘สมาธิที่แท้จริง หรือ การรวมกับพระเจ้า’◾
อย่างไรก็ตามเมื่อนำไปนิยาม ‘ขั้นตอนแรกๆของการหยั่งรู้’ แทนที่จะนำไปใช้กับภาวะเกษมใน ‘ขั้นตอนที่ก้าวหน้า’ — 🔼 “สัมปชัญญะ” กับ 🔽 “อสัมปชัญญะ” เป็นคำที่ใช้เพื่อแยก ‘ความแตกต่าง’ ระหว่าง #ประสบการณ์อภิอินทรีย์ใน_สมาธิสัมปชัญญะ กับ #สมาธิที่แท้จริง_หรือ_ความเป็นหนึ่งเดียวกับอารมณ์แห่ง_สมาธิอสัมปชัญญะ
🔼 “สัมปชัญญะ” จึงหมายถึง #ภาวะเบื้องต้นที่อารมณ์ของการทำสมาธิ “ถูกรู้อย่างถูกต้อง หรือทั่วถ้วน” ด้วยสหัชญาณซึ่งยังปนเปหรือถูกตีความโดยการรับรู้อันประณีตของธรรมชาติ — ปฏิการระหว่าง ‘ผู้รู้’ ‘การรู้’ และ ‘สิ่งที่ถูกรู้’ ดังนั้นบางครั้ง เราจึงเรียกสิ่งนี้ว่า “สัมปชัญญะสมาธิ” เพราะพลังความสามารถตามธรรมชาติที่กระทำออกภายนอกในจิตธรรมดา ๆ เช่น จิต (มนัส) ปัญญา (พุทธิ) อารมณ์ (จิตตะ) อหังการ (อัสมิตะ) — เหล่านี้ที่ตื่นตัวอยู่ภายในในลักษณะละเอียดหรือบริสุทธิ์อย่างยิ่ง
🔽 ในทางตรงกันข้าม “อสัมปชัญญะ” จึงหมายถึง ประสบการณ์อภิจิตที่รู้ได้ด้วย ‘สหัชญาณอันบริสุทธิ์’ หรือ ‘การหยั่งรู้’ — ✨#การที่วิญญาณรับรู้โดยตรงด้วยการ_เป็นหนึ่งเดียวกับอารมณ์แห่งการทำสมาธิ✨ — ข้ามพ้นหลักการใด ๆ ของธรรมชาติ ที่จะเข้ามาก้าวก่าย ‘สหัชญาณ’ จึงเป็นการรู้สิ่งจริงอย่าง “ซึ่ง ๆ หน้า” โดยไม่มีสิ่งใดเข้ามาก้าวก่าย★
★ “แต่เมื่อความสมบูรณ์มาถึงแล้วที่เป็นเพียงบางส่วนนั้นก็จะสูญไป... เพราะว่าเวลานี้เราเห็นสลัว ๆ เหมือนดูในกระจก แต่ในเวลานั้นจะเห็นแบบหน้าต่อหน้า เวลานี้ข้าพเจ้ารู้เพียงบางส่วน แต่เวลานั้นข้าพเจ้าจะรู้แจ้งเหมือนพระองค์ทรงรู้จักข้าพเจ้า”
(1 โครินธ์ 13:10, 12)
ปตัญชลีกล่าวว่า “อสัมปชัญญะ” เป็นผลของ สังสการ (อารมณ์) แห่ง “สัมปชัญญสมาธิ” ที่ยังเหลืออยู่ — พูดอีกอย่างได้ว่า การทำ “สัมปชัญญสมาธิ” ให้ลึกขึ้น ๆ อย่างสม่ำเสมอ #ผลสุดท้ายที่ได้รับคือ_การข้ามพันสู่ภาวะ “อสัมปชัญญสมาธิ” และ ไม่ถูกต้องถ้าจะกล่าวถึงภาวะนี้ว่า 💢เป็น “สมาธิที่ไม่รู้สึกตัว”💢
🛑 จริง ๆ แล้ว ‘สัมปชัญญะ’ หมายถึง “#รู้อย่างถูกต้อง_หรือ_รู้อย่างถ้วนทั่ว” ซึ่งไม่ใช่ลักษณะตรงข้ามกับ ‘อสัมปชัญญะ’ เพราะ #ในความเป็นหนึ่งเดียว_ระหว่าง_ผู้รู้_กับ_การรู้นั้น ✨ไม่มีอะไรที่ต้องรู้✨ #ผู้ภักดี_เป็นอารมณ์แห่งการภาวนาของเขาเอง “อสัมปชัญญสมาธิ” #จึงเป็นภาวะการรู้_และการประจักษ์แจ้งขั้นสูงสุด ซึ่งห่างไกลจาก ‘การไร้สัมปชัญญะ’ มากนัก
1
◾‘สัมปชัญญ’ กับ ‘อสัมปชัญญ’ สมาธิ◾
ปตัญชลีแบ่ง “สัมปชัญญสมาธิ” ออกเป็น (4) ขั้นตอน★ (★โยคะสูตร 1:17)
1️⃣ สวิตรกะ (“ยังมี ความสงสัย หรือ การคาดเดา”) : สหัชญาณปนไปกับจิตที่คิดแย้งสงสัย
2️⃣ สวิจาระ “ใช้เหตุผล หรือ ครุ่นคิด” : สหัชญาณปนไปกับปัญญาแยกแยะ
3️⃣ สานันทะ (“เกิดความเบิกบาน”) : จิตตะหรืออารมณ์เบิกบานตีความสหัชญาณภายใน
4️⃣ สัสมิตา (“เกิด ความเป็นฉัน หรือ ความเป็นปัจเจก”) สหัชญาณปนกับความเป็นอยู่อันบริสุทธิ์
ทั้ง (4) ภาวะนี้ ซึ่งเกิดหลังจากการ “เพ่งสู่ภายใน” (ปรัตยาหาระ) #เป็นผลที่เกิดจากการเพ่งอย่างลึก (ธารณะ) หรือ #การรู้อภิจิตที่จำกัดอยู่กับกาย
เมื่อผ่าน “สัมปชัญญสมาธิ” ทั้ง 4️⃣ ขั้นตอนนี้ไปสู่ภาวะที่สูงขึ้น โยคีก็จะเข้าถึง “อสัมปชัญญสมาธิ” ซึ่งจะ #เกิดขึ้นในสมาธิลึก (ธยาน) ซึ่งยังเพ่ง (ธารณะ) ต่อไปอย่างไม่วอกแวก จากนั้นก็เข้าถึง #อารมณ์แห่งการภาวนา (เช่น ‘ความคิดเกี่ยวกับพระเจ้า’ หรือ ‘การสำแดงของพระเจ้า’) #ซึ่งสำแดงไม่แค่ในกาย_ทว่าสำแดงในทุกที่และทุกกาล — เมื่อพ้นไปจากภาวะเหล่านี้ “ในการหยั่งรู้ขั้นก้าวหน้าขึ้นไป” ก็เป็นที่เข้าใจกันว่า สัมปชัญญะ กับ อสัมปชัญญะ ก็คือ สาวิกัลปะ กับ นิรวิกัลปะ สมาธิ นั่นเอง
🛑 ปตัญชลีกล่าวว่า การเข้าถึง “สมาธิขั้นสูงสุด” เป็นไปได้โดย “#การทำสมาธิอย่างลึกซึ้งด้วยศรัทธาต่ออิศวร (พระเจ้า) (1:23)... #สัญลักษณ์ของพระองค์_คือ_🕉️โอม” (1:27)
(มีต่อ)
บันทึก
1
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ภควัทคีตา เล่ม 1 บทที่ 1
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย