Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คีตาแห่งสยาม
•
ติดตาม
26 ก.ย. 2021 เวลา 04:13 • หนังสือ
✴️ บทที่ 1️⃣ ความท้อแท้ของอรชุน (ตอนที่ 42) ✴️
🌸 “สังข์” : พลังสั่นสะเทือนภายในสนามของการต่อสู้ในสมาธิ 🌸
⚜️ โศลกที่ 1️⃣5️⃣➖1️⃣8️⃣ ⚜️ (ตอนที่ 3)
หน้า 127 – 130
❇️ พิจารณาโศลกที่ 1️⃣5️⃣➖1️⃣8️⃣ ตามหลักโยคะศาสตร์ : ประสบการณ์ที่จักระในไขสันหลัง ❇️
โศลกที่ 1️⃣5️⃣➖1️⃣8️⃣ ดังที่กล่าวมาพิจารณาได้ดังนี้ (แรกสุดจะอธิบายความสำคัญของสังข์ของปาณฑพห้าพี่น้อง ดังที่กล่าวไว้ในโศลกที่ 1️⃣5️⃣ กับ 1️⃣6️⃣ ในแง่ “ความก้าวหน้าของการหยั่งรู้จิตวิญญาณ” ยิ่งกว่าจะพูดถึงลำดับดังที่กล่าวไว้ในโศลก)
🟥 สหเทพ กับ สังข์ชื่อ ‘มณีบุษปก’ (“สิ่งซึ่งสำแดงด้วยเสียงของมันเอง”)★ เป็นตัวแทนของ ‘ธาตุดิน’ ใน ‘จักระก้นกบ’ (มูลาธารจักระ)(1) ในไขสันหลัง — เมื่อผู้ภักดีเพ่งที่จักระนี้จะได้ยินเสียง 🕉️โอม หรือ #พลังสั่นสะเทือนแห่งจักรวาล เป็นเสียงเฉพาะเหมือนเสียงร้องของผึ้งที่หลงน้ำหวาน ผู้ภักดีจึงสงสัยว่าเสียงนี้เป็นเสียงสั่นสะเทือนของ กายหรือของเสียงทิพย์กันแน่ จึงเรียกการเพ่งในขั้นนี้ว่า ‘สวิตกสัมปชัญญสมาธิ’–“#การซึมซาบภายในที่ยังมีความสงสัยติดอยู่” จักระ(1)นี้ เป็นที่อยู่ของสมาธิจิตภายใน ‘ขั้นแรก’
★ ความสำคัญเชิงอุปมานี้ไม่พบในคำแปลตรงตัว คือ มณี (เพชร) กับ บุษป (ดอกไม้) แต่พบใน รากภาษาสันสกฤต มนัส “ส่งเสียง” กับ ปุส “คลี่ หรือ แสดง”
เหตุผลและการคาดเดาของนักปราชญ์ อาจสรุปลงที่การตีความตามตัวอักษรของคำที่ฤษีวยาสะใช้ในคีตา แต่ความหมายที่ลึกซึ้งมักซ่อนอยู่ในถ้อยคำนั้น – แม้แต่พระเยซูก็ทรงซ่อนความจริงไว้ในอุปมาอุปไมย และอัครสาวกจอห์นก็ซ่อนความหมายการหยั่งรู้ของท่านในรูปอุปมาอุปไมยในหนังสือวิวรณ์ของนักบุญจอห์น การตีความตามตัวอักษรนั้นเพื่อแรงบันดาลใจแก่คนทั่วไป #แต่อุปมาอุปไมยที่ซ่อนอยู่นั้น_สำหรับผู้ปฏิบัติโยคะศาสตร์อย่างจริงจัง
🟧 นกุล กับ สังข์ชื่อ ‘สุโฆษ’ (“ซึ่งให้เสียงหวานชัดเจน”) เป็นตัวแทนของ ‘ธาตุน้ำ’ ซึ่งสำแดงใน ‘จักระกระเบนเหน็บ’ (สวาธิษฐานจักระ)(2) — เมื่อผู้ภักดีเพ่งที่จักระ(2)นี้ จะข้ามพ้นภาวะจิตที่สงสัยสู่ภาวะที่เกิดปัญญามากขึ้น มีความมั่นใจมากขึ้น เขาฟังเสียงทิพย์ที่ประเสริฐยิ่งกว่า เสียงซึ่งไพเราะราวเสียงขลุ่ย #ความสงสัยหมดไป_ปัญญาของเขาเริ่มเข้าใจธรรมชาติของเสียงนี้ ภาวะนี้เรียกว่า ‘สวิจารสัมปชัญญสมาธิ’ หรือ “#การซึมซาบภายในซึ่งมีปัญญาและเหตุผลนำ”
🟨 อรชุน (ในที่นี้เรียกด้วยนาม ธนัญชัย “ผู้มีชัยชนะเหนือทรัพย์สิน”) กับสังข์ชื่อ ‘เทวทัตต’ (“ซึ่งให้ความเบิกบาน”)★ เป็นตัวแทนของ ‘ธาตุไฟ’ ใน ‘จักระบั้นเอว’ (มณีปุระจักระ)(3) — เมื่อผู้ภักดีเพ่งที่จักระ(3)นี้ เขาจะได้ยินเสียงทิพย์เหมือนเสียงพิณ หรือเสียงวีณา เมื่อจิตคลายความสงสัยและเกิดปัญญาแล้ว #เขาจะเข้าถึงภาวะการหยั่งรู้ตน ซึ่งเสียงที่แจ่มชัดกับธรรมชาติที่แท้จริงของมันจะทำให้เกิด #ความเบิกบานซึมซ่านอยู่ภายใน หรือ ‘สานันทสัมปชัญญสมาธิ’
★ เทวทัตต แปลตามตัวว่า “ของขวัญจากพระเจ้า” ในความเปรียบนี้ ความสำคัญอยู่ที่หนึ่งในหลาย ๆ ความหมายของรากศัพท์สันสกฤต เทวะ ทิวะ ซึ่งหมายความว่า “ดีใจ หรือ ยินดี”
🟩 ภีมะ กับ สังข์ชื่อ ‘เปาณฑระ’ (ซึ่งทำให้ภาวะต่ำช้า “แหลกสลาย”)★ เป็นตัวแทนของ ‘ธาตุลม’ หรือ ‘พลังชีวิตในจักระลำตัว’ (อนาหตะจักระ)(4) — เมื่อผู้ภักดีเพ่งที่จักระ(4)นี้ เขาจะได้ยินเสียง 🕉️โอม “สัญลักษณ์แห่งพระเจ้า” เป็นเสียงลึกยาวราวเสียงระฆังทิพย์ ‘ภาวะจิต’ ‘ปัญญา’ และ ‘การรู้’ #สลายไป “ผู้ภักดีเข้าสู่ภาวะซาบซ่านด้วยสหัชญาณปนไปกับจิตอหังการ” ซึ่ง #ไม่ใช่กายอหังการ_หากแต่เป็น_ภาวะปัจเจกอันบริสุทธิ์ หรือ “ฉันคือ (I AM)” นี่คือภาวะที่เรียกว่า ‘สัสมิตสัมปชัญญสมาธิ’
★“จากรากสันสกฤต ปุณฑ แปลตามตัว “ป่นให้เป็นผง” ในที่นี้คือ แตกทำลาย
🟦 ยุธิษเฐียร กับ สังข์ชื่อ ‘อนันตวิชัย’ (ซึ่งพิชิตอย่างไม่จำกัด) เป็นตัวแทนของ ‘อากาศธาตุ’ ที่ ‘จักระคอ’ บนไขสันหลัง (วิศุทธจักระ)(5) — เมื่อผู้ภักดีเพ่งที่จักระ(5)นี้ เขาจะได้ยินเสียง 🕉️โอม #พลังสั่นสะเทือนทั่วจักรวาล_ซึ่งควบคุมนิรันดรภาพ_และอนันตภาพ เสียงนี้เหมือนเสียงฟ้าคำรน หรือเสียงกึกก้องแห่งท้องมหาสมุทร เมื่อถึงขั้นนี้ 4️⃣ ภาวะที่เกิดขึ้นก่อนแล้ว ‘จิต’ (มนัส) ‘ปัญญา’ (พุทธิ) ‘การรู้’ (จิตตะ) และ ‘อหังการ’ (อสมิตา) #จะสลายไป – #เกิดญาณรู้อันบริสุทธิ์_อยู่กับความเกษมอย่างไร้ขีดจำกัด ภาวะนี้เรียกว่า ‘อสัมปชัญญสมาธิ’
แม้ว่าตอนนี้ #การจำได้หมายรู้ในจิตมนุษย์_ดับไปแล้ว แต่ ‘อสัมปชัญญสมาธิ’ #ก็ไม่ใช่การไร้สัมปชัญญะ_ทว่าเป็นการเข้าถึงญาณอันบริสุทธิ์_ด้วยการหยั่งรู้ตน — เมื่อผู้ภักดีก้าวข้าม “ความเป็นฉัน” หรือ “สำนึกความเป็นปัจเจก” ไปได้ ✨จิตของเขาก็จะเป็น “หนึ่งเดียว” กับพลังสั่นสะเทือนแห่ง🕉️โอมในทุกที่ #ขยายจากกายเล็กๆ_สู่อนันตภาวะ จิตอันเกษมนี้แผ่ไปทุกที่ทุกกาล✨
🟪 และแล้วศรีกฤษณะ (ในที่นี้เรียกด้วยนาม หฤษีเกศ “ผู้เป็นนายเหนืออินทรีย์”) ทรงเป่าสังข์ชื่อ ‘ปาญจชันย์’ (“ซึ่งทำให้เกิดธาตุทั้งห้า”) เสียงนั้น #เป็นการผสานกันระหว่างเสียงในจักระล่างๆ_ทั้งห้าจักระ นี่คือพลังสั่นสะเทือนของ🕉️โอม ที่ไร้ความแตกต่างอย่างแท้จริง เสียง “ดุริยางค์” ทั้งห้าแห่ง ประณพ นี้ได้ยินที่ ‘จักระร่วมท้ายสมอง’ กับ ‘จิตแห่งพระคริสต์’ (อาชญาจักระ)(6)
เมื่อถึงขั้นนี้ผู้ภักดีจะยิ่งเกษมสุขอยู่ใน ‘สวิกัลปสมาธิ’ #เข้าถึงการหยั่งรู้พระเจ้าอย่างบริบูรณ์_ในภาวะการรังสรรค์แห่งพระองค์ ซึ่งสำแดงเป็นพลังสั่นสะเทือนแห่ง🕉️โอม — “ในปฐมกาล ✨พระวาทะ✨ (พลังสั่นสะเทือนแห่งการเนรมิตสร้าง – ‘พระวิญญาณบริสุทธิ์’ ‘อาเมน’ หรือ ‘โอม’) ดำรงอยู่ และพระวาทะทรงอยู่กับพระเจ้า และพระวาทะทรงเป็นพระเจ้า”★ (★ จอห์น 1:1) การปรับเข้าหาพระเจ้าด้วย🕉️โอม #จะยกจิตสู่จิตแห่งพระคริสต์ (ญาณปัญญาแห่งพระเจ้า) ซึ่ง #มีอยู่ทุกแห่งหน
🌈 ด้วยจิตแห่งพระคริสต์นี้ โยคีผู้ก้าวหน้าจะขึ้นสู่ ‘จิตจักรวาลที่จักระสูงสุดในสมอง’(7) “ไม่มีใครมาถึงพระบิดา (จิตจักรวาล) ได้นอกจากจะมาทางเรา (ทางพระบุตร) หรือ จิตแห่งพระคริสต์”★ (★ จอห์น 14:6) — คัมภีร์ฮินดูแสดงสัญลักษณ์ภาวะ “ตรีเอกานุภาพ” นี้ด้วย ‘โอม’ ‘ตัต’ ‘สัต’ – “พลังสั่นสะเทือนแห่งพระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ กุฏัสถะ หรือจิตแห่งพระคริสต์” กับ “พระเจ้า หรือ จิตจักรวาล”
เมื่อผู้ภักดีเข้าถึง ‘จิตจักรวาลที่จักระสูงสุดในสมอง’ (สหัสราระ)(7) ได้ตามเจตจำนง และอยู่ในภาวะนั้นได้นานเท่าที่ต้องการ #ไม่นานเขาก็จะเข้าสู่ภาวะเกษมสุขอย่างยิ่ง_หรือ_ภาวะที่ไร้ความแตกต่างอย่างแท้จริง – ‘นิรวิกัลปสมาธิ’
เมื่อโยคี “เข้าถึงความเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า” #ในภาวะอันเลิศนี้_ที่จิตยกเข้าสู่ ‘จักระในท้ายสมอง’ (อภิจิตแห่งวิญญาณบริสุทธิ์)(6) ‘จักระระหว่างคิ้ว’ (กุฏัสถะ หรือ จิตแห่งพระคริสต์)(6) และ ‘จักระในสมอง’ (จิตจักรวาล)(7) — ท่านจะเข้าใจได้ว่า : สัมปชัญญะ กับ อสัมปชัญญะ ก็คือ สวิกลปะ กับ นิรวิกัลปสมาธิ นั่นเอง
🔽 ใน ‘สัมปชัญญสวิกัลปสมาธิ’ นั้น ความสงสัย (สวิตรกะ) ในพระเจ้า #ไม่ใช่อยู่ในภาวะเชิงลบ_หากแต่เป็นศรัทธาที่เจือด้วยความฉงนสนเท่ห์ “นี่คือพระเจ้าแน่หรือ นี่คือพระองค์ผู้ทรงนิ่งเงียบ และอยู่ในจักรวาลนี้อย่างไม่มีใครเห็น แล้วในที่สุดพระองค์ก็มาหาเราอย่างนั้นรึ” การใช้เหตุผลคิดใคร่ครวญ (สวิจาระ) เป็นการเห็นธรรมชาติหนึ่งของพระเจ้าในหลาย ๆ การสำแดงของพระองค์ — ความรักแห่งจักรวาล ความเกษมสุข ปัญญา และ ฯลฯ
🔼 ความเกษม (สานันทะ) คือ #รสความเกษมที่ไม่อาจพรรณนา_ขณะรวมเป็นหนึ่งกับพระเจ้า ผู้ทรงดำรงอยู่ตลอดกาล ทรงรู้ตลอดกาล และทรงความเกษมใหม่ ๆ ตลอดกาล — ในภาวะ ‘สมิตา’ นั้น #ผู้ภักดีรู้สึกได้ว่าตัวตนของเขาขยายไปในทุกอณูอากาศ_ราวกับสิ่งเนรมิตสร้างทั้งหลาย_คือกายของเขาเอง นี่เป็น “ความสงบสูงสุด” ที่ผู้ภักดี #เป็นเหมือนกระจก_ที่สะท้อนทุกสิ่ง — “เมื่อผู้ภักดีอยู่กับภาวะจิตจักรวาลอยู่กับพระเจ้าในทุกที่ทุกกาล” #แม้เมื่อเขากลับสู่มนินทรีย์_และกิจกรรมทางวัตถุแล้ว เขาได้เข้าถึง ‘อสัมปชัญญนิรวิกัลปสมาธิ’
.
และตอนนี้ คีตาโศลกที่ 1️⃣7️⃣ กับ 1️⃣8️⃣ ได้เอ่ยถึงนักรบปาณฑพคนสำคัญคนอื่น ๆ ซึ่งได้อธิบายความสำคัญไว้แล้วในการตีความโศลกบทต้น ๆ ที่ผ่านมา
นักรบฝ่ายธรรมะเหล่านี้ ซึ่งนำโดยกฤษณะกับพี่น้องปาณฑพทั้งห้า ต่างก็ได้เป่าสังข์ของตน ผู้สนับสนุนเหล่านี้คือ ‘นาฑี’ หรือ ‘กระแสปราณ’ ซึ่งพลังสั่นสะเทือนทำให้เกิดเสียงในลักษณะต่าง ๆ เช่นกัน — “พลังสั่นสะเทือนระหว่างทำสมาธิหันไปสู่พระเจ้า” #เพื่อให้เกิดพลังวิญญาณในกายและจิต_และดึงจิตกลับสู่ภายในสู่การหยั่งรู้ตน
คนทั่ว ๆ ไปเมื่ออ่านคำอธิบายนี้ อาจสงสัยว่าทั้งหมดนี้มันอะไรกัน❗— แต่ผู้แสวงหาความจริงที่มีธรรมอยู่ในใจ และได้ปฏิบัติ “ราชโยคะสมาธิ” อย่างถูกวิธี หรือผู้ภักดีที่ปฏิบัติ “กริยาโยคะ” แนวทางของท่านลาหิริ มหัสยะ ตามบทเรียนของ เซลฟ์ รีอะไลเซชั่น เฟลโลว์ชิพ จะรู้ได้โดยประสบการณ์ของเขาเองว่า ‘เสียงทิพย์’ เหล่านี้อาจได้ยินอย่างชัดเจน ซึ่งผู้ปฏิบัติเทคนิคโยคะสามารถพิสูจน์ได้
🛑 ข้าพเจ้าไม่สามารถให้เทคนิคเหล่านี้ไว้ในหนังสือสำหรับผู้อ่านทั่ว ๆ ไป เพราะเทคนิคนี้เป็น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และแรกสุดต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์บางอย่างที่มีมาแต่โบราณ เพื่อจะมั่นใจได้ว่าผู้รับรับไปด้วยความเลื่อมใสมั่นใจ และปฏิบัติอย่างถูกต้อง
💥 แต่อย่างไรก็ดีในหนังสือเล่มนี้ ข้าพเจ้าพยายามอธิบายทฤษฎีให้อย่างเพียงพอที่จะเสนอสนองให้แก่คนทั่วไปผู้มีปัญญา ให้เขาเห็นว่าโยคะเป็นศาสตร์ที่ปราชญ์ชาวอินเดียแต่โบราณได้จัดระบบไว้อย่างสมบูรณ์ — ในการเตรียมการเพื่อตีความภควัทคีตาอันศักดิ์สิทธิ์นี้ #ข้าพเจ้าตั้งใจและสวดภาวนาให้จิตและใจดวงใหม่ๆ_ได้ตื่นขึ้นมารับรู้ พรแห่งกาย จิต และจิตวิญญาณด้วยการมีความรู้และปฏิบัติโยคะศาสตร์อย่างถูกต้อง และเพื่อให้กำลังใจและส่งเสริมผู้ภักดีที่แน่วแน่อยู่บนเส้นทางแห่งโยคะ
(มีต่อ)
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ภควัทคีตา เล่ม 1 บทที่ 1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย