1 ม.ค. 2022 เวลา 18:37 • ประวัติศาสตร์
พาไปรู้จักกับ "เมล็ดกาแฟ" ที่มีต้นกำเนิดมาจาก "ทวีปอเมริกาใต้"
เชื่อว่า เพื่อน ๆ หลายคนคงจะเคยได้ยิน ได้ชิม หรือ ได้ดมกลิ่น ของเมล็ดกาแฟ ที่มาจากทวีปอเมริกาใต้กันมาบ้าง
1
ยกตัวอย่างประเทศที่มีชื่อคุ้นเคย อย่าง เปรู โคลอมเบีย
หรือ บางคน อาจจะรู้จักมาจากข้อมูลในแง่มุมธุรกิจ ที่เกี่ยวกับ
ผู้ผลิต และ ส่งออกกาแฟมากที่สุดในโลก คือ “ประเทศบราซิล”
งั้นวันนี้ให้พวกเรา InfoStory พาเพื่อน ๆ ไปรู้จักกาแฟจากทวีปอเมริกาใต้ กันดีกว่า !
แต่พอจะพูดถึงกาแฟจากทวีปอเมริกาแล้ว
จะกล่าวถึงเพียงทวีปอเมริกาใต้ เพียงอย่างเดียว ก็คงจะไม่ได้เนอะ
(ซึ่งพวกเราเห็นจากคอมเมนต์ในโพสก่อนหน้านี้ของกาแฟทวีปแอฟริกา มีเพื่อน ๆ หลายคนอยากรู้จักกาแฟในอเมริกากลาง ค่อนข้างเยอะเลยทีเดียว)
งั้นเอาเป็นแบบนี้ เดี๋ยวพวกเราจะขอแบ่งออกเป็น 3 ตอนย่อย สำหรับทวีปอเมริกาเลย ก็แล้วกัน
ในตอนนี้ เราจะพาเพื่อน ๆไป รู้จักกับกาแฟจากทวีปอเมริกาใต้ กันก่อน
ส่วนตอนต่อไป พวกเราจะพาเพื่อน ๆ ไปรู้จักกับ “กาแฟในทวีปอเมริกากลาง”
(เช่น Costa Rica, Nicaragua, Guatemala)
และ ปิดท้ายทวีปอเมริกาด้วย “กาแฟในหมู่เกาะแคริบเบียน และ ฮาวาย” (เช่น Cuba, Haiti, Jamaica)
งั้นไม่เสียเวลา เอาเป็นว่า ไปรับชมพร้อมภาพกราฟิกที่จะมาช่วยอธิบายสวย ๆ กันเลยดีกว่า !
หมายเหตุ : รสและกลิ่น ของกาแฟ จะขึ้นอยู่กับวิธีการแปรรูป และ ระดับการคั่ว
ตัวอย่างที่ยกมาจึงเป็นเพียงแค่ การริ้มรสส่วนใหญ่จากวิธีการแปรรูปที่นิยมในแต่ละประเทศ และ การคั่วในระดับอ่อน - กลาง
และเช่นเคย สำหรับเพื่อน ๆ ที่อยากอ่านเรื่องราวต่อเบา ๆ เชิญด้านล่างได้เลยจ้า
ถ้าหากเรานึกถึง แหล่งกำเนิดและส่งออกกาแฟชนิด Arabica
เราก็คงจะต้องนึกถึงกาแฟจากทวีปแอฟริกา โดยเฉพาะ ประเทศเอธิโอเปีย
แต่ถ้าจะให้เรานึกถึง ความหลากหลายทางด้านสายพันธุ์กาแฟ พื้นที่และสภาพภูมิอากาศในการปลูก รวมถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยว ที่ยาวนานกว่า
เรื่องนี้ ก็คงจะไม่พ้นจุดเด่นของ “ทวีปอเมริกาใต้”
และหากเราบอกว่า เมล็ดกาแฟจากทวีปอเมริกาใต้เนี่ย ถูกพูดถึงจากผู้คนส่วนใหญ่จากรอบโลก ก็คงไม่น่าแปลกเท่าไร
นั่นก็เพราะ ประเทศบราซิล ส่งออกเมล็ดกาแฟ มากถึง 35% ของตลาดกาแฟโลกเลยละ !
แต่ถ้าเราคิดว่า ตัวเลข 35% หรือ ประมาณ 1 ใน 3 เนี่ย เยอะมาก ๆ แล้ว…
เราต้องขอบอกว่า ส่วนแบ่งตลาดของบราซิลเนี่ย ถูกแย่งออกไปเยอะมากเลยนะ เมื่อเทียบกับอดีต
เพราะหากย้อนกลับไปราว ๆ 150 ปีก่อนเนี่ย
เมล็ดกาแฟจากประเทศบราซิล มีส่วนแบ่งจากตลาดกาแฟทั่วมากเกือบ 80% เลยละ !
สาเหตุที่ทำให้ส่วนแบ่งในอดีต สูงมากขนาดนั้น
ว่ากันว่า ส่วนหนึ่งมาจากการขยายอาณานิคม และอำนาจผูกขาดของสเปน และ โปรตุเกส ผ่าน เฟรนช์เกียนา (French Guiana) หนึ่งในอาณานิคมของฝรั่งเศส
รวมถึงการใช้แรงงานทาส (ทั้งในประเทศ และ นำเข้าแรงงานชาวแอฟริกัน)
ในการผลิตอย่างเข้มข้น ในประเทศบราซิล อีกด้วยเช่นกัน
ต่อมา พอกาลเวลาผ่านไป ในช่วงปี ค.ศ. 1830 ส่วนแบ่งการตลาดกาแฟของประเทศบราซิล ก็ค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ จนมาอยู่ที่ราว ๆ 40% ของโลก แต่ก็ยังถือว่า “มากที่สุด” อยู่ดี
เพื่อน ๆ พอทราบไหม ว่าเป็นเพราะอะไร ?
โอเค !
คือ เท่าที่เราค้นหามา สาเหตุจะถูกโยงไปถึงเรื่องราวของ อาณานิคมของอังกฤษ ที่มีการยกเลิกระบบ การสานสัมพันธ์ด้วย การค้าแรงงานทาส ระหว่างประเทศบราซิล และ แรงงานในประเทศแถปแอฟริกา
นั่นจึงส่งผลให้ เจ้าตลาดการส่งออกเมล็ดกาแฟอย่างบราซิล (แน่นอนว่าภายใต้เบื้องหลังอีกนานาประเทศ)
ก็ได้รับผลกระทบในเรื่องอุตสาหกรรม และ แรงงานการผลิต เข้าไปเต็ม ๆ
แต่อย่างไรก็ดี บราซิล ก็ไม่ได้ตกหล่นหายไปจากอุตสาหกรรมการกาแฟ มากไปกว่านี้
และ แน่นอนว่าประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ก็ไม่ยอมด้วยเช่นกัน
เรื่องนี้ ก็คงต้องพูดถึงเรื่องของ เล่ห์เหลี่ยมการค้า ของพ่อค้าในทวีปอเมริกาใต้
ที่ทำให้ราคากาแฟ หรือ การส่งออกกาแฟจากอเมริกาใต้ ยังคงเป็นที่นิยม (บ้างก็มีการผูกขาดบ้าง)
ยกตัวอย่างที่ทำให้เห็นภาพ ก็เช่น สัญลักษณ์ของกาแฟแห่งประเทศโคลอมเบีย อย่าง “Juan Valdez”
Juan Valdez สัญลักษณ์ของกาแฟโคลอมเบีย
เรื่องราวของ Juan Valdez มันเป็นอย่างนี้
Juan Valdez ว่ากันว่าเป็นตัวละครสมมุติ ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำการตลาดของกาแฟโคลอมเบียโดยเฉพาะ
เกิดจากเกษตรกร พ่อค้า 3 คน ที่ออกมาสร้างแบรนด์ และ เรื่องของกาแฟชาวโคลอมเบีย (ของตัวเอง)
โดยพวกเขามีการสร้างภาพลักษณ์ ที่อาจเด่นเกินจริงอย่าง
“กาแฟจากขุนเขา’ (Mountain Grown Coffee) ต้องเป็น กาแฟโคลอมเบีย 100% เท่านั้น”
สิ่งนี้ ทำให้กลุ่มคนที่เรียกใช้ชื่อว่า “Juan Valdez” มีตัวตน และ โฆษณาให้ กาแฟจากประเทศโคลอมเบียมีความแตกต่างจากประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกได้อย่างชัดเจน
เพื่อน ๆ เชื่อไหมว่า การตลาดที่ดูเหมือนจะง่ายๆ แบบนี้เนี่ย
แต่ในอดีตกลับได้ผลที่ดีเอาซะมากๆเลยนะ
ต่อมา เรื่องราวของ Juan Valdez จากประเทศโคลอมเบีย จึงได้ทำให้เกิดองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรของโลกอย่าง
“Federación Nacional de Cafeteros” หรือ FNC ได้ถือกำเนิดขึ้นมาในปี ค.ศ. 1927
ก่อตั้งมาเพื่อ จับตาดูพฤติกรรมอันไม่เหมาะสม หรือ ไม่เป็นธรรม จากการค้า ปั่นป่วนราคา หรือ ผูกขาดกาแฟ รวมถึงเข้ามาดูในเรื่องของคุณภาพจากแหล่งผลิตกาแฟ นั่นเอง
จริง ๆ เรื่องราวมียาวกว่านี้อีกเยอะเลย
แต่เราขออนุญาตหยุดตรงนี้ก่อน (เดี๋ยวเพื่อนๆ เริ่มเบื่อกันไปก่อน แห่ะๆ)
ก็พอหอมปากหอมคอกับเกร็ดความรู้เบาสมอง
ที่พวกเราหยิบเลือกมาเล่าให้กับเพื่อน ๆ อ่านกัน
ปิดท้ายกันด้วยเกร็ดข้อมูลที่น่าสนใจ
สายพันธุ์ที่นิยมปลูกในทวีปอเมริกาใต้ ก็จะมีหลากหลายเลยละ
ยกตัวอย่างเช่น Bourbon, Mondo Novo, Caturra, Typica และ Castillo
ซึ่งจะมีบางสายพันธุ์ ที่มีการนำเข้าไปเพาะปลูกในทวีปแอฟริกา อีกด้วยนะ
แหล่งอ้างอิง
- หนังสือ The World Atlas of Coffee โดย James Hoffmann

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา