Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
InfoStory
•
ติดตาม
1 ม.ค. 2022 เวลา 00:45 • ไลฟ์สไตล์
ระดับการคั่วกาแฟ "LIGHT VS MEDIUM VS DARK" แตกต่างอย่างไร ?
ก่อนอื่นเลย พวกเราต้องขอ "สวัสดีปีใหม่ 2022" ขอให้เพื่อน ๆ ผู้ติดตามทุกท่านใน Blockdit มีสุขภาพแข็งแรงและพวกเราก็ขอให้เป็นปีที่เพื่อน ๆ มีรอยยิ้มและความสุขกันเยอะ ๆ ด้วยนะคร้าบบ
ปีใหม่นี้ มื้ออาหารเช้ามื้อแรกของเพื่อน ๆ คืออะไรเอ่ย ?
สำหรับพวกเรา ขอเริ่มเช้านี้ด้วยครัวซองต์แฮมชีสกับกาแฟดำคั่วเข้มสักแก้ว
ไม่ว่าจะเป็นวันขึ้นปีใหม่หรือวันธรรมดาเนี่ย มื้ออาหารเช้าก็จะเป็นหนึ่งมื้อที่เราจะขาดการดื่มกาแฟไม่ได้เลย...
ทีนี้พอพูดถึงเรื่องกาแฟ ก็คงจะต้องพูดเรื่องราวของ เมล็ดกาแฟ ที่ไม่ว่าเราจะซื้อเป็นเมล็ดกลับมาบดเอง หรือ ไปสั่งกาแฟตามร้านกาแฟ ที่มีเมล็ดให้เลือกหลากหลาย
นอกจากชื่อชนิดและสายพันธุ์ของเมล็ดกาแฟ ก็จะมีข้อมูลอีกหนึ่งอย่างที่เรามักจะเห็นคู่กัน นั่นคือก็คือ ระดับการคั่วของเมล็ดกาแฟชนิดนั้น ๆ นั่นเอง
เช่น Light Roast, Medium Roast หรือ Dark Roast
แล้วระดับการคั่ว 3 แบบหลักนี้ เป็นอย่างไรกันบ้างละ ?
งั้นวันนี้ ให้พวกเรา InfoStory พาเพื่อน ๆ ไปรู้จัก ในแบบของฉบับมือใหม่เริ่มดื่มกาแฟกันกับภาพ Infographic สวย ๆ ด้านล่างนี้ ได้เลย !
สำหรับเพื่อน ๆ ที่อยากอ่านสาระเบาสมอง สามารถอ่านต่อได้เลยจ้า
โดยวันนี้ พวกเราอยากจะนำเสนอเรื่องราวความเป็นมาของการคั่วกาแฟ
การคั่วกาแฟ อย่างที่เราทราบกัน คือ การนำเจ้าตัวเมล็ดกาแฟดิบ (green bean) มาทำการคั่ว เพื่อให้กาแฟอยู่ในรูปแบบที่สามารถรับประทานได้นั่นเอง
ซึ่งระดับของการคั่วก็จะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบหลัก ตามที่พวกเรานำเสนอไปในรูปภาพ
และด้วยระดับการคั่วที่แตกต่างกันนี้เอง จึงทำให้เมล็ดกาแฟเกิดจุดเด่น หรือ เอกลักษณ์ ออกมา
หรือ อาจจะเกิดรสชาติเปรี้ยว หวาน ขม ก็ขึ้นอยู่กับทั้งชนิดของกาแฟ และ ระดับการคั่ว
ว่าแต่.. เพื่อนๆ พอจะทราบกันไหมว่า การคั่วกาแฟเนี่ย มันเริ่มมาตั้งแต่ตอนไหน ?
ต้องเริ่มจากว่า มนุษย์เราเนี่ย มีการบริโภคกาแฟกันมาตั้งแต่ 1,000 กว่าปีก่อนแล้วละ
แต่ทีนี้ สำหรับวิธีการคั่วเมล็ดกาแฟอย่างเป็นระบบระเบียบ มันก็พึ่งจะมีในช่วงศตวรรษที่ 15 (หรือในราว ๆ ปี ค.ค. 1400 กว่าๆ)
ว่ากันว่า วิธีการคั่วกาแฟในสมัยแรก ๆ ในช่วงศตวรรษที่ 15 ได้มีการบันทึกว่า เป็นที่นิยมมากๆในจักรวรรดิออตโตมัน และ จักรวรรดิเปอร์เซีย
ซึ่งวิธีที่พวกเขาคั่วกาแฟ ก็คือการนำเมล็ดกาแฟดิบ ไปคั่วลงในกระทะก้นตื้นบนเตาไฟ
(ถ้าให้เรานึกภาพ คงจะคล้ายๆกับการคั่วเกาลัด แบบผัดในกระทะแถวเยาวราช)
แต่...ข้อเสียจากการคั่วในกระทะเนี่ย มันทำให้เราสามารถคั่วกาแฟได้ในปริมาณที่น้อย
ต่อมาเมื่อการดื่มกาแฟเริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้าง โดยเฉพาะในวงการค้าขาย ประมาณช่วงศตวรรษที่ 17
ชาวอียิปต์ และ ชาวยุโรป เขาก็เริ่มประดิษฐ์เครื่องคั่วกาแฟ ที่เป็นหม้อแบบทรงกระบอก (Cylinder Roaster) ซึ่งทำมาจากเหล็กและทองแดง
จุดเด่นที่ตอบโจทย์คือ สามารถคั่วเมล็ดกาแฟได้ในปริมาณมาก
ที่สำคัญคือ ไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานคนในการกวนหรือคนเมล็ดกาแฟ เพราะเจ้าเครื่องจักรตัวนี้ สามารถทำการหมุนได้จากการติดตั้งมือหมุน ซึ่งทำให้เมล็ดกาแฟทุกเมล็ด สามารถได้รับความร้อนในอย่างสม่ำเสมอ นั่นเอง
ว่ากันว่า เครื่องคั่วกาแฟแบบกระบอก เครื่องแรก ถูกประดิษฐ์ในกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ ในช่วงปี ค.ศ. 1650
ก่อนที่ชาวยุโรปอย่าง ฝรั่งเศส ดัตช์ อิตาลี และ อังกฤษ จะนำเจ้าเครื่องคั่วกาแฟแบบกระบอกสูบ มาพัฒนาต่อ นั่นเอง
จนกระทั่งมาถึงในช่วงศตวรรษที่ 19 เมื่อกาแฟ เริ่มเข้าสู่ระดับอุตสาหกรรมแล้ว
คือ บางประเทศเนี่ย การส่งออกเมล็ดกาแฟ อาจกลายเป็นสินค้าส่งออกหลักของประเทศ รวมไปถึงการสร้างอาชีพ ให้กับชาวพื้นเมืองเลยทีเดียว
จึงทำให้ในเวลาต่อมา นวัตกรรมของเครื่องคั่วเนี่ย ก็ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการจดสิทธิบัตรแสดงความเป็นเจ้าของเครื่องคั่วกาแฟเชิงพาณิชย์กันมาก ทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป
เราจะเห็นได้ว่า ในช่วงนั้นเนี่ย อุตสาหกรรมกาแฟเนี่ย ไม่ได้มีแค่การนำเข้า-ส่งออก เมล็ดกาแฟแต่เพียงอย่างเดียว แต่เครื่องคั่วกาแฟ ก็กลับเป็นที่นิยมมาก ๆ พอกัน
พอพูดถึงเรื่องเครื่องคั่วกาแฟที่เป็นที่นิยมเนี่ย…
หากเรามองมาที่ปัจจุบัน มันก็อาจจะดูไกลตัวพอสมควรเลยนะ (สำหรับนักดื่มกาแฟทั่วไป หรือ มือใหม่ อย่างเรา)
การคั่วกาแฟทานเองที่บ้าน ก็คงจะดูเป็นเรื่องที่ลำบากอยู่พอสมควร
เพราะในปัจจุบัน การหาซื้อเมล็ดกาแฟที่คั่วมาสำเร็จแล้ว หรือ แม้กระทั่งบดมาเป็นผงกาแฟ ก็หาซื้อได้ง่าย และอาจจะไม่ต้องใช้ต้นทุนที่สูง หรือเวลาที่ต้องเสียไปนาน สำหรับการคั่วเองที่บ้าน
แต่เพื่อน ๆ ทราบไหมว่า เทรนด์การคั่วกาแฟเองที่บ้าน (Home Roaster) ก็เคยได้รับความนิยมเอามากๆ เลยนะ ในสหรัฐอเมริกา ในช่วงปี ค.ศ. 1860
ใช่แล้วละ…
คือ เหล่าผู้บริโภคชาวอเมริกันเนี่ย ซื้อเมล็ดกาแฟดิบ เพื่อกลับมาคั่วเองที่บ้านนี่ละ ถึงแม้ว่าจะคั่วได้ในปริมาณที่น้อยก็ตาม
นั่นก็เพราะเหล่าผู้บริโภคชาวอเมริกัน พบว่าเขาได้ประโยชน์จากการซื้อเมล็ดกาแฟดิบ ในต้นทุนที่ถูกกว่า และ ประหยัดกว่า นั่นเอง
Home Roaster ในยุคนั้น หน้าตาจะประมาณนี้
แน่นอนว่า พอเรื่องเป็นแบบนี้
มันก็สร้างปัญหาเบา ๆ ให้กับพ่อค้าผู้นำเข้าเมล็ดกาแฟที่คั่วแบบสำเร็จรูปมาแล้ว อยู่พอสมควร
เพราะว่า ผู้บริโภคดันไปซื้อเมล็ดกาแฟดิบ หรือ ไปซื้อเครื่องคั่วกาแฟขนาดเล็ก มาไว้ที่บ้านแทน
(ซึ่งหลาย ๆ คน ก็คั่วโดยการผัดในกระทะแบบง่าย ๆ ด้วยเช่นกัน)
ซึ่งพอเทรนด์การคั่วกาแฟเองที่บ้านเริ่มเป็นที่นิยมแบบนี้
ก็ได้ทำให้ผู้ประกอบการที่อยู่ในอุตสาหกรรมกาแฟเนี่ย ต้องปรับตัวหันไปผลิตเครื่องคั่วกาแฟภายในบ้าน กันมากขึ้น
(เราว่ามันก็ต้องปรับตัวเนอะ ซึ่งการปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคสมัย ก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญในยุคปัจจุบันด้วยเช่นกัน)
ตัวอย่างที่ดีก็คือ การกำเนิดเครื่องกาแฟแบบลมร้อน (Fluid-Bed Roaster) ที่ถูกคิดค้นขึ้นโดยวิศวกรเคมี ชื่อว่า ไมเคิล ชีเวตซ์ ในปี ค.ศ. 1976
ซึ่งจุดเด่นของเจ้าเครื่องนี้ สามารถต่อกับเตาแก๊ซแบบพกพาได้
ซึ่งก็เหมาะกับการคั่วกาแฟที่บ้านเลย
Fluid-Bed Roaster
โดยแนวคิดการปรับตัว ที่น่าสนใจของคุณชีเวตซ์ คือ ผู้บริโภคทุกคนไม่จำเป็นต้องเป็นมืออาชีพ หรือเป็นบาริสต้า ก็สามารถคั่วกาแฟทานเองที่บ้านได้เลย
(หรือ ถ้าเป็นในสมัยนี้ เราอาจจะมองว่า คุณชีเวตซ์ กำลังพยายามที่จะ disrupt อุตสาหกรรมการคั่วกาแฟเลยทีเดียว)
แต่อย่างไรก็ดีนะเพื่อน ๆ อย่างที่บอกว่า โลกเราหมุนอยู่ตลอดเวลา เทรนด์ไหนได้รับความนิยมมาก ก็อาจจะมีความนิยมลดน้อยลงมาก แปรผกผัน เช่นเดียวกัน...
เรื่องนี้สะท้อนได้ จากความนิยมของการคั่วกาแฟที่บ้าน (Home Roaster) ที่เริ่มได้รับความนิยมน้อยลงไปเรื่อย ๆ ในช่วงปลายปี 1980
แล้ว เป็นเพราะอะไรกันนะ…?
คำตอบก็คือ มาจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเพื่อน ๆ มากที่สุด และหาง่ายม๊ากกกที่สุด
นั่นคือ การเข้าของธุรกิจ กาแฟพร้อมดื่มสำเร็จรูป (Instant Coffee) นั่นเอง !
นั่นก็เพราะ พฤติกรรมผู้บริโภคส่วนใหญ่เปลี่ยนไปจากเดิม
พวกเขาต้องการดื่มกาแฟ เพียงแค่ต้องการได้รับสารคาเฟอีน ที่ทำให้ร่างกายตื่นตัว พร้อมทำงาน นั่นเอง
การเข้ามาของกาแฟพร้อมดื่ม ไม่ว่าจะเป็นแบบผงชงเอง หรือ แบบกระป๋อง
รวมถึงการแข่งขันอย่างดุเดือดของตลาดกาแฟ ก็ทำให้ผู้บริโภค สามารถหาซื้อได้ ในราคาที่ถูกและมีความสะดวกต่อการทานมากขึ้น
ซึ่งต่อมาประเทศในฝั่งตะวันออกอย่าง ญี่ปุ่นเอง ก็ได้พัฒนากาแฟกระป๋องที่สามารถหาซื้อได้ ในตู้กดเครื่องดื่ม ตามสถานีขนส่งต่าง ๆ
ด้วยคอนเซปต์ของความสะดวกในการทานกาแฟ "ทุกที่ทุกเวลา"
แถมจะทานอุ่นหรือทานเย็น ก็ไม่ใช่ปัญหา
(โดยผู้ผลิตกาแฟนม เวอร์ชั่นกระป๋อง ได้สำเร็จเป็นเจ้าแรกก็คือ UCC Coffee จากประเทศญี่ปุ่น ที่เราพอคุ้นหูคุ้นตากันในทุกวันนี้)
วันนี้พวกเรา InfoStory ก็จะขอจบเรื่องราวสาระเบาสมองให้กับเพื่อน ๆ มาไว้ตรงนี้ :):)
เพื่อน ๆ ท่านไหนที่กำลังเดินทางกลับจากการท่องเที่ยว พวกเราก็ขอให้เดินทางโดยปลอดภัยนะคร้าบ
สุขสันวันปีใหม่ 2022 กับเพื่อน ๆ ทุกคนอีกครั้งนะครับ
แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม
- หนังสือ The World Atlas of COFFEE
-
https://en.wikipedia.org/wiki/Coffee_roasting
-
https://www.lincolnandyork.com/blog/coffee-roasting-history
coffee
กาแฟ
ประวัติศาสตร์
25 บันทึก
16
1
17
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ส่องโลกของกาแฟ - Into the Coffee Universe
25
16
1
17
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย