Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เขียนตามใจ ทำตามชอบ
•
ติดตาม
4 ต.ค. 2021 เวลา 04:15 • สุขภาพ
🕹หลังฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ไฟเซอร์ ระวังอะไรบ้าง?🕹
1
วันนี้ 4 ตค 64เป็นวันเริ่มต้นการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดชนิด mRNA ของ บริษัท ไฟเซอร์ ให้กับเด็กนักเรียนอายุ 12 ปีขึ้นไป
ขอให้น้องๆ หลานๆ ทุกคนผ่านการฉีดวัคซีนนี้อย่างปลอดภัย
เรามาดูกันว่าต้องระวังอะไรบ้าง
ความกังวลเรื่องผลข้างเคียงของวัคซีนก็คงมีบ้างเป็นธรรมดา
ยิ่งในเด็กวัยรุ่นชาย อาย 12-16 ปี พ่อแม่อาจจะกังวลมากกว่าเด็กผู้หญิง
แต่ถ้าทราบว่าจะต้องระวังอะไรบ้าง ก็จะพบแพทย์ให้การรักษาได้โดยเร็ว
📍ต้องเฝ้าสังเกตอาการอะไรบ้างหลังฉีดวัคซีน📍
☀️ช่วง 30 นาทีแรกหลังฉีดยา นั่งรอในบริเวณที่ฉีดยา
สังเกตอาการแพ้รุนแรงที่พบได้น้อย คือ :
หายใจลำบาก หน้าบวม คอบวม
หัวใจเต้นเร็ว
ผื่นแดงขึ้นทั่วตัว
เวียนหัว อ่อนแรง
ถ้ามีอาการดังกล่าวให้รีบแจ้งกับแพทย์พยาบาลเพื่อให้การรักษาได้ทันท่วงที
☀️1 -3วันแรกหลังฉีดวัคซีน
ปวดบริเวณที่ฉีด ปวดหัว เหนื่อยอ่อน
ปวดกล้ามเนื้อ หนาวสั่น ปวดข้อ
ไข้ บวมแดงบริเวณที่ฉีด
คลื่นไส้
ต่อมน้ำเหลืองโต
ให้กินยาลดไข้แก้ปวดได้ตามอาการ ภายใน 3วันแรกอาการไข้จะค่อยๆลดลง ให้รับประทานอาหารและดื่มน้ำให้เพียงพอ
☀️3- 7 วันหลังฉีดวัคซีน
-สังเกตอาการผิดปกติ ดังนี้
💥อาการเจ็บหน้าอก หายใจไม่สะดวก
💥หายใจแล้วรู้สึกเจ็บ หรือ แน่นหน้าอก
💥รู้สึกเหนื่อยใจสั่น เป็นลมหมดสติ
💥อาการปวดจุกแน่นท้องบริเวณด้านขวาบน หรือลิ้นปี่
ถ้ามีอาการเหล่านี้ ให้รีบกลับไปปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อประเมินว่าเกี่ยวข้องกับอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหรือไม่
📌ในประเทศไทยที่เริ่มฉีดวัคซีนไฟเซอร์ ให้กับประชากรทุกอายุ ถึงวันที่ 21 กย 64 จำนวน 1 ล้านเข็ม เป็นการฉีดในผู้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี 130,000 ราย พบผู้ที่เป็นกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 3 ราย คิดเป็น 20/ 1 ล้าน ไม่มีผู้เสียชีวิต
📌จากการรวบรวมข้อมูลของ CDC ของอเมริกา ถึงวันที่ 18 สิงหาคม 2021 พบการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ หลังการฉีดวัคซีนmRNA เข็มที่ 2
62.75 ราย ต่อ 1ล้าน ในเด็กวัยรุ่นชายอายุ 12-17 ปี
ในขณะที่พบ เพียง 0.4 รายต่อ 1 ล้าน ในผู้หญิงที่อายุมากกว่า 65 ปี
☀️พบว่าผู้ป่วยอายุน้อยเกิดอุบัติการณ์ของ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis และ pericarditis ) มากกว่า โดยอายุในช่วง 12-17 ปีจะพบอาการไม่พึงประสงค์นี้สูงที่สุด
☀️และส่วนมากจะ เกิดหลังจากได้รับวัคซีนเข็มที่สอง มากกว่าเข็มที่หนึ่งอย่างชัดเจน
ดังนั้น
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ให้คำแนะนำการฉีดวัคซีนในเด็กและวัยรุ่นอายุ 12 ปีขึ้นไป ควรได้รับวัคซีน Pizer-BioNTech
สำหรับเด็กที่แข็งแรงดี
(ข้อมูล ณ วันที่ 22 กันยายน 2564)
1. เด็กและวัยรุ่นชาย รับวัคซีนเข็มที่ 1 และชะลอการให้เข็มที่ 2 ไปก่อน จนกว่าจะมีคำแนะนำเพิ่มเติม
(เนื่องจากการ ฉีดเข็ม 2 ในเด็กกลุ่มนี้ มีความเสี่ยงสูงกว่าเข็มแรก จากกล้ามเนื้อหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ซึ่งพบน้อยมาก)
2. เด็กและวัยรุ่นหญิง สามารถรับวัคซีน 2 เข็มห่างกัน อย่างน้อย 3 สัปดาห์
ซึ่งข้อมูลดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต ให้ติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด (อ้างอิง 1)
คำแนะนำเพิ่มเติมจาก
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศโทย
กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค (อ้างอิง2)
📍งดการเล่นกีฬา และการออกกำลังกายที่หักโหม 1 สัปดาห์ หลังฉีดวัคซีน📍
แนะนำให้หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหักโหมหรือแข่งขันกีฬาในช่วง 1 สัปดาห์หลังการฉีดวัคซีนชนิด mRNA (วัคซีนของไฟเซอร์ เป็นชนิด mRNA)
📍ผู้ที่เคยมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบมาก่อน การได้รับวัคซีนชนิด mRNA สามารถให้ วัคซีนชนิด mRNA ได้หากการทำงานของหัวใจเป็นปกติดี แต่หากการทำงานของหัวใจยังไม่ปกติ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
📍ในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหลังได้รับวัคซีนชนิด mRNA เข็มแรก (ก่อนวัคซีนชนิด mRNA เข็มที่สอง)
แนะนำให้ชะลอการให้วัคซีนชนิด mRNA เข็มที่สองออกไปก่อนจนกว่าจะมีข้อมูลเรื่องความปลอดภัยของวัคซีนมาก ขึ้น
ในกรณีที่พบว่าการทำงานของหัวใจเป็นปกติ อาจพิจารณาให้วัคซีนชนิด mRNA เป็นเข็มที่สองได้โดยต้องมีการให้ ข้อมูลเรื่องประโยชน์และผลข้างเคียงของวัคซีนกับผู้ป่วยและครอบครัว มีการอภิปรายเรื่องผลดีผลเสียของการฉีด วัคซีนกับแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยเพื่อประกอบการพิจารณาการตัดสินใจ
1
📍ในผู้ป่วยที่มีเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบหลังได้รับวัคซีนชนิด mRNA เข็มแรก (ก่อนวัคซีนชนิด mRNA เข็มที่สอง)สามารถ ให้เอ็มอาร์เอ็นเอวัคซีนเข็มที่สองได้หากอาการหายเป็นปกติแล้ว โดยต้องมีการให้ข้อมูลเรื่องประโยชน์และ ผลข้างเคียงของวัคซีนกับผู้ป่วยและครอบครัว และมีการอภิปรายเรื่องผลดีผลเสียของการฉีดวัคซีนกับแพทย์ผู้ดูแล ผู้ป่วยเพื่อประกอบการพิจารณาการตัดสินใจ
ภาพจาก https://theconversation.com/why-herd-immunity-may-be-impossible-without-vaccinating-children-against-covid-19-154790
สรุปและเขียนบทความโดย
พญ ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล กุมารแพทย์
อ้างอิง
1.
2. 20211001_GL_Myocarditis.pdf
2 บันทึก
11
15
11
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
COVID 19 and Vaccine Stories
2
11
15
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย