9 ต.ค. 2021 เวลา 04:07 • ความคิดเห็น
มีใครรู้บ้างว่าเวลาเห็นเครื่องหมาย ฯลฯ จริง ๆ แล้วเราต้องอ่านว่าอะไร❓
ใครที่เห็นคำถามนี้ คงจะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า เราก็ต้องอ่านว่า ไปยาลใหญ่สิ...ใช่ไหม?
ไม่ใช่ครับ☝️😌❌
1
ถูกต้องแล้วที่เครื่องหมายวรรคตอนที่เขียนว่า ฯลฯ คือไปยาลใหญ่
แต่นั่นมันคือชื่อเรียกของเครื่องหมาย มิใช่คำอ่าน
2
ก่อนจะเฉลยว่า เวลาเราอ่านเครื่องหมายไปยาลใหญ่ในหนังสือหรือเอกสาร เราควรอ่านว่าอะไรนั้น เราไปทำความรู้จักเครื่องหมายวรรคตอนนี้กันก่อนสักเล็กน้อย
ฯลฯ คือเครื่องหมายวรรคตอนที่เรียกว่า ไปยาลใหญ่หรือเปยยาลใหญ่
คำว่า เปยยาล เป็นภาษาบาลี แปลว่า ย่อ
2
เครื่องหมาย ไปยาลใหญ่ นอกจากจะเขียนในรูป ฯลฯ แล้วยังสามารถเขียนในรูป ฯเปฯ ได้อีกด้วย
9
สำหรับการใช้งาน เครื่องหมายวรรคตอนไปยาลใหญ่ จะใส่หลังหรือระหว่างข้อความที่ละไว้ว่ายังมีประเภทเดียวกันอีกมาก เช่น ผลไม้ไทยประกอบไปด้วย มะม่วง ส้มโอ แตงโม เงาะ มังคุด ฯลฯ
1
หมายถึง ผลไม้ไทยนอกจากมะม่วง ส้มโอ แตงโม เงาะ มังคุดแล้ว ยังมีอื่น ๆ อีกมาก
ส่วนเครื่องหมายวรรคตอนที่คล้ายกันอีกอย่างก็คือ ฯ ไปยาลน้อย
เปยยาลน้อยหรือไปยาลน้อย เป็นเครื่องหมายวรรคตอนที่เอาไว้ละคำที่รู้กันดีว่าต่อท้ายด้วยอะไร เพื่อไม่ต้องเขียนคำยาว ๆ ซ้ำ ๆ กัน
เช่นกรุงเทพมหานครฯ ก็เป็นที่รู้กันดีว่าย่อมาจากกรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์ เป็นต้น
4
..
1
เมื่อพอได้รู้จักเครื่องหมายไปยาลใหญ่และการใช้งานคร่าว ๆ ไปแล้ว คราวนี้ก็มาเฉลยถึงวิธีการอ่านเครื่องหมายไปยาลใหญ่ที่ถูกต้อง
วิธีการอ่านเครื่องหมายไปยาลใหญ่ในหนังสือหรือเอกสารอย่างถูกต้อง เราต้องอ่านว่า "ละ"หรือ"และอื่น ๆ "
6
เช่น ผลไม้ไทยประกอบไปด้วย มะม่วง ส้มโอ แตงโม เงาะ มังคุด ฯลฯ
เราต้องอ่านว่าผลไม้ไทยประกอบไปด้วย มะม่วง ส้มโอ แตงโม เงาะ มังคุดและอื่น ๆ
2
คำเรียกกับคำอ่านเป็นคนละคำกันเข้าใจไหมครับทุกคน🤭🙏
เกร็ดความรู้ท้ายบทความ:
หากใส่เครื่องหมาย ฯลฯ ไว้ระหว่างข้อความ เช่น จังหวัดที่ถูกน้ำท่วมได้แก่ สระบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี ฯลฯ นครราชสีมา
กรณีนี้ เราต้องอ่านเครื่องหมายไปยาลใหญ่ว่า "ละถึง"ไม่ใช่"และอื่น ๆ" นะครับ
3
ติดตามอ่านบทความได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา