12 ต.ค. 2021 เวลา 10:34
โลกเมื่อ 360 ล้านปีก่อนเป็นช่วงเวลาที่ ‘อิคทีโอสเตกา’ บรรพบุรุษของสัตว์บกได้ขึ้นมาจากน้ำ ชีวิตบนบกนั้นยากลำบากเกินกว่าสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในน้ำจะอาศัยอยู่ได้ แต่ ‘อิคทีโอสเตกา’ ก็ยังฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆจนขึ้นบกได้สำเร็จ แม้ว่ารอยเท้าแรกที่ฝากเอาไว้จะเป็นรอยเล็กๆ แต่ก็เป็นก้าวอันยิ่งใหญ่ที่บุกเบิกอนาคตของโลกใบนี้ ก้าวแรกของปลาที่ก้าวขึ้นมาบนบกนั้นได้สร้างตำนานที่มหัศจรรย์ของวิวัฒนาการเอาไว้
หลังจากที่ปลาทะเลสามารถเข้ามาอาศัยยังแม่น้ำได้พวกมันก็ได้วิวัฒนาการเป็น’เคโรเลพิส’ ซึ่งปลายุคปัจจุบันได้รับมรดกครีบ4ครีบมาจาก
เคโรเลพิส แต่ยังมีปลาอีกพวกนึงที่ใช้ชีวิตต่างจากเคโรเลพิสโดยสิ้นเชิงนั่นคือ ‘ยูสเธนอพเทรอน’ จากฟอสซิลที่พบทำให้รู้ว่ายูสเธนอพเทรอนมีโครงสร้างของครีบที่แตกต่างจากเคโรเลพิส โดยภายในครีบทั้ง 4 นั้นมีกระดูกลักษณะที่คล้ายกับนิ้วมืออยู่ 7 ท่อน ซึ่งแตกต่างจากปลาในปัจจุบันที่ไม่มีกระดูกที่ครีบ ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์จึงได้กล่าวว่า ยูสเธนอพทารอน นี่เองเป็นปลาที่บรรพบุรุษของสัตว์บก
1
ยูสเธนอพเทรอน(eusthenopteron)
ภาพแสดงกระดูกที่ครีบของ eusthenopteron
สาเหตุที่ยูสเธนอพเทรอนมีกระดูกที่ครีบสันนิษฐานได้ว่าเพราะมันใช้ครีบเป็นเหมือนแขนขาแหวกว่ายไปยังบริเวณพงไม้ใต้น้ำเพื่อหาอาหาร จากนี้ผมจะขอพาทุกท่านไปยังแม่น้ำอเมซอน ประเทศบราซิลเพื่อเจอกับปลาในปัจจุบันยังมีปลาที่มีลักษณะที่คล้ายกับยูสเธนอพเทรอนนั่นคือ ‘ปลาปอด’ ที่อาศัยอยู่ที่ก้นแม่น้ำ เนื่องจากใต้แม่น้ำจะมีออกซิเจนที่น้อย ปลาปอดจึงต้องขึ้นมาสูดอากาศบนผิวน้ำเป็นระยะ นั่นทำให้ปลาชนิดนี้มีทั้งเหงือกและปอดที่ช่วยในการหายใจ เช่นเดียวกับยูสเธนอพเทรอน จากผลการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ทำให้เชื่อว่ายูสเธนอพเทรอนก็มีปอดเช่นเดียวกัน และหลังจากนี้หลายร้อยล้านปีสัตว์สี่ขาตัวแรกก็ได้ปรากฏตัวขึ้น
ปลาปอด (lung fish)
เราจะข้ามไปยังประเทศสกอตแลนด์ซึ่งเป็นที่ที่พบฟอสซิลของสัตว์สี่ขาตัวแรก ‘เอลจิเนอร์เพตอน’ ที่มีลักษณะคล้ายกับซาลาแมนเดอร์ยักษ์ในปัจจุบัน แต่ขาของเอลจิเนอร์เพตอนมีไว้เดินใต้น้ำเท่านั้น การจะขึ้นมาเดินบนบกได้นั้นมันนอกจากจะมีขนและปอดแล้วนั้น พวกปลาจะต้องพิชิตอุปสรรคอย่างสุดท้ายนั่นก็คือแรงดึงดูด กล่าวคือต้องมีขาที่แข็งแรงพอที่จะสามารถรับน้ำหนักตัวได้
เอลจิเนอร์เพตอน (elginerpeton)
บรรพบุรุษของเรามีการปรับตัวอย่างไรเพื่อพิชิตอุปสรรคสุดท้ายอย่างแรงดึงดูด คำตอบนั้นอยู่ที่กรีนแลนด์ ซึ่งเป็นที่ที่พบกับฟอสซิลของ ‘อิคทีโอสเตกา’ จากการศึกษาฟอสซิลของโครงกระดูกพบว่า อิคทีโอสเตกา มีขาที่ใหญ่และแข็งแรงมาก มีนิ้วที่โครงสร้างแข็งแรง และยังพบกระดูกซี่โครงอีกด้วย โดยปลาทั่วไปจะมีกระดูกซี่โครงแนวตั้งที่เรียกว่าก้างปลา แต่ อิคทีโอสเตกา มีกระดูกซี่โครงที่ขนานไปกับพื้นเหมือนกับสัตว์บก ด้วยซี่โครงที่นำหน้าที่ปกป้องอวัยวะภายในจากแรงกดทับของแรงดึงดูดนี่เองทำให้ อิคทีโอสเตกา สามารถเอาชนะแรงดึงดูดของโลกได้และขึ้นมาเดินบนบกได้สำเร็จ
อิคทีโอสเตกา (ichthyostega)
ภาพแสดงโครงกระดูกของ ichthyostega
สาเหตุที่ อิคทีโอสเตกา ต้องการขึ้นมาบนบกยังคงเป็นปริศนาอยู่จนถึงทุกวันนี้ ตอนนี้ก็ต้องรอการค้นพบใหม่ๆที่สามารถเชื่อมโยงเรื่องราวต่างๆของโลกนี้เข้าไว้ด้วยกัน แต่โดยส่วนตัวผมคิดว่า เหตุผลของ อิคทีโอสเตกา นั้นไม่ได้มีอะไรมากมายเลย แต่เป็นผลมาจากความตั้งใจของบรรพบุรุษของมัน ยูสเธนอพเทรอน ที่ต้องขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำ ทำให้มันได้มองเห็นกับโลกบนบกที่สวยงาม แม้จะอยู่ใกล้แค่เอื้อมแต่มันก็ไปไม่ได้ จึงต้องพยายามวิวัฒนาการเพื่อสักวันนึงลูกหลานของพวกมันจะได้ขึ้นมาอยู่บนบกได้
1
เมื่อ 360 ล้านปีที่แล้วได้มีสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่สามารถเอาชนะอุปสรรคต่างๆมากมาย จากทะเลสู่แม่น้ำ จากแม่น้ำสู่พื้นดิน และวิวัฒนาการต่อจนกลายเป็นมนุษย์ในปัจจุบันนี้ โดยมรดกจากบรรพบุรุษในอดีตยังสืบทอดมายังมนุษย์ในทุกวันนี้ เช่น ตัวอ่อนที่เพิ่งปฏิสนธิจะมีอวัยวะที่คล้ายเหงือกปลา มือและเท้ามีลักษณะคล้ายครีบและมีกระดูกนิ้ว 7 ชิ้น จากนั้นจึงค่อยแยกออกมาเป็น 5 นิ้ว ซึ่งยังมีร่องรอยของนิ้วที่ 6 และ 7 หลงเหลืออยู่ที่นิ้วโป้งและนิ้วก้อย มนุษย์ที่ได้รับเชื้อสายมาจาก อิคทีโอสเตกา คงจะได้รับพลังมหัศจรรย์ที่พยายามพิชิตโลกใหม่มาด้วย ขณะเดียวกันก็อยากขอบคุณท้องทะเลที่เป็นแหล่งเลี้ยงดูชีวิต จนทำให้เกิด
ชีวิตน้อยๆขึ้นมามากมายในปัจจุบัน
สำหรับในบทที่ 3 ‘วันที่ปลาทิ้งท้องทะเล’ ก็ได้จบลงไปแล้ว
บทต่อไป ‘ยักษ์ใหญ่ผู้ครองโลก part 1: กำเนิดไดโนเสาร์’
2

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา