15 ต.ค. 2021 เวลา 12:22 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์
ข้อคิดจากหนัง Blade Runner 2049 (2017) “การจากลากันด้วยความรัก”
บางครั้งการรักใครสักคน อาจหมายถึงการตัดใจและการจากลา
Blade Runner 2049 (2017)
เล่าเรื่องราว 30 ปี
หลังจากเหตุการณ์ใน Blade Runner (1982)
โดยครั้งนี้
เบลดรันเนอร์ จากกรมตำรวจแอลเอผู้มีนามว่า “เค”
ซึ่งทำหน้าที่สืบสวน
และตามล่ามนุษย์เทียมรุ่นเก่าที่หลบหนี
(มนุษย์เทียมถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นทาสรับใช้ของมนุษย์)
โดยเคได้ไปพบกับหลักฐานสำคัญจากคดีหนึ่ง
แล้วเมื่อหัวหน้าของเขาได้รับรู้เรื่องนี้
จึงสั่งให้เขาตามสืบร่องรอย
และทำลายหลักฐานที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ทั้งหมด
(เพราะถ้าความลับหลุดออกไป ทั้งมนุษย์ มนุษย์เทียม
และสังคมทั้งหมด ได้เข้าขั้นโกลาหลแน่นอน)
เคจึงต้องทำตามคำสั่งและออกค้นหาความจริง
แล้วดูเหมือนชิ้นส่วนที่หายไปของเรื่องราว
จะเชื่อมโยงไปถึงอดีตเบลดรันเนอร์ “ริค เด็คการ์ด”
ซึ่งหายตัวไปกว่า 30 ปี
และอาจเป็นผู้กุมความลับของเรื่องราวนี้ไว้
เนื้อหาในภาคต่อนี้
ประกอบไปด้วยเรื่องราวของ
-ยุคสมัยแห่งอนาคตที่ดูเสื่อมโทรม
-ความเป็นมนุษย์/วิถีชีวิตของมนุษย์
-ความหมายของการมีชีวิต
-ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ กับ มนุษย์เทียม
-อิสรภาพของทั้งมนุษย์และมนุษย์เทียม
“มีทั้งวิทยาศาสตร์ ปรัชญา และจิตวิทยา”
(*การดูภาคแรกมาก่อน จะช่วยเพิ่มความเข้าใจในประเด็นเหล่านี้
ให้กระจ่างชัดมากขึ้นครับ
**ใครไม่ใช่คอหนังแนวนี้บอกไว้ก่อนว่า มีหลับแน่นอนครับ 555)
โดยจุดหนึ่งที่ผมประทับใจจากเรื่องนี้
คือเรื่องของ
“ความรัก การตัดใจ และการจากลา”
“ความรัก”
อาจทำให้เราเห็นภาพของคู่รัก
ครอบครัว และมิตรภาพในรูปแบบต่าง ๆ
ซึ่งมีลักษณะของ...
-ความเข้าใจและการดูแลกัน
-ความใกล้ชิด
-ความผูกพันและการเคียงข้างกัน
แต่ในบางแง่มุมของความรักนั้น
“การจากลา ล้วนเป็นความรักด้วยเช่นกัน”
แล้วการจากลามันเป็นความรักได้ยังไง ?
เนื่องจากฟังดูแล้วมันคือการแยกจากกัน
(ไม่ได้อยู่ร่วมกันอีกต่อไป)
แต่มีความจริงข้อหนึ่งที่เรามิอาจปฏิเสธได้
นั่นคือ
“บางครั้งการอยู่ร่วมกัน กลับยิ่งเป็นการทำร้ายกัน”
เพราะในความสัมพันธ์นั้น ไม่ได้แปลว่า
-จะต้องราบรื่นทุกครั้ง
-จะต้องไม่เจอปัญหาหนักใจ
-จะต้องเข้าใจกันเสมอไป
-จะหาทางแก้ไขความขัดแย้งที่มีได้ตลอด
-จะหาทางคืนดีกันได้
“ความสัมพันธ์บางครั้งก็เปลี่ยนเป็นพิษร้ายทำลายชีวิตได้”
การยอมรับความจริงว่า
-ความสัมพันธ์ที่มีนั้นเป็นพิษ/ยิ่งทำให้ทุกข์ใจ
-การอยู่ด้วยกันนั้นยิ่งสร้างอันตรายให้แก่ชีวิตจิตใจ
-มิตรภาพนี้มันไม่ลงตัว/ชักนำมาแต่ปัญหาชีวิต
-ความรักครั้งนี้มันเกินเยียวยาแล้ว
-สายสัมพันธ์นี้มันทำลายคุณภาพชีวิต
“ถึงเวลาต้องตัดใจ และ ถึงเวลาต้องไป”
โดยประสบการณ์เหล่านี้
อาจนำมาซึ่งความท่วมท้นเกินรับไหว
และเป็นความจริงที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น
แต่บางครั้งการอยู่กับความจริงที่ไม่ตรงกับใจ
มักช่วยให้เราเผชิญความจริง
“แล้วหาทางปรับตัวได้อย่างถูกทางมากขึ้น”
“ความรัก การตัดใจ และการจากลา”
เป็นปรากฏการณ์ที่มีความนอบน้อมต่อความจริง
รวมทั้งการยอมรับความเป็นจริงของชีวิตว่า
-ทุกสิ่งล้วนมีวิถีและเส้นทางของตัวเอง
-ทุกสิ่งล้วนมีที่ทางอันเหมาะสมของตัวเอง
“ทุกความสัมพันธ์นั้นมีทั้งการพบเจอ และ พรากจาก”
การโบกมือลาความสัมพันธ์ (ที่ทำร้ายชีวิตจิตใจ)
จึงคล้ายกับการมอบโอกาสครั้งใหม่
และมอบอิสรภาพให้กับชีวิต
“เพื่อที่จะใช้ชีวิตต่อไป โดยไม่ถูกความสัมพันธ์ทำลายชีวิตไปเสียก่อน”
ซึ่งถือเป็นความรักที่มีต่อตนเอง
และเป็นความรักมีต่อคนที่อยู่ในความสัมพันธ์
ดังนั้น
ความรักที่ให้อิสรภาพในการเติบโต
(มิใช่ควบคุมบงการ ละเลย และแอบหวังผล)
จึงคล้ายกับการเปิดประตูคุกที่คุมขัง
และเป็นการปล่อยมือที่ครั้งหนึ่งเคยเหนี่ยวรั้ง
“เพื่อให้แต่ละคนได้เติบโตในเส้นทางของตัวเอง”
ความรักที่แท้นั้น
จึงเป็นการเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันอย่างถูกที่ถูกทาง
มิใช่การดึงดันอยู่ร่วมกันและเอาแต่ทำร้ายกัน ^^
โฆษณา