27 ต.ค. 2021 เวลา 00:30 • คริปโทเคอร์เรนซี
Decentralized Exchange (DEX) คืออะไร ไปทำความรู้จักกัน
Decentralized Exchange (DEX) เป็นอีกสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลก DeFi เมื่อการแลกเปลี่ยนเกิดขึ้นบนบล็อกเชน และคุณเป็นผู้ควบคุม Private Key หรือเป็นเจ้าของเหรียญอย่างแท้จริง มันคืออะไร ไปรู้จักมันกัน!
🎯 DEX คืออะไร ?
Decentralized Exchange (DEX) คือ ตลาดแลกเปลี่ยนแบบกระจายอำนาจ โดยคำสั่งซื้อขายจะดำเนินการบนบล็อกเชน ดำเนินการด้วยสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) ซึ่งจะแตกต่างกับตลาดแลกเปลี่ยนแบบรวมอำนาจ Centralized Exchange (CEX) ที่มีตัวกลางคอยควบคุมดูแล
ผู้ใช้ DEX นั้นไม่จำเป็นต้องทำการยืนยันตัวตน (KYC) ใดๆ เพียงแค่เชื่อมต่อกระเป๋า (Wallet) ของคุณก็สามารถเริ่มใช้งานได้ทันที นั่นหมายความว่าผู้ใช้เป็นผู้ถือ Private Key ด้วยตนเอง ดังนั้นความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยจึงสูงกว่า CEX เป็นอย่างมาก
หากคุณยังไม่รู้จัก Smart Contract อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ 👇
หากคุณยังไม่รู้จัก Wallet อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ 👇
หากคุณยังไม่รู้จัก Private Key อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ 👇
หากคุณยังไม่รู้จัก DeFi อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ 👇
🎯 DEX มีข้อดีอย่างไร ?
🟠 ความเป็นส่วนตัว
ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทำการพิสูจน์ตัวตน (Know Your Customer: KYC) เพื่อใช้งาน ทำให้มีความเป็นส่วนตัวค่อนข้างสูง ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องให้รายละเอียดอะไรกับแพลตฟอร์มมาก เพียงแค่มีกระเป๋าคริปโตเพื่ิอเชื่อมต่อเท่านั้น
🟠 เป็นเจ้าของกระเป๋าอย่างแท้จริง
โดยปกติแล้วหากคุณใช้ CEX กระดานแลกเปลี่ยนนั้น เหรียญคริปโตที่คุณมีอยู่จะไม่ใช่ของคุณจริงๆ ผู้ที่ถือครอง Private Key จริงๆคือกระดานแลกเปลี่ยน ดังนั้นหากกระดานแลกเปลี่ยนที่คุณใช้บริการอยู่เกิดถูกโจมตีหรือเกิดข้อผิดพลาดขึ้นจนนำไปสู่การถูกขโมย Private Key หรือเกิดการรั่วไหล ก็จะทำให้ผู้ไม่หวังดีเข้ามาโจมตีเลยขโมยเหรียญออกไปได้
ใน DEX นั้น ผู้ใช้จะเป็นผู้จักการกับกระเป๋าคริปโตเอง ต้องรับผิดชอบเองไม่มีใครมาควบคุม นั่นเป็นข้อดีที่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง ดั่งประโยคที่ว่า “Not Your keys, Not Your Coins” ถ้า Private Key ไม่ได้เป็นของคุณ คุณก็ไม่ใช่เจ้าของเหรียญ แต่การรับผิดชอบกระเป๋าเองก็มีความเสี่ยง หากคุณดูแลไม่ดี หรือมีความรู้ไม่เพียงพอก็อาจทำให้ Private Key หลุดไปตกอยู่ในมือคนอื่นได้เช่นกัน
🟠 ไม่มีผู้ใดควบคุม
ตามชื่อของมันที่ว่าเป็นการกระจายอำนาจ นั่นหมายความว่าจะไม่มีคนกลางหนือหน่วยงานใดคอยควบคุม ซึ่งจะทำให้เกิดความโปร่งใสและมีความรวดเร็ว โดย DEX นั้นทำงานโดยอาศัยกลไกอัตโนมัติ ที่ถูกเขียนคำสั่งโดยมนุษย์ และสามารถเข้าตรวจสอบโค้ดได้
🟠 การล่มของระบบ
ในการแลกเปลี่ยนแบบกระจายอำนาจ แน่นอนว่าทุกอย่างทำงานบนบล็อกเชนและมีการกระจายการทำงานไปทั่วทั้งโหนดที่เกี่ยวข้อง หมายความว่าการหยุดทำงานของเซิร์ฟเวอร์จะมีน้อยมาก เพราะหากมีใครคนหนึ่งดับหรือหยุดการทำงาน ก็ยังมีโหนดอื่นๆที่ทำงานอยู่ ทำให้ระบบสามารถทำงานต่อไปได้
🎯 DEX มีข้อจำกัดอะไรบ้าง ?
🟠 เหรียญที่รองรับ
ส่วนมากนั้น DEX จะรันอยู่บนบล็อกเชนของ Ethereum ซึ่งใช้มาตฐาน ERC-20 เพื่อทำสัญญาอัจฉริยะ และอื่นๆ นั่นทำให้เราอาจไม่สามารถใช้เหรียญ BTC, LTC, ETH และเหรียยอื่นๆที่ไม่ใช่มาตฐาน ERC-20 เข้าไปแลกเปลี่ยนได้ แต่กรณีนี้สามารถใช้การแก้ปัญหาอย่าง Wrapped Token ได้อยู่
หากคุณยังไม่รู้จัก Wrapped Token อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ 👇
🟠 สภาพคล่องและปริมาณซื้อขาย
ปริมาณซื้อขายของ DEX นั้นอาจต่ำกว่า CEX เนื่องด้วยปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น การเข้าใช้งาน DEX นั้นมีความซับซ้อนกว่าการสมัครกระดานเทรดแบบ CEX ซึ่งจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการใช้ Wallet และเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ที่อาจยังไม่รู้จักหรือไม่มีความรู้ยังคงอยู่ที่ CEX ทำให้ DEX เติบโตช้ากว่า
🎯 DEX ทำงานอย่างไร ?
ในที่นี้ขอยกตัวอย่างจาก UniSwap เยื่องจากเป็นแพลตฟอร์มที่นิยมใช้กันและมีต้นแบบที่เข้าใจง่าย
การแลกเปลี่ยนบน DEX จะเกี่ยวข้องกับระบบ Automated Market Maker (AMM) เป็นการทำงานของ สัญญาอัจฉริยะ ที่ทำหน้าที่จับคู่แลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ใน Liquidity Pools โดยไม่ต้องอาศัยระบบส่วนกลาง และมีสภาพคล่องจากผู้เพิ่มสภาพคล่อง (Liquidity Provider) โดยสิ่งจูงใจที่ทำให้มีการฝากสภาพคล่องคือ ผู้ฝากจะได้รับผลตอบแทนจากการแลกเปลี่ยนในระบบ
คุณอาจสนใจ "Liquidity Pools และ AMM คืออะไร"
นอกจากนี้ยังมี DEX ที่มีการทำงานแบบอื่นๆด้วย เช่น การเทียบราคาที่ดีที่สุดในแต่ละตลาดมาให้คุณโดยใช้ Smart Contract ในการ Route ไปหาเหรียญที่ตลาดอื่นๆ และเลือกราคาที่ดีที่สุดมาให้
ไม่ว่าคุณจะลองทุนที่ใดก็แล้วแต่ สุดท้ายแล้วทุกอย่างย่อมมีความเสี่ยงแตกต่างกันออกไป ทั้ง CEX และ DEX ต่างมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับมุมมองของนักลงทุนว่าแบบไหนเหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด
โฆษณา