3 พ.ย. 2021 เวลา 16:20 • คริปโทเคอร์เรนซี
ภาษีคริปโต 15% มีมาตั้งแต่ปี 61 แล้วนะ รู้ไหม! 😅
1
นักลงทุนคริปโตช่วงนี้อาจตะลึงกับภาษีคริปโต เราลองมาดูกันสักนิดว่ากฏหมายว่าด้วยภาษีเกี่ยวกับทรัพย์สินดิจิทัลนั้นเป็นอย่างไร
พระราชกําหนด การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ได้ให้ความหมายของคริปโทเคอร์เรนซี และโทเคนดิจิทัล ไว้ดังนี้
 
คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) คือ หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า บริการ สินทรัพย์ดิจิทัลอื่น หรือสิทธิอื่นใด โดยสามารถใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการได้หากผู้ใช้ยอมรับ
 
โทเคนดิจิทัล (Digital Token) คือ หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นเพื่อกำหนดสิทธิของบุคคลในส่วนแบ่งรายได้หรือสิทธิในการได้มา ซึ่งสินค้าและบริการ หรือสิทธิอื่น ๆ (Utility token) ตามที่ได้ตกลงกับผู้ออกโทเคน
 
โดยทั้งคริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัล ถือเป็น “ทรัพย์สินดิจิทัล” ไม่ใช่สกุลเงิน ดังนั้นกำไรจากการเทรด เงินปันผล หรือผลประโยชน์จากการถือครองจำเป็นต้องเสียภาษีด้วย
ประเทศไทยได้ออกกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ในการเสียภาษีของนักลงทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ภายใต้พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 19 พ.ศ.2561 ซึ่งมีผลใช้บังคับมาตั้งแต่ 14 พฤษภาคม 2561 แล้ว
🔎 โดยมีกำหนดหลักเกณฑ์ในการเสียภาษีเพิ่มเติมไว้ใน (ฉ) ของ (2) ในมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร ความว่า
 
“(ฉ) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ซ) และ (ฌ) ให้คํานวณหักในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้”
 
📖 พระราชกําหนด แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๖๑ 👇
 
📖 พระราชกําหนด การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๑ 👇
1
ส่วนตัวแอดมองว่ากฎหมายยังไม่ชัดเจนในบางเรื่อง และน่าจะมีการปรับปรุงตัวบทกฎหมายในอนาคต ทำให้บางเรื่องนั้นอาจได้คำตอบที่ไม่ชัดเจน หากเราลองไปดูตัวกฎหมายทรัพย์สินดิจิทัลในต่างประเทศอย่าง อเมริกา ก็จะเห็นความชัดเจนมากขึ้น ยังไงลองไปศึกษากันได้
เข้าร่วมกลุ่มพูดคุยเน้นสาระการลงทุนใน Telegram ได้ที่นี่ 👇
🟠 กลุ่มสำหรับพูดคุย
 
🟠 กลุ่มสำหรับดูโน๊ตต่างๆ ไว้หาความรู้ที่แอดเคยลงไว้
โฆษณา