Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
A WAY OF LIFE : ทางผ่าน
•
ติดตาม
1 พ.ย. 2021 เวลา 05:21 • ปรัชญา
"การรับรู้ 2 ระดับ"
" ... จิต กับ ความรู้สึก คืออันเดียวกันไหม ?
ภาษาพระ ความรู้สึกก็คือ เวทนา
ซึ่งมันมีเวทนาทางกาย และเวทนาทางใจ
ซึ่งมันรับรู้หรือรู้สึกได้
ส่วนจิตแปลว่า สภาพรู้ สภาพที่รู้อารมณ์ได้
เพราะฉะนั้น เวทนาหรือความรู้สึก
มันเป็นสิ่งที่ถูกรู้
จิตเป็นสภาพที่รู้อารมณ์ หรือรู้ความรู้สึก
นี่คือกระบวนการที่เกิดขึ้นในระดับโลกียธรรม
คือ จิตมันเกิดขึ้นมาเพื่อรับรู้อารมณ์
ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ
เกิดการรับรู้ขึ้นมา
แล้วในเมื่อจิตมันรับรู้ได้ทีละอารมณ์
เกิดได้ทีละดวง ดับได้ทีละดวง รู้ได้ทีละอารมณ์
แล้วมันจะรู้ทั้งตัวได้ยังไง
แต่เวลาโยมทำแล้วรู้ได้ทั้งตัว ทำได้ไหม
เพราะฉะนั้นมันคิดเอาไม่ได้ แต่มันทำได้ถูกไหม
มันรู้ทั้งตัวได้
แล้วถ้ามันละเอียดมาก ๆ
ทุกผัสสะ ทุกอณูที่เกิดขึ้น มันรู้ทั้งตัวได้จริง ๆ
ทุกอณูก็ยังรับรู้ได้
แล้วอะไรที่มันไปรู้สิ่งนี้ได้
ก็ในเมื่อจิตเกิดทีละดวง
เพราะฉะนั้นมันไม่มีทางที่จะรู้ทั้งหมดแบบนี้ได้
อย่างนี้มันขัดกับหลักปริยัติหรือเปล่า
แต่ถามว่าทำได้ไหม ทำได้
เพราะว่าถ้าเข้าถึงก็จะเข้าใจว่า
สภาวะรู้สึกทั้งตัวเป็นยังไง
ทุกผัสสะ ทุกรูขุมขน ทุกอณู
มันรู้สึกได้ทั้งหมดเลย
โดยไม่มีกระบวนการที่จิตเข้าไปรู้
อารมณ์ทีละอารมณ์ด้วยซ้ำ
เพราะฉะนั้นมันมีอีกสิ่งที่รู้ได้
และนั่นแหละคือสิ่งที่เน้นย้ำ
ก็คือ ธรรมอันเอก หรือ สภาวะรู้
เพราะฉะนั้นการรับรู้มันมี 2 ระดับ
การรับรู้ระดับโลกียธรรม
และระดับโลกุตรธรรม
ถ้ายังเป็นการรับรู้ด้วยจิต
มันจะเป็นเรื่องของโลกียธรรม
แล้วมันจะเป็นตัวเราเข้ามาเกี่ยวข้อง
เราคิด เราคุย เราพูด เราทำ
มันตัวเราทั้งนั้นเลย
ถึงแม้เราจะท่องว่าจิตมันเป็นอนัตตาก็ตาม
มันก็ยังเป็นตัวกู ของกูอยู่
มันก็ยังเป็นตัวเรา ของเราอยู่
จนกว่าเราจะเข้าสู่สภาวะเปลื้องจิตออกไป
สภาวะตัวกูของกู มันจึงหายไป ... "
1
.
ธรรมบรรยาย
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
เยี่ยมชม
youtube.com
ธรรมให้รู้ : ตอนที่72 - การรับรู้ 2 ระดับ โดย พระมหาวรพรต กิตติวโร
8 บันทึก
18
10
7
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
คำสอนครูบาอาจารย์
8
18
10
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย