31 ต.ค. 2021 เวลา 03:29 • บ้าน & สวน
มาถึง Ep.สุดท้ายแล้วนะคะ สำหรับหลักการออกแบบห้องครัวในงานสถาปัตยกรรม (Kitchen Design) Ep.3
เชื่อว่าหลายๆ ท่านที่ได้ติดตามบทความนี้มาตลอด จะได้ไอเดียในการออกแบบครัวที่ถูกใจมากยิ่งขึ้นแน่นอนค่ะ
#รอบรั้วในครัว
#ออกแบบห้องครัว
#รู้หลักจัดห้องครัว
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก wazzadu.com
วันนี้มาต่อกันด้วยเรื่อง
รูปแบบการวางผังครัว (Kitchen Layout Types)
สามารถแบ่งออกเป็นรูปแบบต่างๆได้ดังนี้ 🔻
การจัดวางผังครัวแบบ I หรือ I-Shaped Kitchen
เหมาะกับพื้นที่ขนาดเล็ก 3-5 ตร.ม. ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นห้องในอาคารชุด เช่น อพาร์เม้นท์ คอนโดมิเนียม หรือ ทาวน์เฮ้าส์ พื้นที่ครัวลักษณะนี้มักจะมีพื้นที่ทั้ง 3 โซน อยู่ในแถวเดียวกัน โดยออกแบบเรียงลำดับพื้นที่ใช้งานจากซ้ายไปขวา เริ่มจากพื้นที่สำหรับเก็บของ ทั้งของสดและของแห้ง (Zone 1) พื้นที่สำหรับล้าง และทำความสะอาด (Zone 2) พื้นที่สำหรับเตรียมของ และปรุงอาหาร (Zone 3) ตามลำดับ
การจัดวางผังครัวแบบ L หรือ L-Shaped Kitchen
เหมาะกับพื้นที่ตั้งแต่ 6 ตร.ม. ขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นห้องชุดคอนโดมิเนียมที่มีขนาดใหญ่ หรือ บ้านพักอาศัยทั่วไป แต่การจัดผังครัวในลักษณะนี้มักไม่มีรูปแบบการวางฟังก์ชั่นที่ตายตัว 100% ดังนั้นการจะจัดวางตำแหน่งฟังก์ชั่นใดๆ จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาจากตำแหน่งพื้นที่ตั้ง จำนวนช่องเปิด และบริบทสภาพแวดล้อมเป็นหลัก
แต่ส่วนใหญ่โดยทั่วไปแล้วมักจะจัดให้พื้นที่สำหรับเก็บของ ทั้งของสดและของแห้ง (Zone 1) และพื้นที่สำหรับล้าง และทำความสะอาด (Zone 2) อยู่เคาน์เตอร์ด้านที่มีความยาวมากที่สุด และมักจัดวางในบริเวณใกล้เคียงกัน โดยในส่วนพื้นที่สำหรับเตรียมของ และปรุงอาหาร (Zone 3) จะจัดวางอยู่ในบริเวณเคาน์เตอร์ด้านที่มีความยาวสั้นกว่า ซึ่งการจัดวางฟังก์ชั่นต่างๆในลักษณะนี้ลักษณะพื้นที่ห้องมักจะมีช่องเปิดอย่างน้อย 2 จุด
การจัดวางผังครัวแบบ U หรือ U-Shaped Kitchen
เป็นการจัดวางผังครัวที่เหมาะกับพื้นที่ขนาด 9 ตร.ม. ขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นบ้านพักอาศัย หรือ อาคารสาธารณะ เช่น ครัวโรงแรม หรือ ครัวในร้านอาหาร การจัดวางผังครัวในลักษณะนี้ ควรจัดวางพื้นที่สำหรับเก็บของ ทั้งของสดและของแห้ง (Zone 1) และพื้นที่สำหรับเตรียมของ และปรุงอาหาร (Zone 3) ให้อยู่ตรงข้ามกัน
โดยจัดวางพื้นที่สำหรับล้าง และทำความสะอาด (Zone 2) และพื้นที่สำหรับเตรียมของ และปรุงอาหาร (Zone 3) ให้อยู่ในฝั่งเดียวกัน โดยพื้นที่ตรงกลางจะต้องมีความกว้างตั้งแต่ 90 ซม. ขึ้นไป ซึ่งเป็นความกว้างที่สามารถเดิน หมุนตัว หรือ กลับตัวทั้งด้านหน้า และหลังในระหว่างปรุงอาหารได้อย่างสะดวก และไม่เป็นอันตราย
เนื่องจากการจัดวางผังแบบ U หรือ U-Shaped Kitchen จะกินพื้นที่มากพอสมควร ดังนั้นควรมีช่องเปิด หรือ หน้าต่าง สำหรับการระบายถ่ายเทอากาศอย่างน้อย 2 จุด แต่ถ้าหากมีช่องเปิดน้อยกว่าที่กล่าวมา จะต้องติดตั้งระบบระบายอากาศ เช่น พัดลมดูดควัน และ พัดลมช่องระบายอากาศ ให้มีจำนวนที่เหมาะสมสัมพันธ์กับขนาดพื้นที่ครัว และรูปแบบการปรุงอาหาร
การจัดวางผังครัวแบบเกาะกลาง หรือ Island Kitchen
เป็นการจัดวางผังครัวที่เหมาะกับพื้นที่ 12 ตร.ม. ขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นบ้านพักอาศัย(ขนาดใหญ่) หรือ อาคารสาธารณะ เช่น ครัวโรงแรม หรือ ครัวร้านอาหาร การจัดวางผังครัวในลักษณะนี้ถ้าหากจัดวางในพื้นที่แบบ Open Space จะมีความสวยงามโดดเด่นเป็นอย่างยิ่ง
การจัดวางผังแบบเกาะกลาง หรือ Island Kitchen มีทั้งขนาดเล็ก และใหญ่ เพื่อความเหมาะสมลงตัวในการเข้าคู่ได้กับผังครัวทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นผังครัวแบบ I-Shaped Kitchen ผังครัวแบบ U-Shaped Kitchen หรือ ผังครัวแบบ L-Shaped Kitchen โดยตัวเกาะกลางจะต้องมีความสูงอย่างน้อย 90 ซม. และจะต้องมีพื้นที่ช่องว่างระหว่างเกาะกลาง และเคาน์เตอร์ติดผนังสำหรับใช้เป็นทางเดินกว้างตั้งแต่ 90 ซม. ขึ้นไป ซึ่งเป็นขนาดความกว้างที่สามารถเดิน หมุนตัว หรือ กลับตัวทั้งด้านหน้า และหลังในระหว่างปรุงอาหารได้อย่างสะดวก และไม่เป็นอันตราย
ในการออกแบบเกาะกลางนั้น สามารถทำได้ทั้งแบบถาวร และใส่ล้อสำหรับเคลื่อนย้ายได้ โดยรูปแบบของเกาะกลางนั้นขึ้นอยู่กับว่าจะใช้งานเกาะกลางนั้นอย่างไร ถ้าในกรณีที่ไม่มีความจำเป็นมากเท่าใดนักก็อาจจะทำเป็นเพียงเคาน์เตอร์โล่งๆสำหรับวางวัตถุดิบ หรือ ทานอาหารเท่านั้น แต่ในกรณีที่ต้องปรุงอาหารจำนวนมากอยู่ตลอดเวลา เช่น ครัวในโรงแรม หรือ ร้านอาหาร อาจใช้เป็นอ่างล้างจาน หรือ เตาปรุงอาหารก็ได้
ในการทำเกาะกลางนั้น สิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญไม่แพ้ส่วนอื่นๆเลยก็คือ งานระบบน้ำ และงานระบบไฟ ควรมีการวางแผนออกแบบให้แน่ชัดก่อนว่าจะใช้งานเกาะกลางเพื่อวัตถุประสงค์ใดเป็นหลักก่อนที่จะสร้างจริง ก็เพื่อให้การติดตั้งไม่ยุ่งยาก การเก็บรายละเอียดงานเป็นระเบียบเรียบร้อย ดูแลรักษาง่าย สามารถใช้งานได้สะดวก และมีความปลอดภัยไม่เป็นอันตราย
การจัดวางผังครัวแบบเส้น 2 ด้าน หรือ Gallery Kitchen
เป็นการจัดวางผังครัวที่เหมาะกับพื้นที่ขนาด 9 ตร.ม. ขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นบ้านพักอาศัย หรือ อาคารสาธารณะ เช่น ครัวโรงแรม หรือ ครัวในร้านอาหาร
การจัดวางผังครัวในลักษณะนี้จะมีลักษณะคล้ายกับผังแบบ U หรือ U-Shaped Kitchen เพียงแต่จะไม่มีเคาน์เตอร์ด้านสั้นมาเชื่อมให้เป็นตัว U เท่านั้น ซึ่งจะจัดวางพื้นที่สำหรับเก็บของ ทั้งของสดและของแห้ง (Zone 1) และพื้นที่สำหรับเตรียมของ และปรุงอาหาร (Zone 3) ให้อยู่ตรงข้ามกัน
และจัดวางพื้นที่สำหรับล้าง และทำความสะอาด (Zone 2) และพื้นที่สำหรับเตรียมของ และปรุงอาหาร (Zone 3) ให้อยู่ในฝั่งเดียวกัน โดยพื้นที่ตรงกลางจะมีความกว้างตั้งแต่ 90 ซม. ขึ้นไป ซึ่งเป็นความกว้างที่สามารถเดิน หมุนตัว หรือ กลับตัวทั้งด้านหน้า และหลังในระหว่างปรุงอาหารได้อย่างสะดวก และไม่เป็นอันตราย
การจัดวางผังครัวแบบ G หรือ G-Shaped Kitchen (มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Peninsula Kitchen)
เป็นการจัดวางผังครัวที่เหมาะกับพื้นที่ 12 ตร.ม. ขึ้นไป ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นครัวร้านอาหาร การจัดวางผังครัวในลักษณะนี้มักจะจัดวางในบริเวณกลางห้อง นอกจากพื้นที่ทำครัวปรุงอาหารแล้ว ยังสามารถประยุกต์ให้มีเคาน์เตอร์บาร์สำหรับนั่งรับประทานอาหารอยู่รอบๆได้ ซึ่งนั่งได้ตั้งแต่ 2 - 6 คน (ขึ้นอยู่กับขนาด)
การจัดวางผังครัวในลักษณะนี้จะมีเคาน์เตอร์หลักอยู่ 3 ด้าน โดยจะจัดวางพื้นที่สำหรับเก็บของ ทั้งของสดและของแห้ง (Zone 1) และพื้นที่สำหรับเตรียมของ และปรุงอาหาร (Zone 3) ให้อยู่ตรงข้ามกัน
แล้วจัดวางพื้นที่สำหรับล้าง และทำความสะอาด (Zone 2) อยู่ในบริเวณเคาน์เตอร์ที่คอยเชื่อมระหว่างเคาน์เตอร์สำหรับเก็บของ ทั้งของสดและของแห้ง (Zone 1) และเคาน์เตอร์สำหรับเตรียมของ และปรุงอาหาร (Zone 3) ซึ่งการจัดวางฟังก์ชั่นการใช้สอยในลักษณะนี้จะทำให้การใช้งานมีความสะดวก และสัมพันธ์เหมาะสมกับขั้นตอนในการปรุงอาหาร
เนื่องจากการจัดวางผังแบบ G-Shaped Kitchen หรือ Peninsula Kitchen จะกินพื้นที่มากพอสมควร ดังนั้นควรมีช่องเปิด หรือ หน้าต่าง สำหรับการระบายถ่ายเทอากาศอย่างน้อย 2 จุด แต่ถ้าหากมีช่องเปิดน้อยกว่าที่กล่าวมา จะต้องติดตั้งระบบระบายอากาศ เช่น พัดลมดูดควัน และ พัดลมช่องระบายอากาศ ให้มีจำนวนที่เหมาะสมสัมพันธ์กับขนาดพื้นที่ครัว และรูปแบบการปรุงอาหาร
การจัดวางผังครัวแบบอิสระ (Cross Zone Kitchen)
การจัดวางผังครัวในลักษณะนี้จะเป็นการจัดผังแบบอิสระ โดยไม่เรียงลำดับความสัมพันธ์ หรือ ความต่อเนื่องในการใช้งานตาม Zone 1 > Zone 2 > Zone 3 เฉกเช่นการจัดวางผังครัว 6 รูปแบบที่ผ่านมาก่อนหน้านี้
ส่วนใหญ่แล้วการจัดผังครัวในลักษณะอิสระมักจะจัดวางแบบ Cross Zone ตามความต้องการของเจ้าของ หรือ ตามวัตถุประสงค์การใช้งานบางอย่าง ที่ทำให้ไม่สามารถใช้การจัดวางผังครัวแบบปกติทั่วๆไปได้
เมื่อไม่สามารถจัดวางผังแบบทั่วๆไปได้ ข้อควรระวังที่จะต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกๆเลยก็คือ การออกแบบงานระบบน้ำ งานระบบไฟฟ้า และระบบถ่ายเทอากาศ ที่จะต้องออกแบบในลักษณะพิเศษเพื่อรองรับการใช้งานที่จะต้องให้ความสะดวกสบาย มีความเหมาะสม และให้ความปลอดภัยในการใช้งาน
ระยะพื้นฐานในการออกแบบพื้นที่ครัว (Kitchen Area Dimensions)
ระยะพื้นฐานในการออกแบบพื้นที่ครัว (Kitchen Area Dimensions)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา