Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วันนี้คะ 😁
•
ติดตาม
31 ต.ค. 2021 เวลา 17:11 • ครอบครัว & เด็ก
เราจะช่วยไม่ให้ลูกหลานของเราถูกคุกคามทางเพศ รวมถึงด้านอื่นๆได้อย่างไร.... ตอนที่ 1
เป็นภาคต่อจากบทความที่แล้ว ที่บอกเล่าจากประสบการณ์ตรงจากการทำงานในห้องตรวจเด็ก ในฐานะกุมารแพทย์ทั่วไป ....
ใครสนใจย้อนกลับไปอ่านได้ตามลิงก์นี้นะคะ
https://www.blockdit.com/posts/6179927173e86d03d13796a8
Cr.ภาพ parentsone. com
หลังจากเกิดเรื่องราวผ่านทางโซเซียลมากมายเกี่ยวกับการคุกคาม ข่มเหงรังแกเด็กให้พวกเราได้รับรู้ ที่จริงอาจจะมีทั้งการคุกคามทางเพศ หรือไม่ใช่ทางเพศก็ตาม อาจเป็นการทำร้ายร่างกาย จิตใจ หรือข่มขู่
เราสามารถใช้เทคนิกเดียวกันในการดูแลลูกๆ
เราอาจได้อ่านได้เห็นบทความจากกุมารแพทย์ ทั้งจิตแพทย์เด็ก และกุมารแพทย์ทางด้านพฤติกรรมและพัฒนาการเด็กมากมาย รวมทั้งบทสัมภาษณ์ผ่านทางสื่อต่างๆทั้งภาพและเสียง
ส่วนตัวเองคิดถึงหนังสือวรรณกรรมเด็กเล่มหนึ่งค่ะ ซื้อไว้อ่านเองนานมากแล้ว
เก็บไว้มาเกือบสิบปี ชอบมาก คือ ความรู้สึกตอนเราเห็นหนังสือเล่มนี้ครั้งแรก บอกตัวเองเลย
ต้องซื้อเก็บไว้ เราต้องอ่าน อยากรู้ว่าเขาจะสื่อสารกับพ่อแม่เด็กอย่างไร เรื่องอ่อนไหว
Sometime it's O. K. to tell secreats!
ไม่อยากให้ลูกมีความลับ ทำอย่างไร
ใครเคยอ่านเล่มนี้บ้าง
เป็นหนังสือจิตวิทยาเด็ก ที่อยู่ในหมวดวรรณกรรมเยาวชน โดยสำนักพิมพ์ดอกหญ้า
ปี ค.ศ.1988 หรือพ.ศ.2532... ค่ะ
หนังสือเล่มนี้ 32 ปีมาแล้ว พิมพ์ก่อนตัวเองจะเป็นนักศึกษาแพทย์ 5 ปี.... ล้าสมัยไหมนะ...
ตัวเองได้มาจากร้านขายหนังสือเก่า มันกองๆอยู่เมื่อเกือบสิบปีก่อน ตอนนั้นเรียนจบกุมารแพทย์แล้ว ทำงานเป็นหมอเด็กแล้ว และเริ่มมองเห็นว่าจากการทำงาน เราเห็นเด็กถูกคุกคามทางเพศมากขึ้นเรื่อยๆ รวมไปถึงการทำร้ายร่างกายและจิตใจอื่นๆ
การถูกทำร้ายเหล่านี้ มีทั้งที่ตัวเด็กรู้หรือไม่รู้เพราะเด็กเล็กมาก หรืออาจจะเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์จนสุดท้ายนำไปสู่การข่มเหงรังแกทางเพศ
เราคนทำงาน หน้างานอยู่กับเด็กและครอบครัว เราชักเริ่มเห็นว่าปัญหามีไม่น้อย
ความไม่รู้ของผู้ดูแลเด็กและสังคมมีอยู่มาก
เมื่อเห็นหนังสือถูกวางกองทิ้งไว้ พอเปิดดูเนื้อหา
หมอเด็กแบบเรามองว่า
ปกน่าสนใจ สำหรับเรา ชื่อเรื่องดึงดูด
เห็นว่า เนื้อหา... ภาษาอาจจะอ่านเข้าใจไม่ง่ายนักเพราะเป็นหนังสือแปล เชิงจิตวิทยาเด็ก แต่อาจง่ายสำหรับเราคนทำงานกับเด็ก มีความรู้พื้นฐานด้านจิตวิทยาและพัฒนาการเด็กอยู่บ้าง จึงง่ายที่จะเอาไปสื่อสารบอกต่อกับผู้ปกครอง
วันนั้นจึงตัดสินใจซื้อเก็บไว้อ่านเอง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสื่อสารกับผู้ปกครองเด็ก
และวันนี้มาบอกเล่าเรื่องราวต่อผ่านทางบทความ
จากเดิมที่เคยถ่ายทอดสื่อสารทางการสนทนากันแค่ในห้องตรวจเป็นรายๆไปตามสถานการณ์
หนังสือเก่า แต่เนื้อหาไม่เก่าเลยค่ะ ทันสมัย อะไรที่มันเป็นศาสตร์ของความเป็นคน จิตใจคน พัฒนาการของคน พฤติกรรมดิบของคน จะกี่สิบกี่ร้อยปีมันก็ไม่เปลี่ยนเพราะนี่คือคน ไม่ใช่เทคโนโลยี...
เหมือนคนมีขาสองขา จะกี่สิบกี่ร้อยปีในช่วงเวลานี้ ตำราแพทย์ก็จะบอกว่าคนมีสองขา
คงจะใช้เวลานานมากกว่าขาของคนจะหายไปถ้ามันควรต้องหายเหมือนหางของลิงที่เชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษเรา
เนื้อหาจึงเทียบเท่า ใกล้เคียงกับทความที่จิตแพทย์เด็ก และกุมารแพทย์ทางด้านพัฒนาการเด็กหลายท่านได้ออกมาให้ความรู้ง่ายๆกับผู้ปกครองทางสื่อต่างๆ ....
และจะบอกว่า หนังสือเล่มนี้บอกเล่าเรื่องราวที่
มาของ
1
GOOD TOUCH AND BAD TOUCH
1
เรื่องนี้ เริ่มมีมานานในต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา เมือทาโคมา น่าจะเริ่มสนใจกันตั้งแต่ก่อนปี 1990 ด้วยซ้ำ....
ที่บ้านเรากลับเพิ่งเริ่มเห็นกันแพร่หลายมากขึ้นใน
ช่วงนี้...
เมื่อก่อนเวลาเราบอกผู้ปกครอง เรื่อง Good touch and Bad toych เขาก็งงๆ แต่จะพบแววตาเป็นประกาย อารมณ์ว่า ใช่ มันควรเป็นอย่างนั้น อย่างที่หมอแนะนำ แต่ตอนนี้เมื่อมีสื่อ การสื่อสารเรื่องนี้ น่าจะเข้าใจตรงกันง่ายขึ้น
หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นมาเพราะปัญหาการข่มเหงรังแกทางเพศต่อเด็ก มีมานานค่ะ ทุกที่บนโลกใบนี้คนอ่อนแอจะโดนข่มเหงรังแกได้เสมอ
ยิ่งถ้าคนอ่อนแอ สังคมก็อ่อนแอก็จะยิ่งเจอได้มาก และมักไม่มีรายงานตัวเลขที่แน่นอน จริงๆแล้วแทบไม่มีใครรู้ตัวเลขที่แท้จริง
เพราะสำหรับเด็กที่ตกเป็นเหยื่อมันคือ... ความลับ
บอกใครไม่ได้ ที่เรารับรู้จึงแค่ยอดภูเขาน้ำแข็ง หลายที่หลายชุมชนจึงเริ่มใส่ใจ
Cr.ภาพ parentsone. com
โครงการป้องกันและปฏิบัติต่อปัญหาการข่มเหงรังแกทางเพศต่อเด็ก ดำเนินการที่เมืองทาโคมา (Tacoma) รัฐวอชิงตัน และ
ศาลแห่งเมืองเพีร์ยซ
ตั้งแต่ปี ค.ศ.1976
การดำเนินการของโครงการนี้พบว่า
1.สถิติการรายงานเคสสูงขึ้น เนื่องจากชุมชนมีความพยายามร่วมมือกันในการให้การศึกษาแก่เด็กและผู้ใหญ่เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อปัญหาการข่มเหงรังแกทางเพศต่อเด็ก และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็ก
เมื่อสังคมเข้าใจ เด็กเข้าใจมีความรู้ ผู้ใหญ่ผู้ปกครองมีความรู้ ตระหนักและเข้าใจถึงความสำคัญ การเพิกเฉย เงียบเฉย ไม่ใส่ใจต่อปัญหาจึงลดน้อยลง เมื่อพ่อแม่และเด็กๆรู้ว่าการข่มเหงทางเพศคืออะไร และจำเป็นอย่างไรที่ต้องช่วนเหลือเด็ก และควรช่วยเหลืออย่างไร ความอายและกล้าที่จะเปิดเผยก็มากขึ้น
(พ่อแม่ในฝัน พ่อแม่ที่เป็นพ่อแม่อย่างแท้จริง... ชีวิตจริงไม่ใช่แบบนี้หรอกนะคะ... พ่อแม่ไม่ได้เป็นแบบนี้ทุกคน การช่วยเหลือเด็กจึงยาก )
สังคมที่เฝ้าระวัง ตื่น รู้ เป็นหูเป็นตา
จะทำให้เด็กปลอดภัยมากขึ้น
1
.
2.การเปิดเผยจะช่วยให้สังคมมีโอกาสที่จะช่วยเหลือผู้เคราะห์ร้ายรวมทั้งการเข้าไปเยียวยา...(เราพูดถึงสังคมที่ผู้คนมีทัศนคติที่ไม่ผิดเพี้ยนนะคะ ตระหนักรู้ว่าอะไรควรกระทำ อะไรไม่ควรกระทำต่อเด็ก ร่างกายของเด็ก)
1
และทำให้มีโอกาสเข้าไปพิสูจน์และจัดการผู้กระทำผิด เพื่อหยุดการกระทำอันชั่วร้ายนี้ลง
(นี่ก็สัวคมในฝันอีกแล้วค่ะ มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด)
และเขาพบว่า ผู้ที่มีปัญหาพฤติกรรมทำร้ายเด็กเหล่านี้ มักเคยเป็นเหยื่อ คือเคยถึกกระทำมาก่อน เมื่อเขายังเป็นเด็ก...
เหยื่อในวันนี้ หลายคากลายเป็นอาชญากรเสียเองในวันข้างหน้า
1
เราจะเห็นได้ว่า หากสังคมตื่นตัว สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้เกิดขึ้น
พ่อแม่ใส่ใจ มีความรู้ความเข้าใจว่าการข่มเหงรังแกเด็กทางเพศคืออะไร การเพิกเฉยละเลยสร้างปัญหาอะไร และพ่อแม่สามารถให้ความรู้นี้แก่เด็กๆได้ สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้ปัญหาไม่เลวร้ายลงไป
การเฝ้าระวังจากสังคม เป็นสิ่งที่ทำให้สิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กปลอดภัยขึ้น
.
*****ในฐานะพ่อแม่หรือผู้ที่ดูแลเด็ก มีหน้าที่ในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัย นั่นคือ สภาพแวดล้อมที่เด็กรู้สึกเป็นอิสระที่จะสื่อสารแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสถานการณ์ซึ่งทำให้แกรู้สึกไม่สบายใจ และกล้าที่จะเปิดเผยสิ่งที่เกิดขึ้นกับแกต่อพ่อแม่... นั่นคือสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยทางจิตใจสำหรับเด็ก... พ่อ แม่ หรือผู้ดูแลมีหน้าที่สร้างสิ่งนี้ให้เกิดขึ้น ******
1
.
เดี๋ยวเรามาดูกันต่อตอนต่อไป ว่าทำอย่างไร
https://www.blockdit.com/posts/61837ff091edce25fedde251
1 บันทึก
2
10
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เล่าสู่กันฟัง
1
2
10
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย