4 พ.ย. 2021 เวลา 11:21 • ปรัชญา
"การดับในอนิจจังต่างกับนิโรธอย่างไร ?"
" ...​ ผมว่าคนแยกลำบากมากเลย
คนส่วนใหญ่ไม่รู้ด้วยซ้ำ
ว่าอนิจจังต่างกับนิโรธยังไง
แล้วคนก็ชอบบอก
“อาจารย์อย่างนี้ใช่มั้ย ที่เห็นการเกิดดับ”
ก็ใช่ ... เห็นการเกิดดับ
ก็ของเกิดดับ มันก็เกิดดับตลอดเวลา
ทำไมคุณเห็นการเกิดดับ แล้วมันเป็นยังไง
“โห .. นี่สภาวธรรม”
สมมติว่าแค่นี้
สมมติว่านั่งสมาธิแล้วเผลอไปคิด
พอสติระลึก พอรู้ลมหายใจ ก็เห็นความคิดดับไป
อย่างนี้ใช่มั้ยอาจารย์ ที่เห็นความคิดดับไป
แล้วก็เป็น ... เห็นการเกิดดับ
ใช่ การเกิดดับ ไม่ได้มาจากการปฏิบัติธรรมนะ
อย่างงนะ
ผมก็เลยย้อนถามว่า เคยมีแฟนไหม ?
ตั้งแต่เด็ก ๆ มา ... เคย
เคยเลิกกับแฟนมั้ย ... เคย
แล้วเคยมีความทุกข์จากการเลิกกับแฟนมั้ย ... ​เคย
สมมติว่าตอนโน้นไม่ได้รู้จักธรรมะเลย
แล้วความทุกข์มีวันหายมั้ย ... หาย
แล้วก็มีแฟนใหม่ต่อไป ถูกมั้ย
แล้วความทุกข์นั้นดับได้ยังไง
ไม่เห็นมีคนปฏิบัติธรรมเลย
มันเกิดขึ้นแล้วมันดับไปอยู่แล้วไง
“หูวว อาจารย์หนูเห็นการเกิดดับ”
ของมันเกิดดับอยู่แล้ว
พอมีสมาธินิดหน่อย มันก็เห็นอยู่แล้ว
ไม่เห็น ก็ดับ
ไม่งั้นคนในโลกก็บ้าตายหมดแล้วสิ
แล้วยังไงเนี่ย ... ไม่ยังไง
ปฏิบัติธรรมน่ะ แค่นี้น่ะ Nothing
ไปหลงเป็นตุเป็นตะอะไร
ถ้าเห็นแค่นี้นะ ... ก็ผิว ๆ ละกัน
ถ้าเกิดนิโรธแล้วมาเล่าให้ผมฟัง
ค่อยยังชั่วหน่อย
อะไร ?
ก็คือเห็นอย่างนั้นน่ะ
ที่มันเป็นธรรมชาติอย่างนั้นน่ะ
ที่มีอยู่แล้วเกิดอยู่แล้ว ดับอยู่แล้ว
เห็นหรือไม่เห็น ก็เกิดดับของมันอยู่แล้ว
ท่านคิดเรื่องนึง
ต่อให้ท่านไม่เข้าไปรู้ด้วย มันจะดับไหม
ผมเนี่ย มางงตอนผมไปรู้นี่แหละ
พอผมรู้แล้วมันดับ รู้แล้วมันดับ ๆ
จนวันนึง อยู่ ๆ เรื่องที่ผมคิดแล้วมันเปลี่ยนเรื่อง
อ้าว เรื่องเมื่อกี้ดับได้ไง ยังไม่ทันไปรู้มันเลย
ผมก็เลยเริ่มเอะใจ
เอ๊ะ แล้วมาปฏิบัติธรรมทำไมเนี่ย
รู้แล้วนึกว่าจะดับ
เปล่า ...​ไม่รู้ก็ดับ ไม่สนใจเลยมันก็ดับ
อ้าวแล้วมันจะมีค่าอะไรอย่างนั้น
นี่ไง ระวังนะ
นึกว่าเป็นนั่นเป็นนี่ นึกว่าเห็นนั่นเห็นนี่
นึกว่าเข้าใจ เห็นการเกิดดับ
เค้าเรียก อนิจจัง น่ะใช่
แต่ถ้าจิตเข้าไปเห็นความจริงอย่างนี้
ด้วยความตั้งมั่นด้วยนะ
เห็นการเกิดขึ้นแล้วก็สลายไป
เกิดขึ้นแล้วก็สลายไป
ของรูป นาม
ของกาย เวทนา จิต ธรรม
ของขันธ์ ๕
จะมีวันนึง แต่ต้องเยอะจริง ๆ นะ
จะมีวันนึงที่มันจะเกิดความเบื่อหน่าย
คลายความยึดถือ
ที่เรียก วิราคธรรม
มันจะเกิดความเบื่อหน่าย
จิตเบื่อหน่ายนะ ไม่ใช่เราเบื่อหน่าย
เราน่ะไม่มีเบื่อหน่าย
ถ้าเราเบื่อหน่าย เป็นโมหะนะ
“โอ้ย ช่วงนี้ไม่อยากปฏิบัติเลย”
นั่นน่ะเค้าเรียก โมหะ
แต่ถ้าจิตเบื่อหน่าย เกิดวิราคธรรม
คลายความยึดถือเนี่ย มันจะปล่อย
แต่เราน่ะ ความรู้สึกของเราน่ะ
คือ แช่มชื่นนะ
ที่เค้าเรียก นิพพิทา
ไม่ใช่ตัวคนนิพพิทานะ
จิตนิพพิทา แล้วถึงวาง
แต่ขณะที่วาง แล้วก็ดับลง
ตรงนั้นเรียก นิโรธ
ที่พระพุทธเจ้าตรัส เมื่อตัณหาดับลง เรียกนิโรธ
"ภิกษุทั้งหลาย! การสลัดทิ้งโดยไม่เหลือ
ซึ่งตัณหาประเภทต่าง ๆ
ดับตัณหาคลายตัณหาโดยสิ้นเชิง
นั่นแลเราเรียกว่า นิโรธ คือความดับทุกข์ได้"
ลองสังเกต ภาวนาก็สังเกตดู
อะไรที่เป็นการเกิดดับตามธรรมชาติ
ก็เห็นมันเป็นอนิจจังนั่นแหละ
แต่มันไม่ได้มีอะไร มันยังไม่ได้เกิดเป็นผลอะไร
จากการปฏิบัติ
ของมันเป็นอนิจจัง ยังไม่ใช่ผล
ผลของการปฏิบัติ คือ นิโรธ
(ผลของการปฏิบติตามอริยมรรค)
ให้แยกให้ออกตรงนี้
แค่เห็นการเกิดดับ
ก็คือสั่งสมความเห็น สั่งสม Data ให้จิต
แต่เมื่อไรจิตรวบรวมข้อมูล
จนกระทั่งเบื่อหน่าย คลายความยึดถือ
1
ทำไมถึงเบื่อหน่าย คลายความยึดถือ
เพราะเมื่อก่อนเรารู้สึกว่าได้อันนี้แล้วมีความมสุขไง
แต่พอเราเห็นความสุขเกิดดับ
เห็นรสชาติที่ได้เกิดดับ
เห็นของที่เคยได้ นี่คือของที่ชั้นชอบ ได้มาปั๊บ
ใจฟูขึ้นมาแป๊บแล้วก็ดับไป
เห็นแต่ของเกิดดับ ๆๆๆๆๆ อยู่อย่างนี้
วันนึง มันถึงจะปล่อย
เพราะมันไม่เห็นความเป็นตัวตน
ในสิ่งของนั้นอีกแล้ว
ก็เริ่มเกิดนิโรธ เกิดนิโรธ เป็นลำดับ
อย่างนี้ค่อยยังชั่ว
ที่เค้าเรียกว่า ขอแค่เพียงเห็นสิ่งนี้
แค่เพียงช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น
ถึงมีคำกล่าวว่า
เห็นแค่นี้ เห็นการปล่อย
แล้วก็ดับวับลงไปต่อหน้าต่อตา
ก็ปิดอบายภูมิได้ชาตินึง เขาว่านะ
ปิดอบายภูมิได้ชาตินึง
แล้วก็มีชื่อเรียกว่า จุลโสดาบัน
ผมก็ไม่รู้ว่ามาจากพระไตรปิฏกมั้ย
หรือว่าตั้งกันเอง
แต่เอาเถอะ ก็มีผลมากจริง ๆ
มีผลมาก ... "
.
จากการบรรยาย
พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน
ตอนที่ ๔ ความน่ากลัวของสังสารวัฏฏ์
โดย อ.ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
๒ กันยายน ๒๕๖๓
ณ สวนยินดี เกาะพะลวย จ.สุราษฏร์ธานี
Photo by : Unsplash

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา