6 พ.ย. 2021 เวลา 05:04 • ปรัชญา
"หาสมดุลให้เจอ"
" ..​. ปฏิบัติไปนาน ๆ ท่านจะเริ่มสับสน
"เอ๊ะ ฉันก็ไม่ได้รู้สึกตัวนะเนี่ย"
ตกลงมันรู้สึกตัว หรือมันไม่รู้สึกตัว
เอาล่ะ ไม่เป็นไรหรอก
ถ้าเกิดมันไม่ได้คิดอกุศล
ไม่ได้หลงไปในโลกความคิดอะไร
ก็ปล่อยไป ๆ
ไม่ใช่ว่าต้องรู้สึกตัวแบบ
เจตนารู้สึกตัวตลอดเวลานะ
คือ แรก ๆ น่ะใช่
ที่ผมเคยยกตัวอย่างให้ดู
สมมติว่านี่เป็นเข็ม มิเตอร์
สมมติว่ามาทางนี้คือ - 10
ตรงนี้คือ 0
ตรงนี้คือ + 10
+10 คือเจตนาเต็มที่เลย
-10 คือหลงสุดขีดเลย
หลงคือไม่มีความรู้สึกตัว แล้วหลง
หลงเป็นกูเลย เป็นกูไปเลย
เพราะฉะนั้น ถ้าเวลาเราอยู่ทั่ว ๆ ไป
โดยที่เราไม่ได้มีองค์กรรมฐาน
มิเตอร์ของเราจะลงไปฝั่งติดลบทั้งนั้น
นั่งไปก็เผลอ เห็นอะไรก็ยืนคุย
ทำอะไรก็ไม่รู้สึกตัวเลย
คืออยู่ในฝั่งหลง
ทำไปด้วยความหลง ทำไปด้วยความมีตัวตน
อันนี้ติดลบ จะลบมากลบน้อยก็แล้วแต่คน
ทีนี้พอขณะที่กำลังลบอยู่
แล้วมีสติรู้สึกตัวขึ้นมามันจะกลายเป็น
ข้ามศูนย์แล้วไปทางบวก
อาจจะเป็น +3 +4 +6 อะไรก็แล้วแต่
แล้วแต่ใครมีเจตนาสูงแค่ไหน
การเข้าไปรู้สึกตัว
ก็จะเห็นว่าเดี๋ยว ๆ ก็ลบ -3 -4
เดี๋ยว ๆ ก็ "โอ๊ย เผลออีกละ"
ปื้ดด จะเด้งมาบวก +3 +4
เดี๋ยว ๆ พอนั่งกินน้ำ
เผลอนั่งคิด พอนั่งคิดปั๊บ มันก็มาฝั่งลบ
นั่งคิดที่บ้าน นั่งคิดเรื่องอะไรก็แล้วแต่
เดี๋ยว ๆ "โอ๊ะ เผลออีกละ" ปื้ดดขึ้นมา
ฉะนั้น เราจะเห็นว่าวัน ๆ มิเตอร์เราวิ่งข้ามกันอยู่อย่างนี้
พอเผลอก็ลบ พออื้มทำท่ารู้สึกตัวขึ้นมาก็เป็นบวก
ประมาณอย่างนี้
พอบวกขึ้นมามาก
อื้อหืม ฉันทำให้ดูดี ทีนี้ +10 เลย
ไม่ใช่แค่รู้สึกตัว แต่รู้สึกตัวด้วยความมีตัวตนเลย
กุดี กูเด่น ไปโน้นเลย +10ไปเลย ๆ
เดี๋ยวพอเผลอก็ไป -10 อีก
+10 -10 +5 -5 อะไรอยู่อย่างนี้
ทีนี้ที่ผมบอกเมื่อสักครู่นี้
พอเราทำ +3 +2 +1
+1 ไปเรื่อย ๆ
+ 1 นี่แสดงว่าเริ่มมีเจตนาน้อย ๆ
เหมือนกับว่าพอขยับตัว
รู้สึกตัวขึ้นมาเอง แล้วไม่ได้ทำอะไรมากนัก
มันจะอยู่แค่ +1 อยู่แค่บวกหนึ่ง
เราอาจจะรู้สึกตัวนิด ๆ หน่อย ๆ
คือประคองนิด ๆ โหมดสแตนบาย
จะเริ่มเป็น 0.1 0.2 0.5
แต่อยู่ฝั่งบวกนะ คืออยู่ฝั่งมีสติ
แต่บางช่วงที่เราทำอยู่อย่างนี้บ่อย ๆ
บวกอยู่บ่อย ๆ มีบางช่วงเวลาที่มันกลายเป็นศูนย์
แล้วนักปฏิบัติหลายคนก็จะรู้สึกว่า
"เอ๊ะ เดี๋ยวก่อนนะ ตกลงเมื่อกี้ฉันมีสติหรือเปล่าเนี่ย"
ไม่มี ไม่ได้มีสติ สงสัยไม่มีสติ
มันจะเริ่มสับสนในช่วงต้น ๆ
ตอนที่มันศูนย์
พอเริ่มรู้สึกตัวว่าไม่มีสติ ก็จะซู้ด (สูดลมหายใจ) ขึ้นมา
เอาล่ะ ไปบวกใหม่
เดี๋ยวพอเผลอปุ๊บก็กลับมาอยู่ตรงนี้ (แถว ๆ 0)
แต่ก็มีบางช่วงที่หลุดไปทางนี้ติดลบบ้าง
แล้วก็กลับมาที่นี่ (แถว ๆ 0)
ทีนี้ เวลาติดลบ พอคนเราภาวนาเข้าไปมาก ๆ ๆ ๆ ๆ
มันจะเริ่มเจอสมดุลตรงนี้
พอเผลอปั๊บ สติระลึกได้ มันจะไม่วืดเหมือนเมื่อก่อน
เมื่อก่อนระลึกได้มันจะวืดเป็นอย่างนี้ (แถว ๆ +10)
ให้เราสังเกตตัวเองนะ
พอเผลอปั๊บ แล้วสติระลึกเนี่ย มันจะนุ่มนวล ๆ ๆ
ค่อย ๆ มาทางนี้ ต้องนุ่มนวลนะ
ไม่ใช่แบบ "เฮ้ออ เผลออีกละ" ไม่
ทีนี้ พอเผลอปั๊บมันจะนุ่มนวล ๆ ๆ ๆ
เหมือนขนนก ไม่ใช่ขนนกแก๊ก ขนลูกนก
เป็นขนที่แถวหน้าอกอันเล็ก ๆ
แล้วก็ค่อย ๆ ปลิวลงมา
ผ่านอากาศ นุ่มนวล ๆ
อันนั้นแหละ เริ่มเข้าสู่สมดุล
จิตจะเริ่มนุ่มนวล จิตจะเริ่มอ่อนโยน
จิตจะเริ่มอ่อนโยน สมาธิจะเกิดง่าย ๆ ละทีนี้
ง่ายมาก ๆ ง่ายแบบไม่ต้องทำอะไร
คือไม่ต้องอยากจะมีสมาธิ
อยู่เฉย ๆ ก็สมาธิขึ้นมาเลย
เพราะตอนที่อยู่ตรงนี้ ตัวตนน้อยจัดเลย
บวงช่วงอาจจะแทบเป็นศูนย์ไปเลย
ที่บอกว่าเราไม่รู้สึกตัว
จริง ๆ ไม่ใช่เราไม่รู้สึกตัว
"เรา" น่ะไม่รู้สึกตัว ใช่
แต่มันอยู่บนความสมดุล
สาระของสติ คือการไม่ให้เกิดอกุศลเท่านั้นเอง
ตรงนี้คือจุดที่ จะเป็นจุดเปลี่ยน
สู่การเดินทางไปชั้นลึกไกล ๆ ต่อ
...
ไม่ใช่อย่างที่กำลังทำมี +2 +3 ไม่ใช่ละ
แต่อันนั้นน่ะฝึก
เดี๋ยวจะสับสน ต้องฝึก
ฝึกให้มันถี่ ให้มันยาวออกไป ๆ ๆ ๆ
อย่างที่ทุกคนกำลังทำนั่นแหละ
ทำอย่างนั้นแหละ
คือเช้าตื่นมา ไม่พูดไม่อะไรกับใคร
อาศัยช่วงเวลา สงบวิเวก
ถึงเวลาฉันก็มีสติกับการเคลื่อน การเคี้ยว การกลืน
สัมผัสรสชาติ ชอบไม่ชอบ กระเด้ง ๆ กันอยู่ข้างใน
ก็เฝ้าสังเกต ๆ ๆ
เจริญสติปัฏฐาน 4 ไปเรื่อย
ช่วงว่างก็ทำกายคตาสติ
มีการกระทบ ใจเคลื่อนไหว ก็เจริญสติปัฏฐาน 4 ต่อไป
ก็สลับไปสลับมา
เดี๋ยวก็ไปอยู่กับกาย เดี๋ยวก็กลับมาอยู่กับลม
เกิดการกระทบ หิว เกิดความชอบใจ ไม่ชอบใจ
สังเกตแล้วก็วางไป สังเกตแล้วก็วางไป
สังเกตภายใน อย่างนี้เค้าเรียกเจริญสติปัฏฐาน 4
เห็นกายเคลื่อนไหว เห็นใจเคลื่อนไหวอยู่อย่างนี้
มีการกระทบ รูปกระทบ นามสั่นไหว
เสียงกระทบ ตากระทบอะไรอย่างนี้
รูปกระทบตา เสียงกระทบหู
ลมกระทบ "โอ้ สบายใจจังเลย"
พอมีกระทบผิวกายปั๊บ ใจสบายขึ้น อย่างนี้
รูปกระทบปุ๊บ นามสั่นไหว
นามธรรมก็คือจิตใจสั่นไหว
เกิดความพอใจ
สังเกต โอ้ความพอใจ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
ความพอใจเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
เพราะฉะนั้น สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้
สมาธิต้องเกิดก่อน
สมาธิต้องเกิดขึ้นพอสมควรก่อนนะ
แล้วก็สังเกตไปเรื่อย ๆ
อย่างนี้เค้าเรียก เจริญปัญญา
มีทั้งสมถะและวิปัสสนาเคียงคู่กันไป
แต่เอาสมถะให้อยู่เป็นที่พึ่งของจิตใจก่อน
เรียกว่า กรรมฐาน
มีกรรมฐานเป็นเครื่องอยู่
อยู่กับลมหายใจ อยู่กับกาย อยู่กับอะไรก็ตาม
ทีนี้พอแข็งแรงดีแล้ว
ก็อย่างที่ผมบอกมันจะเริ่มนุ่มนวลขึ้น ๆ ๆ
แล้วก็จะอยู่ใกล้ ๆ ศูนย์ บวกก็บวกไม่เยอะ
ไม่ได้มาจงใจอะไร
เดินก็รู้สึกจะเดินปรกติ ธรรมดา ธรรมชาติ
ทีนี้จะเริ่มหาสมดุลเจอละ
จงกลมก็ไม่ได้มีท่านั้นท่านี้
การเดินจงกลมนี้ พอถึงตอนนั้น
ก็จะเดินเหมือนกับเดินธรรมดา
ความรู้สึกก็แทบจะไม่ได้ต่างจากความรู้สึกธรรมดา ๆ
มันจะเข้าไปอยู่ใกล้มาก ๆ
จะเป็น 0.2 0.1 ใกล้ ๆ ศูนย์มาก ๆ
รู้สึกตัวแค่แผ่ว ๆ เบา ๆ
รู้สึกตัวแค่แผ่วเบา ... "
.
จากการบรรยาย
ตอน หาสมดุลให้เจอ
การบรรยายในโครงการอุบาสิกาใจพระ 2563 รุ่นที่ 6
วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
ติดตามการบรรยายฉบับเต็มจาก :
Photo by : Unsplash

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา