5 พ.ย. 2021 เวลา 06:56 • สุขภาพ
จมน้ำ เป็นภาวะที่พบได้บ่อยและมีความรุนแรง มักจะทำให้ตายในเวลาเพียงไม่กี่นาที มักเกิดกับเด็กเล็ก และผู้ที่ว่ายน้ำไม่เป็น อาจเกิดจากการตกน้ำทั้งในแหล่งน้ำธรรมชาติและภาชนะกักเก็บน้ำภายในบ้าน จมน้ำ จากอุบัติเหตุ เช่น เรือคว่ำ เรือชน เมาเหล้า โรคลมชัก โรคหัวใจวาย เป็นลม เป็นต้น
ผู้ที่จมน้ำมักจะตายเนื่องจากขาดอากาศหายใจ เพราะสำลักน้ำ บางรายอาจตายเนื่องจากภาวะเกร็งของ กล่องเสียง (laryngospasm) ทำให้หายใจไม่ได้ สาเหตุเหล่านี้มักจะทำให้ผู้ที่จมน้ำตายภายใน 5-10 นาที
ผู้ที่จมน้ำถึงแม้จะรอดมาได้ในระยะแรก แต่ก็อาจจะตายเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนในภายหลังได้ เช่น ปอด อักเสบ การเปลี่ยนแปลงของระดับเกลือแร่ในร่างกาย ภาวะเลือดเป็นกรด ภาวะปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) ภาวะปอดไม่ทำงาน (ปอดล้ม ปอดวาย) เป็นต้น ในรายที่ขาดอากาศหายใจเป็นเวลานาน อาจเป็นสมองพิการได้
ภาวะเหล่านี้มักเกิดขึ้นไม่ต่างกันมากนัก ทั้งในพวกที่จมน้ำจืด (แม่น้ำ ลำคลอง บ่อ สระน้ำ) และพวกที่จมน้ำทะเล รวมทั้งอาการแสดงและการรักษาก็ไม่ต่างกันมาก
ข้อแตกต่าง คือ น้ำจืดจะมีความเข้มข้นน้อยกว่า เลือด (พลาสมา) ดังนั้น ถ้ามีน้ำอยู่ในปอดจำนวนมาก ก็จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดทันที ทำให้ปริมาตรของ เลือดที่ไหลเวียนเพิ่มจากเดิม (hypervolemia) มีผลทำให้ระดับเกลือแร่(เช่นโซเดียมโพแทสเซียม)ในเลือดลดลง ซึ่งอาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจวายได้ นอกจากนี้ ยังอาจเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก (hemolysis) ได้อีกด้วย
ส่วนน้ำทะเลจะมีความเข้มข้นมากกว่าเลือด น้ำ ทะเลที่สำลักอยู่ในปอดจะดูดซึมน้ำเลือด (พลาสมา) จากกระแสเลือดเข้าไปในปอด ทำให้เกิดภาวะปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) ระบบไหลเวียนมีปริมาตรลดลง (hypovolemia) และระดับเกลือแร่ในเลือดเพิ่มสูงขึ้นทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจวาย หรือเกิดภาวะช็อกได้
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จมน้ำมักตายเนื่องจากขาดอากาศหายใจมากกว่าการเปลี่ยนแปลงของระดับเกลือแร่และปริมาตรของเลือด
ััอาการ จมน้ำ
ผู้ที่จมน้ำมักจะมีอาการหมดสติ และหยุดหายใจ บางรายอาจมีภาวะหัวใจหยุดเต้น (คลำชีพจรไม่ได้) ร่วมด้วย
ถ้าไม่ถึงกับหมดสติ ก็อาจมีอาการปวดศีรษะ เจ็บหน้าอก อาเจียน กระวนกระวาย หรือไอมีฟองเลือดเรื่อๆ (ซึ่งแสดงว่ามีภาวะปอดบวมน้ำ)
บางรายอาจตรวจพบภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติหัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตต่ำหรือภาวะช็อก
การป้องกัน จมน้ำ
ควรหาทางป้องกัน โดย
  • 1.
    ระวังอย่าให้เด็กเล็กเล่นน้ำหรืออยู่ในบริเวณใกล้กับน้ำ เช่น แม่น้ำลำคลอง บ่อน้ำ สระน้ำ รวมทั้งโอ่งน้ำ ถังใส่น้ำภาชนะกักเก็บน้ำภายในบ้านตามลำพัง
  • 2.
    ควรส่งเสริมให้เด็กฝึกว่ายน้ำให้เป็น
  • 3.
    เวลาลงเรือหรืออกทะเล ควรเตรียมชูชีพไว้ให้พร้อมเสมอ
  • 4.
    ผู้ที่เมาเหล้า หรือเป็นโรคลมชัก ห้ามลงแล่นน้ำ
  • 5.
    วิธีผายปอดแก่ผู้ป่วยจมน้ำที่แนะนำในปัจจุบัน คือ วิธีการเป่าปาก และให้ลงมือทำให้เร็วที่สุด อย่าเสีย เวลาในการจับแบกพาดบ่าเพื่อเอาน้ำออกจากปอดดังที่ เคยแนะนำกันในสมัยก่อน ส่วนการผายปอดด้วยมือ เช่น วิธีของซิลเวลเตอร์ (Silvester method) หรือวิธีของโฮลเกอร์นีล (Holger Nielsen method) เป็นต้น ไม่แนะนำให้ทำเพราะได้ผลน้อย
  • 6.
    ผู้ป่วยที่จมน้ำทุกรายไม่ว่าจะหมดสติหรือหยุดหายใจหรือไม่ก็ตาม ควรพักรักษาตัวในโรงพยาบาลอย่างน้อย 24-27 ชั่วโมง เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในเวลาต่อมา

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา