Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
10 พ.ย. 2021 เวลา 07:26 • หุ้น & เศรษฐกิจ
BOT คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% อีกครั้ง เป็นครั้งที่ 12 ติดต่อกัน
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์วันนี้ (10 พ.ย. 2564) ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี ติดต่อกันเป็นครั้งที่ 12 กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้วในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 และ GDP จะขยายตัว 0.7% ในปี 2564 และ 3.9% ในปี 2565
โดยในไตรมาส 3 ของปี 2564 ช่วงแรกได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการระบาดและการส่งออกที่ชะลอตัวลง แต่การกระจายของการฉีดวัคซีนที่ดีขึ้น การผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดและการเปิดประเทศที่เร็วกว่าคาด ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นและการบริโภคภาคเอกชนในช่วงที่เหลือของปี 2564 ต่อเนื่องถึงปี 2565
เศรษฐกิจในระยะต่อไปคาดว่าจะได้รับผลบวกจากการกระจายวัคซีนที่ปรับดีขึ้น การผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด และการเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ฉีดวัคซีนครบแล้ว 63 ประเทศเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย
ในส่วนของค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น มาจากปัจจัยหนุนทั้ง การอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ การขายทำกำไรทองคำ และ เงินทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในพันธบัตรไทย
ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปล่าสุดที่เพิ่มขึ้นที่ 2.4%ต่อปี จากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนที่สูงขึ้นจากค่าขนส่งและราคาพลังงานโลก
แต่ยังอยู่ในกรอบของเป้าหมายเงินเฟ้อของ ธปท. (1-3%) และคาดว่าจะปรับตัวลดลงในช่วงต้นปี 2565 ภายหลังวิกฤติการณ์การขาดแคลนพลังงานเริ่มคลี่คลาย
การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% นี้ สอดรับกับทีทีมเศรษฐกิจธนาคารกรุงเทพ ได้คาดไว้ และคาดว่า ธปท. จะคงดอกเบี้ยที่ระดับนี้ไปจนกระทั่งปี 2566 จนกว่าภาคท่องเที่ยว ซึ่งเรามองว่าจะยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ เพราะทางจีนเองก็ยังไม่เปิดประเทศให้ประชาชนของจีนออกเดินทางได้อย่างเสรีเหมือนในปี 2019 และคงต้องรอภาคการจ้างงานให้ฟื้นตัวกลับมาอยู่ในสภาวะปกติก่อน
ผู้เขียน : ปรียา ชัชอานนท์ Economist, Bnomics
ดอกเบี้ยนโยบาย
ธนาคารแห่งประเทศไทย
bankofthailand
1 บันทึก
4
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Global Economic Update
1
4
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย