11 พ.ย. 2021 เวลา 14:30 • ศิลปะ & ออกแบบ
ชุมชนกุฎีจีน
ระบบบ้านไม้ในบางกอก กับ blue bangkok
ส่วนตัวเชื่อว่าสมบูรณ์สุดคล้ายป้อมมหากาฬที่โดนรื้อ และระบบคลองบางหลวงเป็นโซนนี้ เคยนั่งเรือสำรวจคลิงลัดมะยม ที่เป็นตลาดน้ำแถวบ้านย่านบางแคพุทธมณฑล กับเคยไปชุมชนบ้านไม้คลองบางหลวงแถววัดกำแพงบางจาก ธนบุรี
การเดินทาง ค่อนข้างเข้าถึงยาก ไม่ใกล้รถไฟฟ้าใต้ดิน อิสรภาพ แต่ถ้า Mrt สนามไชย แล้วข้ามฟากด้วยเรือท่าวัดกัลยา หรือวันนี้เรานั่งรถมาลงที่นี่ มีที่จอดรถส่วนตัว 20 บาท
เดินเท้าเข้าซอย ต้องลองสังเกต จะมีกราฟิตี้ ศิลปะบนกำแพงบอกใบ้ให้เข้าไปตามตรอกแคบ เดินสวนหรือรถจักรยานยนต์ผ่านได้เท่านั้น ตอนแรกคิดว่าหลง แต่เห็นบ้านในซอยทะลุไปเจอโบสถ์ซางตาครู้ส มีบีเกิลมาต้อนรับ น้องไม่ซนแบบตัวอื่นๆ เด็กดีมากอ้วนกลมดมๆ
พิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน บ้านไม้สองชั้นติดกัน ด้านบนเข้าชมงานแสดงไม่เสียค่าใช้จ่าย เห็นข้าวของเครื่องใช้แบบเก่า เรื่องเล่าตั้งแต่ชาวฝรั่งเศส และมิชชันนารีเดินทางมา ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากหลักฐานต่างๆ ส่วนตัวเชื่อมข้อมูลตรงป้อมวิไชเยนทร์ สองฝากกั้นเจ้าพระยาเป็นท่าการค้าตอนในจากปากน้ำ มีแผนที่ชุมชนหรือแปลนอาคารจากสมาคมฯ รวบรวมข้อมูลย่านนี้ไว้ ด้านล่างเป็นร้านเครื่องดื่ม และของที่ระลึกให้สนับสนุน
เราเดินไปตามทางเลี้ยวขวาถัดจากพิพิธภัณฑ์ฯ จะพบตรอกแคบซุ้มไม่สวยงาม เลื้อยและโค้ง ดอกย้อยระย้า ด้านซ้ายจะพบบ้านธนูสิงห์ หลังคาตัด ส่วนด้านขวาจะพบจั่วแสงอาทิตย์ของบ้านจันทนภาพ ที่มีป้ายบอกเล่าที่มา
ขนมฝรั่งกุฎีจีน กำลังส่งกลิ่นหอม เราลองชิมตามคำเชิญ ชิ้นใหญ่ 50 ชิ้นเล็ก 20 พี่ที่น่าจะเป็นเจ้าของ ยังชวนคุย และใจดีให้ถ่ายขั้นตอนกวนแป้ง แต่เราเกรงใจถ้าถ่ายขั้นตอนอบ หรือถ่ายรูปเจาะเข้าไปในเตาที่ส่งกลิ่นหอมเนยฟุ้ง เพราะเรามาดูบ้าน พี่ทั้งสองชวนคุยถึงสภาพบ้านจากเดิมๆ สีเขียวซีดที่ใกล้ร่อนจากเนื้อไม้ ลวดลายฉลุ หรือเสาอิฐมอญเก่าที่ครอบก่อห่อหุ้มเสาไม้สัก เพื่อเสริมการรับและความแข็งแรง แม้ว่าจะต่อเติมไปบ้าง เพราะต้องใช้ร่วมกับวิถีชีวิตแต่ละยุค
เราเดินออกไปถ่ายมุมไกลเห็นหลังคาตัด เมื่อข้ามคลอง กลับมาคุยกับพี่ๆต่อผ่านหน้าต่างบานเขียวเข้มที่เปิดขายขนมพอดีระดับคนยืน ว่าชุมชนนี้มีระบบบ้านไม้หลังคาเกยกัน มีสมาคมสถาปนิกสยามมาถอดพิมพ์บ้านเขียนไว้แล้ว บางหลังเกิดไปไหม้แต่ละช่วง ล่าสุดจากฝากวัดกัลยาที่คิดว่าจะเสียบ้านนี้ไป เพราะหน้าหนาวอากาศแห้งลมแรง ถนนแคบเข้าถึงยาก บ้านแต่ละหลังต้องดูแลเรื่องดับไฟเอง บางหลังเจ้าของอยู่ต่างถิ่นต่างประเทศ บ้านปล่อยไปตามสภาพ หรือบางบ้านดีที่มีรถไฟฟ้ามาซื้อที่แต่ขายบ้านให้เขายกไปต่างจังหวัดแล้วบูรณะ เพราะการดูแลย้านเก่านั้นใช้เงินมากมาย ใครไม่ทราบคงไม่เข้าใจ การดูแลมีต้นทุน แต่ดีที่มีคนรุ่นใหม่ เช่น คนเรียนสถาปัตย์มาเดินดู เขียนแบบ หรือนักท่องเที่ยวที่มาแล้วมาอีก เพราะสงบ ระบบบ้านเก่าน่ารัก นอกจากนี้ยังเล่าบ้านอีกหลายหลัง บางบ้านเหมือนบ้านในนิยายที่มีแปลงดอกไม้แปลงผักข้างคลองใกล้บ้านแต่รื้อไปเสียแล้ว
เราขอตัวเมื่อกินและคุยเสร็จเพื่อไปดูบ้านหลวงประกอบ ที่หลายคนบอกว่าบ้านวินเซอร์ แต่พบเพียงรั้ว ปิดกั้น ชะเง้อมองไม่เต็มอิ่มแถมเป็นด้านหลังบ้าน เลยเดินต่อไปจนเจอท่าน้ำโบสถ์ซางตาครู้ส ที่วันนี้น้ำปริ่มแนวกระสอบทราย และพักกินขนมจีนแกงไก่ ร้านเฮโล แม้จะเป็นเวลาบ่ายสองโมงกว่าแล้ว รสดีคล้ายสปาร์เก็ตตี้ เคล้าเสียงกระดิ่งลมลอดหน้าต่างบ้าน
หลังกินอิ่ม ตัดสินใจลุยน้ำ ไปเจอทางเดินเลียบเจ้าพระยา และเดินมาจนเจอบ้านวินเซอร์ ตั้งตระหง่านแม้กาลเวลาจะเริ่มแสดงผล บ้านไร้คนอาศัยมักทรุดโทรม รอวันพังถ้าไม่บูรณะ ด้วยเกรงว่าจะไม่ได้เห็น จึงรีบมาชม สมเจตนาวันนี้แล้ว สภาพเรือนใหญ่เต็มหลัง เราไม่เคยพบลักษณะนี้ในบางกอก ต่างจากบ้านไม้ทรงอื่น
เราเดินเลียบทางเดินริมน้ำจนมาพบวัดกัลยาที่ตั้งต้นอีกครั้ง และตัดสินใจเดินไป มัสยิดต้นสน ไกลนิดแต่คุ้มค่า มีอาคารไม้เก่า และเรื่องราวเชื่อมกับหลวงโกชา ผู้มีชื่อมัสยิดในถนนทรงวาด และคงเป็นที่มาชื่อย่าน กุฎี ที่มีทั้งกุฎีขาว และกุฎีอื่นๆรอบนี้
ชุมชนสามศาสนาและศาลเจ้า เชื่อมสองฝากของเมืองบางกอก พร้อมรากของป้อมดูแลท่าการค้า รอยต่อบ้านไม้ในบางกอก ระบบคลองและบ้านไม้ที่สมบูรณ์ ทำให้ประติดประต่อกับชุมชนคลองบางหลวง อาจทำให้เป็นจุดเด่น และน่ากลับมาเก็บข้อมูลของเราอีกครั้ง
blue bangkok คงเริ่มต้นชุด บ้านไม้ในบางกอก(กุฎีจีน คลองบางหลวง คลองชักพระ ลัดมะยม) ได้แล้ว เชื่อมกับฝั่งพระนครโซนหลังกองสลาก-เสาชิงช้า

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา