Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ธรรมชาติ ธรรมดา
•
ติดตาม
15 พ.ย. 2021 เวลา 00:15 • ปรัชญา
จิตนั้นมีอยู่ 3 ลักษณะ
ขณะเรามีสติแล้วทำกรรมฐาน ไม่ว่าจะรูปแบบใด
จะดูลมหายใจ หรือ ดูร่างกาย ยืน เดิน นั่ง นอน
ให้เราคอยรู้ทันจิตไว้
บางคนดูท้องพองยุบ ถ้าจิตไหลลงไปอยู่ที่ท้อง
คือเราไปเพ่งที่ท้อง ก็ได้สมถะ
เกิดความสงบเฉย ๆ แต่ปัญญาไม่เกิด
บางคนดูท้องพองยุบอยู่ แต่ดันไปคิดเรื่องอื่น
อย่างนี้เรียกฟุ้งซ่าน จิตเป็นอกุศล
หากเมื่อเรารู้ว่าจิตมันหนีไป
แล้วเราดึงกลับมาให้จิตตั้งมั่น
ตรงนั้นคือจิตมีสมาธิที่ถูกต้อง
ดังที่กล่าวมา จิตจึงมี 3 ลักษณะ
●
จิตที่เพ่งไว้ คือจิตถลำลงไปเพ่ง ไหลไปรวมเข้ากับอารมณ์กรรมฐาน แล้วเกิดสมถะ
●
จิตที่หลงไป คือจิตหลุดออกไป ไม่เกิดทั้งสมาธิ และปัญญา
●
จิตผู้รู้ คือจิตตั้งมั่น มีสติระลึกรู้ ไม่ว่าจะรู้ลงไปในรูปธรรมหรือนามธรรม และเห็นถึงไตรลักษณ์ คือเห็นถึงอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี่คือการเจริญปัญญา
จิตผู้รู้คือจิตที่ทั้งไม่เผลอ และ ไม่เพ่ง
ความเผลอ คือ กามสุขัลลิกานุโยค
ความเพ่ง คือ อัตตกิลมถานุโยค
จิตเผลอคือไปอบาย
จิตเพ่งคือไปสุคติได้ แต่ไม่ไปถึงนิพพาน
คือได้สมาธิชนิดสงบ เป็นพระพรหมได้
หน้าที่ของเราเพียงแค่ให้ ‘รู้’ ว่าจิตนั้นอยู่ในลักษณะใด
การรู้ในที่นี้เป็นเรื่องไม่จำเป็นต้องสอนกัน
รู้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองในแต่ละบุคคล
ถ้าเมื่อไหร่เผลอแล้วรู้ว่าเผลอ เมื่อนั้นรู้จะเกิดเอง
เมื่อไหร่เพ่งก็รู้ว่าเพ่ง ให้มองด้วยความเป็นกลาง
คือรู้ว่าเพ่งด้วยความเป็นกลาง ไม่เกลียดการเพ่ง
ผู้รู้ก็เกิดเหมือนกัน
ฉะนั้นเรื่องจิตรู้จึงเป็นเรื่องไม่ต้องสอนกัน
เราเพียงเรียนรู้สิ่งที่สุดโต่งทั้งสองด้าน
เพราะเมื่อใดจิตไม่สุดโต่งไปด้านซ้ายด้านขวา
ไม่สุดโต่งไปข้างย่อหย่อน ข้างตึงเครียด
จิตก็เข้าทางสายกลางของจิตเอง
ทั้งหมดนี้คือหัวใจของกรรมฐาน เพื่อฝึกให้จิตมีสมาธิที่ถูกต้อง
จงอย่าตึงหรือหย่อนเกินไป
แต่ให้เดินในทางสายกลาง คือมัชฌิมาปฏิปทา
รู้รูป รู้นามตามความเป็นจริง
เมื่อขณะที่เราเผลอ หรือ เพ่ง
คือหลุดจากทางสายกลาง
เพียงให้มีสติระลึกรู้ และดึงกลับมา
ก็จะสามารถเข้าสู่วงจรสมาธิที่ถูกต้องและเกิดปัญญาได้
ถ้อยความจากพระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชโช l 17 กรกฎาคม 2564
ธรรมะ
พระธรรมคำสอน
พระธรรม
2 บันทึก
13
2
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เรื่องราวของจิตที่ควรรู้
2
13
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย