Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
18 พ.ย. 2021 เวลา 00:07 • สิ่งแวดล้อม
เปลี่ยนขยะพลาสติกไทย สู่ธุรกิจ BCG
ปัญหาขยะพลาสติกเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อยาวนานที่ทั่วโลกกำลังแก้ปัญหา โดยเฉพาะขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-Use Plastics) มีสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 3 ของพลาสติกที่ผลิตทุกปี และ 98% ของพลาสติกทั้งหมดที่เคยผลิต ผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งใช้เวลา 20 – 500 ปี ในการย่อยสลาย
เปลี่ยนขยะพลาสติกไทย สู่ธุรกิจ BCG
ในปี 2019 ทั่วโลกมีการผลิตพลาสติกออกสู่ตลาดรวมกันกว่า 368 ล้านตัน ในจำนวนนี้เป็นพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งประมาณ 42% หรือ 150 ล้านตัน เกือบทั้งหมดถูกเผา ฝังในหลุมฝังกลบ หรือปล่อยทิ้งลงสู่สิ่งแวดล้อมโดยตรง มีขยะพลาสติกราว 5 -13 ล้านตัน ถูกทิ้งลงสู่แหล่งน้ำในธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ทางทะเล และลดความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนของมหาสมุทร
สัดส่วนทวีปที่มีการปล่อยขยะพลาสติกสู่มหาสมุทรปี 2019
จำนวนขยะพลาสติกที่เกี่ยวข้องกับการระบาดของ COVID-19 ตั้งแต่เริ่มการระบาดจนถึงปัจจุบัน มีประมาณ 8 ล้านตัน ในจำนวนนี้มีถึง 25,000 ตัน ถูกทิ้งลงในทะเล โดย 87% ของขยะพลาสติกจาก COVID-19 มาจากโรงพยาบาล และมี 4% เป็นบรรจุภัณฑ์จากการช้อปปิ้งออนไลน์ที่พุ่งสูงขึ้น
📌 ยิ่งใช้พลาสติกโลกยิ่งร้อน
ตลอดกระบวนการผลิตจนถึงการย่อยสลายพลาสติกมีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมาก เป็นอัตราส่วนถึง 1:5 ดังนั้น สำหรับการผลิตพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว 150 ล้านตัน สร้างคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 750 ล้านตัน
📌 ขยะพลาสติกในประเทศไทย
ขยะมูลฝอยในประเทศไทยประกอบด้วยขยะพลาสติกมากเป็นอันดับ 2 มีสัดส่วน 17% รองจากเศษอาหารและพืช ขยะพลาสติกมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี และการกำจัดขยะยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร โดยขยะ 35% ถูกนำไปใช้ประโยชน์ และ 39% ถูกนำไปกำจัดอย่างถูกต้อง ที่เหลือถูกทิ้งอย่างผิดวิธีสู่สิ่งแวดล้อม โดยใน 1 ปี มีขยะถูกทิ้งลงทะเลถึง 700,000 - 1,000,000 ตัน
ยิ่งไปกว่านั้น การเติบโตของธุรกิจ Food Delivery ทำให้ปริมาณขยะพลาสติกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง COVID-19 กรมควบคุมมลพิษประเมินว่าปริมาณขยะพลาสติกจาก Food Delivery ในปี 2020 อยู่ที่ 4,200 พันล้านชิ้น และคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 8,720 พันล้านชิ้น หรือคิดเป็นน้ำหนัก 130,811 ตัน ในปี 2025
📌 การแก้ปัญหาในระดับธุรกิจ ประเทศ และนานาชาติ
ขณะนี้อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ผลิตพลาสติกจากเชื้อเพลิงฟอสซิลกำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยเน้นไปที่การนำพลาสติกรีไซเคิลกลับมาใช้ซ้ำ และวัสดุทดแทนอื่นๆ
สหภาพยุโรป ในปี 2019 มีการออกกฎหมายห้ามผลิตและใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งหลายประเภท และรัฐบาลทุกประเทศต้องเพิ่มสัดส่วนพลาสติกรีไซเคิลสำหรับขวดพลาสติกทุกประเภทต้องไม่น้อยกว่า 30% ภายในปี 2030
ประเทศผู้ผลิตและนำเข้าพลาสติกรายใหญ่อย่างจีนมีการปฏิรูปกฎหมายเกี่ยวข้องกับการจัดการขยะพลาสติก โดยตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นไป ห้ามนำเข้าขยะจากต่างประเทศอย่างเด็ดขาด ห้ามใช้พลาสติกประเภทใช้แล้วทิ้งหลายประเภท และบังคับให้มีการคัดแยกขยะในระดับครัวเรือน โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยติดตามเพื่อให้เกิดการแยกขยะอย่างถูกต้อง
1
ในส่วนของประเทศไทยไม่ได้มีการจัดการเป็นรูปธรรมในทางกฎหมายข้อบังคับ มีเพียงการทำ MOU ระหว่างภาครัฐ เอกชน และวิชาการ เพื่อลดการใช้พลาสติกจาก Food Delivery เท่านั้น
อย่างไรก็ตามมีการตั้ง Roadmap การจัดการขยะพลาสติก มีเป้าหมาย คือ ในปี 2022 ต้องเลิกใช้ขยะพลาสติก 4 ชนิด ได้แก่ ถุงพลาสติกหูหิ้ว, กล่องโฟม, แก้วพลาสติก และหลอดพลาสติก และต้องนำขยะพลาสติก 7 ชนิด ได้แก่ ถุงพลาสติก, ถาด/กล่องอาหาร, ฝาขวด, ช้อนส้อมมีดพลาสติก, ฟิล์ม, ขวดพลาสติก และแก้วพลาสติกแบบหนา กลับมารีไซเคิลให้ได้ 100% ในปี 2030
ธุรกิจเกี่ยวกับขยะในประเทศไทยที่สอดคล้องกับโมเดล BCG
📌 ธุรกิจรีไซเคิลขยะ
ขยะพลาสติกที่นำมารีไซเคิลได้ เป็นพลาสติกประเภทเทอร์โมพลาสติก ที่เมื่อให้ความร้อนแล้วจะเกิดการอ่อนตัวและหลอมเหลว และจะแข็งตัวเมื่อทำให้เย็นลง พลาสติกที่แข็งตัวแล้วสามารถนำมาหลอมซ้ำได้
การส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมของประเทศ ส่งผลให้มีนโยบายสนับสนุนให้ตั้งโรงงานรีไซเคิลและโรงงานคัดแยกขยะรีไซเคิลเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับขยะจากอุตสาหกรรม โดยธุรกิจโรงงานรีไซเคิลและคัดแยกของเสียในประเทศไทย มีจำนวน 608 ราย จำนวนเงินลงทุนรวมประมาณ 5,500 ล้านบาท
แต่ในขณะเดียวกันรัฐบาลไทยได้มีการทำข้อตกลงการค้าเสรีกับหลายประเทศ ซึ่งรวมถึงการนำเข้าเศษขยะพลาสติกด้วยเช่นกัน ทำให้เกิดปัญหาต่อผู้ประกอบการไทย
ในปี 2018 “ผู้ประกอบการรีไซเคิลเศษพลาสติกในจีนหลายราย” ย้ายฐานผลิตมายังประเทศไทย ทำให้ปริมาณนำเข้าเศษพลาสติกถูกแฝงด้วยขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นกว่า 5 แสนตัน เดิมภาครัฐมีมติให้ยกเลิกนำเข้าเศษพลาสติก แต่ “กลุ่มโรงงานรีไซเคิลเศษพลาสติก” เรียกร้องให้นำเข้าโดยอ้างว่า “ขาดแคลนวัตถุดิบในประเทศ” จึงมีการขยายระยะเวลาการนำเข้าต่อไปอีกจนถึงปี 2025
นโยบายที่ย้อนแย้งของการให้เลิก/ลดใช้พลาสติก แต่กลับอนุญาตให้มีการนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศที่มีราคาถูก ทำให้ราคาพลาสติกรีไซเคิลในประเทศตกต่ำมาก โดยเปรียบเทียบราคารับซื้อพลาสติก PET เมื่อ 20 ปีก่อนที่สูงถึงกิโลกรัมละ 30 บาท ลดลงเหลือกิโลกรัมละ 11 บาท อาชีพซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่าระดับรากหญ้าไม่สามารถอยู่รอดได้ และอาจต้องเลิกทำอาชีพนี้ไป สุดท้ายจะไม่มีใครเก็บขยะมาขาย ทำให้ภาครัฐต้องรับภาระกำจัดขยะที่มีจำนวนมากขึ้น
📌 ธุรกิจผลิตพลังงานจากขยะ (Waste to Energy)
พลาสติกเป็นแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพอย่างมาก เนื่องจากพลาสติกผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ดังนั้น พลาสติกจึงสามารถนำไปแปลงสภาพเป็นเชื้อเพลิงเหลวได้
กระทรวงพลังงานให้การสนับสนุนการนำขยะพลาสติกมาแปรรูปเป็นน้ำมันไพโรไลซิส ซึ่งสามารถใช้ทดแทนน้ำมันเตาและดีเซลรอบต่ำ การแปรรูปขยะพลาสติกนี้จะสามารถลดขยะได้ 3.76 ล้านตันต่อปี ลดงบประมาณในการกำจัดขยะถึง 1,500 ล้านบาทต่อปี คิดเป็นมูลค่าทดแทนน้ำมันเตา 20,088 ล้านบาทต่อปี
1
นอกจากนี้ หลายบริษัทในต่างประเทศ เช่น Linde ร่วมกับ Hydrogen Utopia ในโปแลนด์, Peel Environmental ร่วมกับ Waste2Tricity และ PowerHouse Energy ในอังกฤษ มีการพัฒนาและนำเทคโนโลยีการแปลงพลาสติกให้เป็นไฮโดรเจนมาใช้ ซึ่งใช้ได้กับพลาสติกทุกประเภท แม้แต่พลาสติกที่อาจมีคราบน้ำมัน ผลผลิตไฮโดรเจนที่ได้สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม และรถยนต์พลังงานไฮโดรเจนในอนาคต
1
อุตสาหกรรมพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพของไทยนั้น มีมูลค่าประมาณ 9.5 หมื่นล้านบาท จัดเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงจากนโยบายเพิ่มการใช้พลังงานทดแทนของภาครัฐ และเป็นโอกาสให้นักลงทุนได้พัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรม
📌 ธุรกิจ Startup
ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมจะช่วยให้กระบวนการจัดการขยะมีประสิทธิภาพสูงสุด ตัวอย่างเช่น
ในประเทศแคนาดา บริษัท Startup ชื่อ Char Technologies นำกระบวนการย่อยสลายแบบไร้อากาศจากแบคทีเรียมาใช้เปลี่ยนขยะพลาสติกให้เป็น Activated charcoal ที่ใช้ในการดูดซับสารพิษ สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย เช่น อุตสาหกรรมเคมี, ยา และการผลิตปุ๋ย
1
บริษัทสัญชาติสหรัฐฯ Earth911 ได้พัฒนา iRecycle แอปพลิเคชัน ซึ่งรวมข้อมูลการบริหารจัดการขยะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถจัดการกับขยะอย่างเหมาะสมและยังสามารถติดตามการมีส่วนร่วมต่างๆ ในการรีไซเคิลได้ ซึ่งมีบริษัทใหญ่หลายบริษัทเข้ามาร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ด้วย เช่น Johnson & Johnson, ExxonMobil, DELL และ Energizer
ประเทศไทยเรามีทรัพยากรด้านการวิจัยและพัฒนา และมีศักยภาพที่จะคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ จากหลายองค์กรที่พร้อมให้ความร่วมมือ เป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการในการสร้างธุรกิจไปพร้อมกับรักษาสิ่งแวดล้อมได้
📌 ธุรกิจพลาสติกชีวภาพ
1
แม้จะไม่ได้เป็นการกำจัดจำนวนขยะพลาสติกที่เดิมมีอยู่แล้ว แต่ก็เป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ด้วยการลดการใช้พลาสติกจากฟอสซิลมาเป็นพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้แทน ซึ่งยั่งยืนกว่าในระยะยาว สอดคล้องกับนโยบายการขับเคลื่อนประเทศด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) เป็นการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
📌 บทสรุป
แม้ว่าไทยจะกำหนดเป้าหมายลดการใช้พลาสติกแล้ว แต่การจัดการกับขยะพลาสติกในไทยยังไม่มีการพัฒนา ในด้านระบบการจัดการ การแยกขยะเพื่อนำกลับไปรีไซเคิลหรือกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งจากการสำรวจของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย พบว่าในปี 2020 ขยะที่นำไปรีไซเคิล มีสัดส่วนที่ลดลง จากระดับปกติประมาณ 27 % อีกทั้งยังมีเปิดให้มีการนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศทำให้ขยะพลาสติกในประเทศไม่ลดลง ส่งผลต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมในประเทศ รวมถึงอาจไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยคาร์บอนตามที่ไทยได้แสดงเจตนารมณ์ในการประชุม COP26 ว่า ประเทศไทยจะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2065
2
บทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
"พลาสติกย่อยสลายได้" โอกาสธุรกิจที่เติบโตได้ของไทย
อ่านเพิ่มเติม
blockdit.com
[Bnomics] “พลาสติกย่อยสลายได้” โอกาสธุรกิจที่เติบโตได้ของไทย
“พลาสติกย่อยสลายได้” โอกาสธุรกิจที่เติบโตได้ของไทย
#ขยะพลาสติก #พลังงานจากขยะ #COP26
#Bnomics #เศรษฐศาสตร์ #Economics
ผู้เขียน : ปรียา ชัชอานนท์ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Reference :
https://adeq.or.th/%E0%B8%82%E0%B8%A2%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%9D%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/
https://thaimsw.pcd.go.th/report_country.php?year=2556
http://bangkokgreencity.bangkok.go.th/greencity/waste.aspx
https://www.pcd.go.th
https://news.thaipbs.or.th/content/288474
https://www.thebangkokinsight.com/news/environmental-sustainability/540368/#:~:text=%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2,%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%206.4%20%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99
https://www.uac.co.th/th/knowledge-sharing/349/waste-to-energy
https://www.dede.go.th/download/stat63/Thailand%20Alternative%20Energy%20Situation%202020.pdf
http://www.ej.eric.chula.ac.th/content/6137/301
https://www.salika.co/2021/05/28/single-use-plastic-solution-episode1/
http://www.eppo.go.th/index.php/th/petroleum/biofuel/oil-garbage
https://openknowledge.worldbank.org/handle/10986/35114
https://www.tei.or.th/th/blog_detail.php?blog_id=51
https://www.nxpo.or.th/th/bcg-economy/
https://tdri.or.th/en/2021/06/disparity-worsens-ocean-pollution/
https://www.bangkokbankinnohub.com/th/%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81-%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%94/
https://earth911.com/
cop26
ขยะ
พลังงาน
11 บันทึก
16
1
32
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
B-Industry
11
16
1
32
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย