Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ชีวิต ∙ อิคิ ∙ 生き : ใช้ชีวิตแบบที่อยากมีชีวิต
•
ติดตาม
18 พ.ย. 2021 เวลา 00:01 • หนังสือ
==========================
“สัปดาห์ละบทสองบท” || วันพฤหัสบดี
==========================
🕊• MAKOTO MARKETING
✍🏻• ดร.กฤตินี พงษ์ธนเลิศ เขียน
🔖• 01 || จุดเริ่มต้นของธุรกิจ คือ การแก้ปัญหา
📝• บันทึกใจความแบบดิบ ๆ ที่ยังไม่ผ่านกระบวนการแปรรูป พร้อม บันทึกการอ่านของ อิคิ ∙ 生き
[ MAKOTO MARKETING ]
=========================
01 จุดเริ่มต้นของธุรกิจ
คือ การแก้ปัญหา
---
บริษัทรับจัดงานเทศกาลประจำเมือง
ที่สร้างรายได้จากการจับคู่
=========================
มีนักศึกษาท่านหนึ่งมาปรึกษาอาจารย์เกตุว่า จะทำอย่างไรเขาจึงจะขายครองแครงทอดซึ่งเป็นธุรกิจที่เขากำลังทำกับพี่สาวได้ เนื่องจากปัจจุบันมีเพียงแค่คนรู้จักเท่านั้นที่สั่งซื้อ
อาจารย์เกตุถามเขาว่า “ครองแครงของเราเจ๋งตรงไหน”
นักศึกษาตอบอย่างไม่ค่อยแน่ใจว่า “ก็ทำเองเป็นโฮมเมด และ มีรสชาติอร่อย มั้งครับ” และ
อาจารย์เกตุถามต่อว่า “ทำไมคนต้องมาซื้อครองแครงเราด้วยล่ะ ทำไมเขาไม่ไปซื้อขาไก่ทอดแทน”
แทนที่จะตอบคำถามนักศึกษาถามเพิ่มว่า “ครูว่าผมปรับแพ็กเกจจิ้งดีไหม โลโก้ผมดูดีหรือยัง ชื่อแบรนด์เตะตาหรือเปล่า”
ก่อนอาจารย์เกตุจะตอบคำถามนิสิตท่านนี้ อาจารย์ได้เล่าเรื่องของบริษัท Omatsuri Japan ให้เขาฟังค่ะ
[ MAKOTO MARKETING ]
Omatsuri Japan เป็นบริษัทที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างชุมชนต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่นที่ต้องการจัดงานเทศกาล กับ บริษัทเอกชนที่ต้องการเป็นสปอนเซอร์เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการต่าง ๆ ของพวกเขา
ในประเทศญี่ปุ่นจะมีการจัดเทศกาลตามท้องถิ่นต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น งานแห่ศาลเจ้า งานจุดพลุ ในหนึ่งปีจะมีการจัดเทศกาลทั่วเกาะญี่ปุ่นกว่า 300,000 งาน โดยมีตั้งแต่งานเล็กไปจนถึงเทศกาลใหญ่ ๆ เช่น เทศกาลแห่โคมเนบุตะ ที่มีคนเข้าร่วมงานประมาณ 2.6 แสนคน สร้างรายได้ให้ชุมชนมากถึง 10,000 ล้านบาทเลยทีเดียว
คุณยูโกะ คาโต้ เป็นผู้ที่ชื่นชอบในการไปเที่ยวงานเทศกาลเป็นอย่างมาก และ มีโอกาสได้ออกแบบโปสเตอร์และอุปกรณ์ตกแต่งในชุมชนบ้านเกิดของเธอและเมืองใกล้เคียงอย่างสม่ำเสมออีกด้วย
ภายหลังจากเหตุการภัยพิบัติสึนามิ แม้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่คนในเมืองก็ยังคงจัดเทศกาล เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันดีต่อกัน อีกทั้งยังเป็นโอกาสให้ผู้ประสบภัยที่พลัดพรากจากกันได้กลับมาพบกันอีกด้วย
คุณคาโต้ สัมผัสได้ว่า “งานเทศกาล ทำให้ผู้คนกลับมามีความสุข และมีพลังอีกครั้ง”
แต่ปัญหาของการจัดเทศกาลเหล่านี้คือ แทบทุกงานจะขาดเงินทุน มักจัดกิจกรรมซ้ำ ๆ เดิม ๆ ขาดความแปลกใหม่ ขาดคณะทำงานที่เป็นคนรุ่นใหม่
ปัญหานี้จึงที่มาในการเปิดบริษัท Omatsuri Japan ในปี 2014 ของคุณคาโต้ค่ะ คุณคาโต้ มีเป้าหมายในการทำให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับงานเทศกาล ไม่ว่าจะเป็น แขกที่เข้าร่วมงาน คนในท้องถิ่น บริษัทสปอนเซอร์มีความสุข
ความฝันของคุณคาโต้ คือ เธออยากเห็นคนสนุกกับการไปงานเทศกาล เหมือนไปดูหนังหรือไปสวนสาธารณะ
ในปีแรกคุณคาโต้เป็นพนักงานคนเดียวของบริษัท และ ลงทุนด้วยเงินส่วนตัวเพียง 300,000 บาท และ เธอก็ได้พบว่ามีบริษัทเอกชนมากมายอยากเข้าไปเป็นสปอนเซอร์งานเทศกาล เพราะจะได้เข้าถึงคนในท้องถิ่นจำนวนมาก แต่บริษัทเหล่านี้ก็ไม่ทราบว่างานเทศกาลแต่ละแห่งจัดที่ไหน เมื่อไหร่ และมีจุดเด่นอะไร
ดังนั้น บริษัทของคุณคาโต้ จึงทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษา รับทำอีเวนต์ให้กับชุมชนต่าง ๆ และยังเป็นตัวกลางที่เชื่อมประสานระหว่างบริษัทสปอนเซอร์และผู้จัดงานได้มาพบกันอีกด้วยค่ะ
ส่ิงนี้นอกจากจะทำให้งานเทศกาลต่าง ๆ มีผู้เข้าร่วมงานเพิ่มขึ้นแล้ว งานเทศกาลก็ยังได้รับเงินทุนจากสปอนเซอร์อีกด้วย ส่วนสปอนเซอร์ก็ได้มีโอกาสใกล้ชิดกับกลุ่มเป้าหมาย นำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือทำการตลาดในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านงานเทศกาล
รายได้ของบริษัท Omatsuri Japan จะมากจากการช่วยจัดงาน การช่วยหาสปอนเซอร์ การจัดทัวร์เที่ยวงานเทศกาล หรือช่วยวางแผนกิจกรรมโปรโมตสินค้าให้กับสปอนเซอร์
หลังจากนั้นเธอก็ได้ขยับขยายให้บริการการเช่าอุปกรณ์การจัดงานต่าง ๆ รวมไปถึงการออกแบบสื่อต่าง ๆ ของงานอีกด้วย
นอกจาก Omatsuri Japan จะเป็นผู้เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างผู้จัดงานและบริษัทสปอนเซอร์แล้ว เธอยังทำหน้าที่เชื่อมโยงผู้จัดงานเทศกาลในแต่ละเมือง เพื่อแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ต่าง ๆ ให้กันและกันด้วยค่ะ
คุณคาโต้กล่าวว่า “ตอนที่ดิฉันทำบริษัทมาได้ปีครึ่ง ดิฉันยังไม่ค่อยมั่นใจว่า มันจะกลายเป็นธุรกิจได้หรือเปล่า แต่ดิฉันก็ลองทำดู และไม่ล้มเลิก ช่วงแรกก็ลำบากนะ แต่พอทำ ๆ ไปเริ่มได้รับความสนใจ และดิฉันก็ได้เจอเพื่อนเพิ่มขึ้น”
ปัจจุบัน Omatsuri Japan เป็นบริษัทที่ใครก็ตามที่ต้องการจัดงานเทศกาลจะคิดถึงเป็นอันดับแรกค่ะ
[ MAKOTO MARKETING ]
===============
แลกเปลี่ยนความเห็น
===============
หลังจากอาจารย์เกตุเล่าเรื่องบริษัท Omatsuri Japan ให้ลูกศิษย์ท่านนั้นฟัง อาจารย์ฯ ก็ถามเขาว่า . . .
“เธอทำธุรกิจครองแครงทอดของเธอไปทำไม”
นิสิตตอบว่า “ก็ช่วยให้ผมกับพี่สาวอยู่รอดไงครับ” [ อิคิ ∙ 生き : เอิ่ม . . . 😅 ]
อาจารย์ถาม : “ทำไม Omatsuri Japan เติบโต แต่ร้านเราไม่ค่อยโต”
นิสิตตอบ : “เขาช่วยแก้ปัญหาลูกค้า และยังไม่มีใครทำแบบนี้มาก่อน”
อาจารย์ถาม : “แล้วครองแครงเราช่วยลูกค้าอย่างไรบ้าง”
นิสิตตอบ : “ผมไม่เคยคิดมาก่อนเลย คิดแต่ว่าจะทำยังไงให้ยอดขายเพิ่มขึ้น”
จุดเริ่มต้นของการทำธุรกิจ ไม่ใช่การคิดว่าเราจะเติบโตหรือสร้างยอดขายอย่างไร แต่มาจากการแก้ปัญหา หรือช่วยเหลือลูกค้าบางอย่าง
ในกรณี Omatsuri Japan คุณคาโต้เห็นปัญหาของผู้จัดงานเทศกาล จึงเข้าไปช่วยตั้งแต่การออกแบบ การหาอุปกรณ์ การหาสปอนเซอร์ เพื่อทำให้ผู้จัดงาน ได้จัดงานที่น่าสนใจ มีเงินทุน มีคนเข้าร่วม ส่วนสปอนเซอร์ก็ได้จัดกิจกรรมทางการตลาด
หากเริ่มต้นด้วยเป้ายอดขาย เราจะทำธุรกิจด้วยการแข่งกับคนอื่น ท้ายที่สุดก็ต้องลด แลก แจก แถม จบด้วยสงครามราคา
หากเริ่มธุรกิจด้วยการเห็นปัญหาและแก้ไขอย่างเต็มที่ เราจะได้ทั้งกำไรและความรักจากลูกค้า
[ MAKOTO MARKETING ]
========
แบบฝึกหัด
========
“ครองแครงทอด จะช่วยแก้ปัญหาอะไรให้ลูกค้าได้บ้าง”
[ MAKOTO MARKETING ]
====
เฉลย
====
①
ปัญหา || “คุณแม่ต้องซื้อขนมหลายอย่างเพื่อให้สมาชิกครอบครัวทุกคนทั้งคุณตาคุณยายและลูกกินได้อย่างเอร็ดอร่อย” --- ไอเดียธุรกิจ || “สื่อสารว่า ครองแครงเป็นขนมที่ถูกใจทั้งเด็กและผู้ใหญ่ หนึ่งถุงจบ สยบทั้งบ้าน”
②
ปัญหา || “ครองแครงปัจจุบัน หยิบแล้วเลอะมือ” --- ไอเดียธุรกิจ || “คิดครองแครงแบบใหม่ ไม่เลอะมือ หรือแถมที่หนีบครองแครงไปในแพ็กเกจจิ้ง”
③
ปัญหา || “งานยุ่ง ไม่มีเวลาพักผ่อน หย่อนใจ” --- ไอเดียธุรกิจ || “ชวนกลับไปคิดถึงวัยเด็ก ทำแพ็กเกจจิ้งให้ดู Nostalgia [ เป็นแนวย้อนยุค ] อาจแปะเรื่องราวของเนื้อบางส่วนจากหนังสือนอกเวลาที่เราเคยอ่านกัน เช่น มานะมานี เพื่อให้ผู้รับประทานอ่านเพลิน ๆ ”
[ อิคิ ∙ 生き's Memo ]
อิคิ ∙ 生き คิดว่าแม้เราจะเริ่มต้นธุรกิจด้วยความรักและความปรารถนาดีที่จะช่วยลูกค้าแก้ปัญหา แต่อย่างไรเราก็ต้องอดทนนะคะ กำไร ความรักจากลูกค้าที่อาจารย์เกตุกล่าวถึง จากประสบการณ์ของ อิคิ ∙ 生き ไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นง่าย ๆ แต่เราต้องพิสูจน์ตัวเองก่อน
ดังนั้นระหว่างเริ่มต้นธุรกิจเราควรจะจดจ่ออยู่กับปัจจุบันค่ะ ว่าจะทำอย่างไรถึงจะแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้ ค่อย ๆ เรียนรู้ สังเกตุ เก็บข้อมูลและตั้งคำถามกับตัวเองอยู่เสมอว่า “เราจะแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้อย่างไร” “เราจะทำอย่างไรลูกค้าถึงจะมีความสุขยิ่งขึ้น”
ไม่ใช่ว่าทำแป๊บเดียวแล้วก็คิดว่า “เราก็ใส่ความรัก ความปรารถนาดีแล้ว ทำไมกำไรยังไม่มา คำร้องเรียนของลูกค้าก็ยังมี” ถ้าเราเป็นแบบนั้น เราจะไม่มีความสุขกับธุรกิจที่ทำค่ะ และที่สำคัญเราจะทำได้ไม่ตลอดรอดฝั่ง ต้องยอมแพ้ไปเสียก่อน
อิคิ ∙ 生き ก็เคยเริ่มต้นทำบางสิ่งบางอย่างแบบที่มุ่งเน้นกำไรและผลลัพธ์เป็นอย่างแรก นอกจากจะทำให้ผลงานไม่ยั่งยืนแล้ว เราก็ไม่ได้รับความอิ่มเอมจากสิ่งที่ทำอยู่ด้วยค่ะ ท้ายที่สุดก็ต้องยอมแพ้ไปหาเวลาพักฟื้นฟูแผลใจสักซักค่ะ
สำหรับ อิคิ ∙ 生き ในฐานะนักวางแผนการเงิน อิคิ ∙ 生き เริ่มต้นอาชีพนี้ด้วยความตั้งใจในการเป็นกองหลังด้านการเงินให้กับชีวิตผู้คนค่ะ ในฐานะนักวางแผนการเงิน อิคิ ∙ 生き เชื่อว่า คนทุกคน มีความรู้ ความชอบ ความถนัด และ ทักษะต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไป แต่เรื่องเงินเป็นเรื่องที่ทุกคนจะต้องบริหารจัดการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
อิคิ ∙ 生き เชื่อว่าปัจจุบันมีใครหลาย ๆ คนที่กำลังคิดแบบนี้อยู่ค่ะ . . .
• “ถ้าฉันไม่ถนัดเรื่องการบริหารเงิน ไม่มีเวลาในการมาศึกษาหาข้อมูล หรือแม้กระทั่งต้องการเพื่อนคู่คิดที่จะมาช่วยตอบข้อสงสัยเรื่องเงิน มันจะมีใครสักคนไหมที่จะมาช่วยฉันในเรื่องเหล่านี้ได้บ้าง”
• “ถ้าฉันเป็นคนเก็บเงินไม่เก่ง เผลอใช้จ่ายอยู่เสมอ จะมีใครไหมที่จะมาช่วยฉันควบคุมการใช้จ่ายได้”
• “ฉันเก็บเงินได้มาก แต่ก็พักเงินในบัญชีออมทรัพย์เป็นหลัก จะมีใครสักคนไหมที่มาช่วยวางแผนทำให้เงินฉันงอกเงย”
• “สักวันนึงฉันจะไม่สามารถทำงานได้ แล้วฉันจะมีเงินเพียงพอใช้จ่ายในตอนนั้นหรือไม่ แล้วฉันจะรู้ได้อย่างไรว่าฉันต้องเก็บเงินเท่าไหร่ ใครจะตอบฉันเรื่องนี้ได้บ้าง”
อิคิ ∙ 生き เชื่อว่านี่คือปัญหาของใครหลาย ๆ คนค่ะ และคนกลุ่มนี้ต้องการใครสักคนที่วางใจได้ที่จะมาช่วยเขาบริหารจัดการเรื่องเงิน เพื่อที่เขาเหล่านั้นจะได้มีเวลาไปทำสิ่งที่ตนเองชอบและถนัดได้อย่างเต็มที่
อิคิ ∙ 生き จะเป็นคน ๆ นั้นที่ลูกค้าถามถึงค่ะ ดังนั้นบทบาทหน้าที่ของ อิคิ ∙ 生き จึงเป็นกองหลังด้านการเงินให้กับชีวิตของลูกค้า ด้วยการ . . .
• ผู้ร่วมกำหนดเป้าหมายด้านการเงินที่เกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิต
• เป็นผู้นำเสนอแผนการดำเนินการเพื่อให้เจ้าของแผนการเงินได้ลงมือปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ
• เป็นผู้พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ให้กับลูกค้า
• เป็นเพื่อนร่วมทางและเป็นเพื่อนคู่คิดที่จะเดินเคียงข้างกันไปจนกว่าเขาเหล่านั้นจะถึงจุดหมายปลายทาง
ดังนั้นเมื่อลูกค้ามี อิคิ ∙ 生き เป็นกองหลังด้านการเงินให้แล้ว อิคิ ∙ 生き เชื่อว่าเขาเหล่านั้นจะใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจและอุ่นใจในเส้นทางเขาเลือกเดินมากขึ้น ที่สำคัญทำให้ลูกค้าสามารถจดจ่อทำสิ่งที่ตนเองมีความสามารถ ชอบและถนัดได้อย่างเต็มที่ เมื่อลูกค้าได้ทำสิ่งที่ชอบ อิคิ ∙ 生き เชื่อว่าสิ่งนี้จะเป็นการยกระดับชีวิตของเขา รวมไปถึงคนรอบข้าง สังคม และประเทศชาติด้วยค่ะ
อิคิ ∙ 生き ของอนุญาตกลับมาเรื่องของการทำธุรกิจสักนิดนะคะ ในการประสบความสำเร็จของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง อิคิ ∙ 生き คิดว่าจริง ๆ แล้วมันมีหลายองค์ประกอบค่ะ ทั้งตัวเรา ลูกค้า คู่ค้า สถานการณ์ตลาด ฯลฯ ทั้งที่เราควบคุมได้และไม่ได้
แต่อย่างน้อยถ้าเราเริ่มต้นธุรกิจด้วยความรัก ความปรารถนาดี จดจ่อกับความสุขของลูกค้า ก็จะทำให้เรามีความอิ่มเอมไปตลอดเส้นทางธุรกิจที่เราเลือกเดิน ไม่ว่าธุรกิจเราจะประสบปัญหาอย่างไร หัวใจในการทำธุรกิจของเราจะมีคุณภาพเสมอค่ะ
สำหรับวันนี้ อิคิ ∙ 生き ขอฝากการบ้านจากอาจารย์เกตุให้กับทุกท่านดังนี้นะคะ
“ทุกท่านคิดว่าทุกวันนี้ท่านทำอาชีพการงานของท่านเพื่ออะไร ท่านได้แก้ปัญหาใดให้กับเพื่อนร่วมงาน หน่วยงานและลูกค้าของท่านบ้าง”
ส่วนท่านใดที่กำลังคิดริเริ่มบางสิ่งบางอย่าง ก็ลองถามตัวเองดูนะคะว่า “เรากำลังจะทำสิ่งนี้ไปเพื่ออะไร สิ่งที่เรากำลังจะลงมือทำนั้นสร้างประโยชน์อย่างไรบ้าง”
สำหรับวันนี้ อิคิ ∙ 生き ขอลาไปก่อนแล้วพบกันใหม่กับ Makoto Marketing ในวันพฤหัสบดีหน้านะคะ สวัสดีเช้าวันพฤหัสบดีค่ะ 🙏🏻😊
หมายเหตุ : หากเพื่อน ๆ ท่านในสนใจเรื่องราวจาก Makoto Marketing จนอดใจรอให้ อิคิ ∙ 生き สรุปทีละสัปดาห์ไม่ไหวก็สามารถสั่งซื้อหนังสือได้ที่ Link ด้านล่างนะคะ
https://www.readthecloud.store/product/makoto-marketing/
#สัปดาห์ละบทสองบท #makotomarketing---
บันทึก
1
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สัปดาห์ละ. . .บท 2 บท
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย