Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
A WAY OF LIFE : ทางผ่าน
•
ติดตาม
18 พ.ย. 2021 เวลา 06:07 • ปรัชญา
"การพิจารณาธรรมกับความฟุ้งซ่านต่างกันยังไง ?"
" ... เราจะได้เรียนรู้สภาวธรรมไหน
ก็เมื่อเราได้ปฏิบัติและเข้าถึงสภาวธรรมนั้นนั่นเอง
อย่างจิตปุถุชนก็จะเป็นจิตที่ส่งออก
ไหลออกไปกับอารมณ์ นึกคิดปรุงแต่งต่าง ๆ
ปรุงแต่งทั้งวันก็ไม่รู้ตัวนั่นเอง
เขาเรียกว่า เกิดนันทิ
ความเพลิดเพลินในอารมณ์
เมื่อเราอบรมสติปัฏฐาน 4
เริ่มมีสติ มีความรู้สึกตัวขึ้นมา
ท่านเรียกว่า ละนันทิ
คือความเพลิดเพลินในอารมณ์
...
ในขณะที่มีสติ มีความรู้สึกตัว
ความเพลิดเพลินในอารมณ์จะถูกละออกไป
เมื่อเพียรเจริญสัมมาสติ
ทำความรู้สึกตัวอยู่เนือง ๆ
ถึงจุดหนึ่ง จิตตั้งมั่นเข้าสู่ระดับสมาธิ
ก็รู้กายได้ทั้งกาย
รับรู้ความรู้สึกของจิตใจได้
เห็นการปรุงแต่งของใจได้
จะรู้สึกว่าใจเริ่มนิ่ง
ก็เริ่มรู้กายรู้ใจขึ้นมาได้โดยเป็นธรรมชาติ
เมื่อฝึกไปถึงจุดหนึ่ง
กำลังดีขึ้น ก็จะเข้าสู่ฐานเวทนา
จะรับรู้สภาวะภายในที่มีความมั่นคงขึ้น
ก็ยังรู้สึกว่ากายยังเป็นเนื้อเดียวกันอยู่
แต่จะรู้สึกได้ทั้งตัว
ที่เรียกว่า รู้สึกตัวทั่วพร้อม นั่นเองนะ
เมื่อฝึกไปถึงจุดหนึ่งเริ่มเกิดความซ่าน
เกิดความเบาสบาย เกิดความนิ่งสงบ
ถึงจุดหนึ่ง จิตมันเริ่มนิ่งตั้งมั่น
เกิดการแยกกายแยกจิตออกมา
จะรู้สึกกายเหมือนหุ่นยนต์
หรือเหมือนสิ่ง ๆ หนึ่งที่เคลื่อนไป
แต่ใจเราตั้งมั่นเป็นผู้รู้อยู่
จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้
ครูบาอาจารย์ท่านจะชอบเน้นสภาวะตรงนี้
ที่เรียกว่า จิตผู้รู้ นั่นเอง
เพราะว่าการที่จะเดินปัญญา
ยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาญานได้
ต้องเข้าถึงสภาวะที่จิตตั้งมั่นก่อน
หรือจิตผู้รู้นั่นเอง
อาตมาบวชได้ยินตั้งแต่วันแรก
หลวงพ่อท่านจะเน้นมากเลย จิตผู้รู้เนี่ย
อะไรก็จิตผู้รู้
แต่ด้วยโชคดีที่ว่าฝึกมาก่อน มีจิตตั้งมั่นก่อน
ก็เลยรู้จักตรงนี้
หลายคนไม่รู้จักจิตผู้รู้ว่าเป็นอย่างไร
ก็จะพยายามควานหา
สมัยอยู่วัดก็เป็นพี่เลี้ยง
ตั้งแต่แรกก็จะเห็นคำถามต่าง ๆ นา ๆ
ยิ่งหา มันไม่เจอหรอกนะ
มันเป็นผลจากการฝึก
ก็คือเราฝึกสติ จนสติตั้งมั่น
แยกกายแยกจิต มันเกิดขึ้นเอง
ไม่ใช่เราไปกำหนดว่าจะต้องทำ
เป็นผลจากการฝึกสติปัฏฐานนั่นเอง
พอฝึกไปถึงจุดหนึ่ง จิตตั้งมั่น
แยกกาย แยกจิต
และก็เกิดการแยกกายโดยธรรมชาติ
เพราะฉะนั้น เราปฏิบัติ
เราเข้าถึงสภาวะระดับไหน
เราจะได้เรียนรู้และเข้าใจสภาวธรรมระดับนั้นนั่นเอง
...
เมื่อจิตตั้งมั่นเกิดความตื่นรู้
จะเรียกว่า เกิดสภาวธรรมคู่ ขึ้นมา
ก็คือ ผู้รู้ และ สิ่งที่ถูกรู้ นั่นเอง
เมื่ออยู่กับความตื่นรู้อย่างนี้ไปเรื่อย ๆ
ถึงจุดหนึ่งจะเกิดสภาวะรู้ ตื่น แล้วก็เบิกบาน
ธรรมทั้งหลายก็จะปรากฏตามความเป็นจริง
ก็จะยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาญานได้
วิปัสสนาญานเป็นอีกระดับหนึ่งจากจิตผู้รู้นะ
เป็นชั้นของวิปัสสนาญาน
จะรับรู้การแตกดับของสรรพสิ่งได้
ของรูป นาม ขันธ์ ๕ ได้
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
รูปแตกดับประดุจฟองน้ำ
เอ๊ะ แตกดับยังไง ฟองน้ำ
ปกติร่างกายเราก็รู้สึก
มันเป็นเนื้อ เป็นหนัง เป็นเอ็น เป็นกระดูก
นี่คือเราเห็นแบบสมมติ
อวิชชามันบังอยู่ สมมติมันบัง
แต่เมื่อเราฝึกจนเข้าถึงสมาธิ
เราก็จะจับเรื่องของความรู้สึกได้
รูปร่างมันหายไป
แต่เมื่อเข้าถึงวิปัสสนาญาน
จะรู้เลยว่าเมื่อญานหยั่งลงในที่ใด
ในเนื้อ ในหนัง ในเอ็น ในกระดูก
มันมีแต่การแตกดับยุบยับไปหมด
มันคือการแตกดับระดับเซลล์นั่นเอง
เพราะฉะนั้นทุกขณะจิต
มันมีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว
อันนี้ พอเกิดวิปัสสนาญาน
จะเข้าใจธรรมที่ลึกซึ้งยิ่ง ๆ ขึ้นไป
เมื่อวิปัสสนาญานมีความแก่กล้า
ญานมีความแก่รอบ
มันมีแต่ความเบื่อหน่ายในกองสังขาร
ที่มันปรุงแต่งไม่มีที่สิ้นสุด
มันพร้อมที่จะปล่อย ที่จะทิ้ง
ที่จะสลัดคืนจากทุกสิ่งทุกอย่างเองโดยธรรมชาติ
เหมือนผลไม้ มะม่วงเมื่อออกผลแล้ว
มันค่อย ๆ สุก พอสุกเต็มที่แล้ว
มันแก่เต็มรอบแล้ว
มันก็จะหลุดออกจากขั้วโดยธรรมชาติ
การปฏิบัติจนเกิดญานแก่รอบ
ถึงจุดหนึ่ง มันพร้อมที่จะทิ้งทุกอย่างโดยธรรมชาติ
หมดแล้ว ความอาลัยในตัณหา
ความพุ่งทะยานในโลก ทั้งหลายทั้งปวง
มันทิ้งทุกอย่างนั่นแหละ
เมื่อนั้น เหมือนผลไม้ที่หลุดจากขั้ว
จะคืนสู่ความเป็นกลางของธรรมชาตินั่นเองนะ
เพราะฉะนั้นการปฏิบัติมันเป็นสเต็ป ๆ (Step)ไป
คำว่า พิจารณาธรรม
ก็คือการที่เราลงมือปฏิบัติ
แล้วหยั่งเข้าสู่สภาวธรรมในระดับนั้น ๆ
ก็จะเกิดการเห็น เกิดการรู้แจ้งสภาวธรรม
ต่อหน้าต่อตา ในขณะนั้น ๆ นั่นเอง
มันไม่ได้เกิดจากการที่เราคิด
ใช้มันสมอง ตรรกะ ตีความว่า
รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์นะ ไม่ใช่ตัวเรานะ
อันนั้นยังเป็นระดับขั้นสัญญา
เป็นเบสิคเบื้องต้นอยู่นั่นเอง
แต่เมื่อลงมือปฏิบัติไปเรื่อย ๆ
จะหยั่งเข้าสู่สภาวธรรม
แล้วจะแจ้งแก่ใจของเราในสภาวธรรม
ระดับนั้น ๆ นั่นเอง
เหมือนเราจะรู้รสได้ เราก็ต้องชิมจริง ๆ
ถ้าเรายังไม่ได้ชิม
ต่อให้เราศึกษาตำรับตำรามาก อะไรมาก
ครูบาอาจารย์ว่าต่าง ๆ มาก
แต่เรายังไม่ได้ชิมจริง ๆ น่ะ
ก็ยังไม่ได้สัมผัสรสจริง ๆ ถูกไหม ?
เราจะสัมผัสรสจริง ๆ ได้
ต้องลงมือด้วยการฝึกปฏิบัตินั่นเอง
ก็ค่อย ๆ เรียนรู้ ฝึกปฏิบัติไป ... "
.
ธรรมบรรยาย
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
เยี่ยมชม
youtube.com
การพิจารณาธรรมกับความฟุ้งซ่านต่างกันยังไง ? | ธรรมให้รู้•2564 : ตอนที่ 213
Photo by : Unsplash
3 บันทึก
3
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
คำสอนครูบาอาจารย์
3
3
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย