Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
K-POP.Worldwide
•
ติดตาม
20 พ.ย. 2021 เวลา 23:56 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์
• ต้นกำเนิด “อุลตร้าแมน” (Ultraman)
4
ความจริงอันแรก: ย้อนไปในปี 2497 เด็กหนุ่ม “เอจิ” ได้ประสบความสำเร็จในการทำหนังเรื่อง “ก็อตซิลล่า” (Godzilla) ซึ่งเขาได้แรงบันดาลใจจากหนังที่เคยดูสมัยเด็กๆ เรื่อง “คิงคอง” (King Kong)
6
Godzilla (2497): Credits photo to https://delphipages.live/th
เขาได้ตั้ง “บริษัท สึบุระยะ สเปเชียล เอฟเฟ็คส์ โปรดักชั่นส์” และในปี 2509 เขาทำซีรี่ย์ชุดทางทีวีแนวฮีโร่ที่ชื่อ “อุลตร้าแมน” แต่น่าเสียดายที่อาจารย์เอจิได้เสียชีวิตในช่วงที่กำลังถ่ายทำซีรี่ย์ทีวีชุด “อุลตร้าเซเว่น” ในวันที่ 25 มกราคม 2513 สิริอายุรวม 68 ปี
4
ความโด่งดังนี้เอง ไม่ได้หยุดอยู่แค่เฉพาะที่ประเทศญี่ปุ่น สี่ปีต่อมาอุลตร้าแมนได้ถูกนำมาสร้างเป็นหนังไทยในชื่อ “หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์” เข้าฉายครั้งแรกในปี 2517
6
หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์ (2517): Credits photo to https://thaibunterng.fandom.com/th
โดยความร่วมมือกันระหว่างไชโยภาพยนตร์ ซึ่งก่อตั้งโดย “สมโพธิ แสงเดือนฉาย” และ “สึบุรายะโปรดักชั่นส์” หนังคลาสสิค และเป็นเรื่องราวที่สอนใจเด็กๆ ยังคงส่งต่อมาจนถึงเยาวชน และผู้ใหญ่ที่เติบโตขึ้นในยุคปัจจุบัน
5
อ้างอิง (1):
www.metalbridges.com/ultraman-story
4
ความจริงอันที่สอง คือ “สมโพธิ แสงเดือนฉาย” ผู้ให้กำเนิดอุลตร้าแมน เป็นไอเดียและจินตนาการที่คิดค้นขึ้นโดยตัวเขาเอง ซึ่งขณะนั้นได้ ไปศึกษาวิชาการทำหนังที่ “บริษัทโตโฮ” (Toho Company) ประเทศญี่ปุ่น
5
ด้วยวัยเพียงแค่ 20 ปี ระหว่างเป็นลูกศิษย์โปรดของอาจารย์ “เอจิ สึบุระยะ” (Eiji Tsuburaya) สมโพธิเล่าว่า “มันเป็นจินตนาการจากสมัยที่ตัวเขายังเป็นเด็กวัด ได้สัมผัสใบหน้าพระพุทธรูปที่อมยิ้มยุคสุโขทัย อาทิเช่น พระอัฏฐารสปางเปิดโลก พระปางลีลา และพระปางห้ามญาติ เป็นต้น
4
พระอัฏฐารศ วัดมหาธาตุ จ.สุโขทัย พระพุทธรูปต้นแบบของยอดมนุษย์อุลตร้าแมน Credits to www.clipmass.com/story/15739
แนวคิดในการสร้างฮีโร่จึงต้องเป็นยอดมนุษย์ ผู้ใช้ธรรมะปราบอธรรม จึงนำรูปแบบมาดัดแปลงสอดใส่ลงในตัวอุลตร้าแมนที่มีหน้าตาสวยงามดูมีเสน่ห์ แต่แฝงไว้ซึ่งความแข็งแรงบึกบึน สมโพธิเลยเสนอไอเดียนี้กับอาจารย์เอจิ
4
อ้างอิง (2):
https://tna.mcot.net/tna-343678
4
การได้ลิขสิทธิ์มาจากที่ลูกชายของอาจารย์เอจิ “โนโบรุ“ (Noboru Tsuburaya) ที่เขาให้ความนับถือเสมือนว่าเป็นพี่เป็นน้องกันแท้ๆ ได้ยื่นเสนอลิขสิทธิ์อุลตร้าแมนโดยแลกกับเงิน 16.2 ล้านเยน
4
สมโพธิให้หยิบยืมเงินเพื่อนำไปสร้างหนังเรื่องจัมโบ้เอซ (Jumbo Ace) และจากเงินทุน 16.2 ล้านเยน ที่สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำร่วม 100 ล้านเยน ให้กับโนโบรุภายในเวลา 2-3 ปี
5
Jumbo Ace, Credits photo to www.tvtime.com/pt_BR/show/322506
แต่ลูกชายโนโบรุปฏิเสธที่จะคืนเงิน และแบ่งส่วนรายได้ต่างๆ ให้แก่สมโพธิ แต่เลือกที่จะโอนลิขสิทธิ์อุลตร้าแมนให้แทน (ตอนนั้นอุลตร้าแมนคงยังไม่ดังอะไร) เขาจึงได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์นี้และสร้างรายได้มหาศาลจากทั่วโลกในเวลาต่อมา
4
จนกระทั่งบริษัทญี่ปุ่นที่ชื่อ บริษัท สึบุระยะโปรดักส์ชั่น จำกัด (Tsuburaya Productions Company) ยื่นฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย 1,750 ล้านบาทกับบริษัทไชโยของสมโพธิ ในข้อกล่าวหาละเมิดลิขสิทธิ์
4
ความจริงเป็นเรื่องพิสูจน์ได้ โดยการรวบรวมข้อมูลเอกสาร และพยานต่างๆ ไปศาล เพื่อนำสืบพยานในฐานะที่ตกเป็นจำเลย ใช้พยานเกือบ 400 คน สุดท้ายศาลญี่ปุ่นตัดสินให้คนไทยเป็นผู้ชนะหลังหมดค่าทนายไป 80 ล้านบาท และใช้เวลาต่อสู้คดีถึง 5 ปี
4
ศาลของญี่ปุ่นได้พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งคดีอาญาและแพ่ง ขณะเดียวกันในส่วนของการฟ้องแย้งของจำเลยที่เรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ถึง 1,750 ล้านบาทนั้น ศาลพิพากษาให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยจำนวน 12 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
5
เรื่องมาเข้มข้นเมื่อสึบุระยะไม่ยอมแพ้ หลังจากเห็นสมโพธิสร้างอุลตร้าแมนตัวใหม่ขึ้นมาอีก ได้แก่ อุลตร้าแมนมิลเลเนี่ยม, อุลตร้าแมนอีลิท และยังสร้างซีรีส์โปรเจกต์อุลตร้าแมน โดยมีดาร์คอุลตร้าเป็นตัวใหม่ขึ้นมาอีกตัว
4
Ultraman Darlness Heels: Credits photo to https://en.tsuburaya-prod.co.jp/news/690
สึบุระยะจึงไปฟ้องต่อศาลที่ประเทศไทยเพื่อยับยั้งไม่ให้สมโพธิสร้างอุลตร้าแมนตัวใหม่แตกยอดจากอุลตร้าแมนชุดเก่าที่สมโพธิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์นอกประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในการตัดสินคดีครั้งนั้นสึบุระยะเป็นผู้ชนะคดีเป็นเหตุให้สมโพธิต้องระงับโปรเจกต์อุลตร้าแมนตัวใหม่ รวมถึงซีรีส์อุลตร้าแมนที่ลงทุนไปแล้วมหาศาลอีกด้วย
4
ความพ่ายแพ้ของสมโพธิในครั้งนั้นเป็นเหตุให้เกิดการฟ้องร้องครั้งสุดท้าย เพื่อให้ศาลทำหน้าที่ตัดสินชี้ขาดไปเลยว่าลิขสิทธิ์อุลตร้าแมนนอกประเทศญี่ปุ่น ซึ่งนำมาซึ่งรายได้มหาศาลหลักพันล้านบาทต่อปีนั้นเป็นของใครกันแน่ระหว่างสมโพธิกับบริษัทสึบุระยะโปรดักชั่นส์
4
ซึ่งสมโพธิยื่นฟ้องบริษัทสึบุระยะต่อศาลโตเกียว ในขณะที่บริษัทสึบุระยะเองก็ฟ้องกลับสมโพธิต่อศาลที่กรุงเทพฯ ด้วย แต่ศาลที่กรุงเทพฯ ยกฟ้องไป จึงเหลือเพียงคดีที่ศาลโตเกียวต้องทำหน้าที่ไต่สวนซึ่งมาได้ข้อสรุปว่าสมโพธิเป็นผู้ถือครองลิขสิทธิ์อุลตร้าแมนนอกประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2553 ที่ผ่านมานี่เอง
4
ท้ายที่สุดแล้วนอกจากคำตัดสินของศาลสูงสุดญี่ปุ่นจะให้สมโพธิเป็นฝ่ายชนะคดี นอกจากได้รับค่าชดเชยแล้ว และอุลตร้าแมนที่สมโพธิเป็นเจ้าของนอกประเทศญี่ปุ่นมีทั้งหมด 7 ตัว ได้แก่ อุลตร้าแมน ,อุลตร้าแมนโซฟี่, อุลตร้าเซเว่น, อุลตร้าแมนแจ็ค, อุลตร้าแมน เอซ, อุลตร้าแมนทาโร่ และ เจ้าแม่อุลตร้า ซึ่งเป็นตัวละครที่ปรากฏในหนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์นั่นเอง
4
หนุมาน กับ 7 ยอดมนุษย์, Credits photo to https://smart-tv.doomovie-hd.com/?r=movie_view&id=16989
อ้างอิง (3):
https://mgronline.com/entertainment/detail/9560000047393
4
และความจริงอันที่สาม คือ สมโพธิพูดเสมอว่าเขาเป็นคนออกไอเดียฮีโรตัวนี้ แต่เขาไม่ใช่คนที่ลงมือออกแบบ และไม่ได้ปั้นแบบด้วยตนเอง
4
ข้อเท็จจริงนี้ ต่อให้เป็นความจริงนั่นก็ไม่เพียงพอที่เขาจะได้ชื่อว่าเป็น “ผู้สร้างสรรค์” ดังที่ศาลไทยอธิบายว่า “ลำพังคุณคิดอะไรขึ้นมา แต่ไม่ได้ลงมือทำ กฎหมายเขาก็ไม่คุ้มครองความคิดให้คุณหรอก คุณต้องลงมือทำด้วย” (ขณะเดียวกันการลงมือทำไม่ได้แปลว่าต้องทำเอง แต่จ้างคนอื่นทำก็ได้)
4
ศาลไทยยังบอกต่อไปว่า “ไม่ปรากฏแน่ชัดว่านายเอจิได้นำแนวความคิดของสมโพธิที่เสนอไปใช้ในการสร้างผลงานอุลตร้าแมนจริงหรือไม่ เห็นว่าโจทก์ริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานอุลตร้าแมนเมื่อปี 2507 และเสร็จปี 2508 แต่สมโพธิไปศึกษาวิชาการโฆษณาซึ่งครอบคลุมถึงการสร้างภาพยนตร์เมื่อปี 2505”
4
การฝึกงานอยู่กับบริษัทโตโฮ เชื่อว่าในช่วงเวลาของการเริ่มสร้างอุลตร้าแมน สมโพธิเป็นเพียงนักศึกษาหรือผู้ฝึกงาน รวมทั้งไม่ได้เห็นถึงการลงทุนลงแรงหรือมีส่วนร่วมทำหรือร่วมก่อให้เกิดผลงานอุลตร้าแมนว่าเป็นไปได้มากแค่ไหน จึงทำให้มีน้ำหนักน้อยมาก เขาจึงมิได้อยู่ในฐานะผู้ “ร่วมสร้างสรรค์”
4
ศาลไทยพบข้อพิรุธในการอ้างสิทธิตามสัญญาของสมโพธิหลายประการ อย่างแรก สมโพธิอ้างว่า เขาทำสัญญากับโนโบรุ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2519 แต่ระหว่างนั้น เขาไม่เคยอ้างสิทธิตามสัญญาฉบับนี้เลย เมื่อโนโบรุคู่สัญญา (ตามที่สมโพธิอ้าง) เสียชีวิตลงเพียง “ไม่กี่วัน” เขาก็ไป “จดแจ้ง” ข้อมูลลิขสิทธิ์กับกรมทรัพย์สินทางปัญญาทันที
4
โดยแจ้งแค่สองเรื่องคือ ยักษ์วัดแจ้งพบจัมโบเอซ กับเรื่องหนุมานพบเจ็ดยอดมนุษย์ ในฐานะผู้ร่วมสร้างสรรค์ ไม่ได้กล่าวถึงซีรีส์อุลตร้าแมนตัวอื่น ๆ รวมถึงจัมโบเอซ (รวมเป็น 7 เรื่อง) ทั้ง ๆ ที่สัญญาดังกล่าวถ้าทำจริง เขาก็ควรแจ้งทั้งหมด
4
และตอนที่แจ้งกรมทรัพย์สินทางปัญญาก็กลับไม่ได้อ้างว่าสิทธิของเขามาจากสัญญาฉบับดังกล่าว (การแจ้งลิขสิทธิ์ ทางกรมฯ แค่เป็นการ “รับรู้” เท่านั้น แต่ไม่ได้เป็นการ “รับรอง” ว่าผู้นั้นเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์จริง ๆ แต่อย่างใด
4
ตลอดระยะเวลาราว 20 ปี สมโพธิไม่เคยบังคับใช้สิทธิของตัวเองเลย กลับปล่อยให้ทางสึบุระยะโปรดักชันส์แสวงหาประโยชน์นอกญี่ปุ่นโดยไม่ทักท้วง ผิดวิสัยที่เจ้าของสิทธิจะปล่อยให้คนอื่นละเมิดสิทธิของตนได้นานขนาดนั้น เขาเพิ่งจะมาอ้างสิทธิตามสัญญาก็ต่อเมื่อโนโบรุได้เสียชีวิตไปแล้วราว 1 ปี เท่านั้น
4
ศาลไทยจึงให้ความเห็นว่า นับว่าเป็นพฤติการณ์ที่ผิดปกติวิสัยสำหรับผู้ประกอบธุรกิจในด้านนี้เป็นอย่างยิ่ง เพราะในทางการค้าผู้ที่ลงทุนซื้องานลิขสิทธิ์มาย่อมต้องการหากำไรจึงต้องรีบแสวงหาผลตอบแทนโดยอาจทำสัญญาอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิเพื่อให้คุ้มค่าแก่เงินทุนที่ลงไป ทั้งการนำสัญญาพิพาทออกมาแสดงหลังจากนายโนโบรุถึงแก่ความตายยังอาจส่อให้เห็นได้ว่า เพื่อตัดโอกาสมิให้นายโนโบรุซึ่งถึงแก่ความตายแล้วโต้แย้งความถูกต้องแท้จริงของเอกสารได้
4
พิรุธอื่นที่พบคือ ลายมือชื่อของโนโบรุ ที่ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่า ลายมือชื่อในสัญญาที่สมโพธินำมาอ้าง ไม่ตรงกับลายมือชื่ออื่นๆ ของโนโบรุ ในสัญญาฉบับนี้ยังไม่มีกำหนดเวลาและค่าตอบแทนในการใช้สิทธิหรือการโอนสิทธิ์ให้กัน (ที่สมโพธิอ้างกับสื่อคือ เขาให้โนโบรุยืมเงิน โนโบรุจึงโอนลิขสิทธิ์ให้ แต่ข้อความดังกล่าวไม่ปรากฏในสัญญา ที่เป็นหนังสือโอนให้เปล่า)
5
ชื่อสัญญา ชื่อผลงานอุลตร้าแมน และรายละเอียดจำนวนตอนก็ไม่ถูก แต่ความพ่ายแพ้ของสมโพธิในเมืองไทย ก็ไม่ทำให้เขาท้อถอยที่จะอ้างต่อไปว่า เขาคือ “ผู้สร้างสรรค์” และเป็น “เจ้าของลิขสิทธิ์” อุลตร้าแมนตัวจริง เพราะคำพิพากษาของศาลไทย อย่างไรเสียก็มีอำนาจเพียงภายในเขตอธิปไตยของดินแดนไทยเท่านั้น
4
ล่าสุดในการพิจารณาคดีที่สหรัฐฯ คณะลูกขุนก็เชื่อว่า สัญญาที่สมโพธิอ้างนั้นเป็นเอกสารปลอม และศาลแขวงที่แคลิฟอร์เนีย ก็มีคำวินิจฉัยสอดคล้องกับความเห็นของคณะลูกขุนว่า เอกสารดังกล่าวไม่ใช่สัญญาที่แท้จริงที่ โนโบรุ สึบูรายะ ลงลายมือชื่อและประทับตราจริงๆ ไม่ต่างจากความเห็นของศาลฎีกาไทย ซึ่งทางสึบูรายะหวังว่า คำพิพากษานี้จะเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินคดีในที่อื่นๆ ทั่วโลก
4
อ้างอิง (4):
https://thepeople.co/thailand-supreme-court-dont-buy-sompote-narrative-ultraman-licensing-disputes
4
กล่าวโดยสรุป เหรียญมี 3 ด้าน ด้านหัว ด้านก้อย และด้านขอบ ข้อแท้จริงมีหนึ่งเดียวขึ้นอยู่กับว่าจะเชื่อความจริงของใคร??? ซึ่งผมได้เสนอไว้ 3 แนวทางด้วยกัน เมื่อก่อนผมเชื่อในความจริงอันที่สอง 100% แต่เวลาผ่านไป เนื่องจากความรู้มันไร้พรมแดน ข้อมูลข่าวสารย่อมมีมากยิ่งขึ้น ทำให้ความจริงอันที่สามมีความเป็นไปได้มากขึ้นเช่นกัน
4
อย่างไรก็ตาม ในท้ายที่สุด ลิขสิทธิ์อุลตร้าแมน 7 ตัวแรก (1. อุลตร้าแมนโซฟี่ 2. อุลตร้าแมน 3. อุลตร้าเซเว่น 4. อุลตร้าแมนแจ็ค 5. อุลตร้าแมน เอซ 6. อุลตร้าแมนทาโร่ 7. เจ้าแม่อุลตร้า) เป็นของญี่ปุ่นและคนไทยร่วมกัน โดยญี่ปุ่นได้สิทธิ์เผยแพร่ สร้างหนัง หรือผลิตของเล่น ในญี่ปุ่นเท่านั้น ส่วนคนไทยได้สิทธิ์ทั่วโลกยกเว้นในญี่ปุ่น (แค่นี้สมโพธิก็มีรายได้หลักพันล้านบาทต่อปี ซึ่งบางคนมีความเห็นว่าไม่ควรได้ด้วยซ้ำ)
4
ส่วนลิขสิทธิ์อุลตร้าแมนหลังจาก 7 ตัวแรก รวมทั้งตัวใหม่ที่จะเกิดในอนาคตเป็นของญี่ปุ่นเจ้าเดียว และมีสิทธิ์เผยแพร่ทั่วโลก
4
ปัจจุบัน ตัวแทนของสมโพธิเดินหน้าติดต่อบริษัทยักษ์ใหญ่จากฮอลลีวูด (Hoolywood) เพื่อขายลิขสิทธิ์ให้นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์จอยักษ์สุดอลังการ เช่น พาราเมาท์ โซนี่พิกเจอร์ รวมทั้งให้นายทุนเกาหลีไปสร้างใช้ทุน 100 ล้าน ได้พระเอกผิวสีชื่อดัง “วิล สมิธ” (Will Smith) มาแสดงนำ เป็นต้น
4
Ultraman แสดงโดย Will Smith, Credits to https://cheezburger.com/7670884352/will-smith-for-american-ultraman-movie
ตลอดจนการจัดงานแถลงข่าวว่าจะสร้างภาพยนตร์เรื่อง “อุลตร้าแมนภาค 4” หลายคนก็คงจะลืมหรืออาจจะไม่เคยรู้มาก่อนว่าเป็นเวลาสิบปีเต็มสำหรับคดีแย่งสิทธิในคาแร็กเตอร์ยอดมนุษย์ชื่อดัง “อุลตร้าแมน” บทสรุปของคดีนี้คือสมโพธิเป็นผู้ชนะ ซึ่งเท่ากับว่าเจ้าของอุลตร้าแมนที่แท้จริงก็คือคนไทยนั่นเอง ผู้ชนะย่อมเขียนประวัติศาสตร์
4
ภาพยนตร์
ประวัติศาสตร์
ญี่ปุ่น
4 บันทึก
10
3
22
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เอเชียอาคเนย์
4
10
3
22
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย