Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
A WAY OF LIFE : ทางผ่าน
•
ติดตาม
22 พ.ย. 2021 เวลา 01:11 • ปรัชญา
"การเกิดมรรคสมังคี เป็นอย่างไร ?"
" ... เมื่อท่านทั้งหลายได้ก้าวเดินบนเส้นทางที่ถูกต้อง
ที่เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ 8
ละทางสุดโต่งทั้ง 2 ทาง
คือ การประกอบตนพัวพันอยู่ในกามคุณอารมณ์ต่าง ๆ
ละการประกอบตนในการทรมานกายให้ลำบากต่าง ๆ
เดินอยู่บนเส้นทางสายกลาง
ที่ประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ 8
ก็คือ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นที่ถูกต้อง
สัมมาสังกัปปะ การดำริที่ถูกต้อง
สัมมาวาจา การพูดที่ถูกต้อง
สัมมากัมมันตะ การกระทำที่ถูกต้อง
สัมมาอาชีว คือการประกอบอาชีพที่ถูกต้อง
สัมมาวายามะ ความเพียรที่ถูกต้อง
สัมมาสติ การระลึกรู้ที่ถูกต้อง
สัมมาสมาธิ ความตั้งมั่นที่ถูกต้อง
เรียกว่าเดินบนทางสายกลาง
เส้นทางสายเดียว
ที่จะหลุดพ้นจากวังวนแห่งวัฏสงสารได้
เมื่อก้าวเดินบนเส้นทางที่ถูกต้องอยู่เนือง ๆ
หมั่นสำรวจตนเองอยู่เนือง ๆ
ว่าเรายังเดินอยู่บนเส้นทางที่ถูกต้องไหม ?
ประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ 8 อยู่เนือง ๆ
จนเป็นผู้มีสติมั่นคง มีจิตตั้งมั่น
เมื่อฝึกฝนไปถึงจุดหนึ่ง
ก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า มรรคสมังคี
ก็คือการรวมมรรคทั้ง 8
เกิดขึ้นพร้อมกันในขณะจิตเดียวนั่นเอง
ปกติเราก็แค่ทบทวนเดินในวิถี
แต่เมื่อฝึกไปถึงจุดหนึ่งมรรคมีองค์ 8 ทั้งหมด
จะรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน
ในขณะจิตเดียวเลย ท่านเรียกว่า 'มรรคสมังคี'
เกิดมรรคสมังคีนั้นเป็นอย่างไร ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอรู้อยู่ เห็นอยู่
ซึ่งจักษุทั้งหลายตามความเป็นจริง
เมื่อเธอรู้อยู่ เห็นอยู่
ซึ่งรูปทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเธอรู้อยู่ เห็นอยู่
ซึ่งจักขุวิญญาน ตามความเป็นจริง
เมื่อเธอรู้อยู่ เห็นอยู่
ซึ่งจักขุสัมผัส ตามความเป็นจริง
เมื่อเธอรู้อยู่ เห็นอยู่
ซึ่งเวทนาอันเกิดจากจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
เกิดความสุขบ้าง ทุกข์บ้าง เฉย ๆ ตามความเป็นจริง
1
เธอไม่เกิดความกำหนัดยินดี
เข้าไปประกอบในสิ่งเหล่านั้น
(ที่เรียกว่าเห็นสักแต่ว่าเห็นนั่นเอง)
เมื่อเธอไม่เกิดความกำหนัดยินดี
ในจักษุทั้งหลาย
เมื่อเธอไม่เกิดความกำหนัดยินดี
ในรูปทั้งหลาย
เมื่อเธอไม่เกิดความกำหนัดยินดี
ในจักขุวิญญาน ในจักขุสัมผัส
ในเวทนาอันเกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
จะสบายก็ตาม ไม่สบายก็ตาม เฉย ๆ ก็ตาม
ไม่เข้าไปประกอบ มีปกติเห็นโทษอยู่เนือง ๆ
อุปาทานขันธ์อันเป็นขันธ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น ย่อมไม่ก่อตัวขึ้น
ตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ
ด้วยความกำหนัด เพลิดเพลิน
ย่อมเป็นอันว่าถูกละออกไป
เธอปราศจากความกระวนกระวาย
ทางกาย ทางใจ
ความเร่าร้อนทางกายทางใจของเธอ สงบระงับไป
ความแผดเผาทางกายทางใจของเธอ สงบระงับไป
เธอรู้อยู่ เห็นอยู่เช่นนี้
ทิฏฐิของเธอ ย่อมถึงอันเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
ดำริของเธอ ย่อมถือว่าเป็นสัมมาสังกัปปะ
การดำริที่ถูกต้อง
ความเพียรของเธอ ย่อมถึงเป็นสัมมาวายามะ
ความเพียรที่ถูกต้อง
สติของเธอ ย่อมถึงความเป็นสัมมาสติ
การระลึกรู้ที่ถูกต้อง
สมาธิของเธอ ย่อมถึงความเป็นสัมมาสมาธิ
ความตั้งมั่นที่ถูกต้อง
ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเธอ
ย่อมหมดจดมาแต่เดิม
นี้แล อริยมรรคมีองค์ 8
ย่อมถึงความเป็นบริบูรณ์ในการภาวนานั่นเอง
เกิดมรรคสมังคีพร้อมกันในขณะเดียว
นั่นคือสภาวะของวิปัสสนาญานนั่นเองนะ
เมื่อท่านทั้งหลายได้อบรม อริยมรรคมีองค์ 8
จนมีสติมั่นคง มีจิตตั้งมั่น
ธรรมทั้งหลายก็จะปรากฏตามความเป็นจริง
เกิดการรู้เห็นตามความเป็นจริง
ยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาญานได้
ในขณะที่ดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาน
จะเกิดสภาวะแยกธาตุแยกขันธ์ เป็นของใครของมัน
แตกดับของใครของมัน
เกิดการรู้เห็นตามความเป็นจริง
รู้ทั้งอายตนะภายใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
อายตนะภายนอก รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสต่าง ๆ
วิญญานที่เกิดขึ้นตามอายตนะ
เช่น ตากระทบรูป เกิดจักขุวิญญาน
การประกอบพร้อมทั้ง 3 อย่าง เรียกว่า จักขุสัมผัส
แล้วก็เกิดความรู้สึกขึ้นมา
อันเนื่องจากจักขุสัมผัสนั่นเอง
เวลาอยู่ในวิปัสสนาญาน
มันจะเห็นกระบวนการนี้ตรงนี้ทั้งหมดเลย
ทั้งอายตนะทางตา ทางหู ทางจมูก
ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ
เกิดสภาวะแยกธาตุแยกขันธ์
แตกดับของใครของมัน
ในขณะที่รู้เห็นตามความเป็นจริงอย่างนี้
มันจะไม่เกิดความกำหนัดยินดี
ตัณหาอุปาทานก็จะถูกละออกไป
เวลาเราอยู่ในวิปัสสนาญานแบบนี้
มันจะเข้าใจสภาวธรรมได้มากเลย
เวลาเสียงเข้ามากระทบที่หู
มีสัญญานเข้ามาที่ใจ
เกิดการกระเพื่อม เกิดอะไรต่าง ๆ
มันเห็นกระบวนการทั้งหมดเลย
พออยู่ในวิปัสสนาญาน มันจะเกิดความเบื่อหน่าย
ในความปรุงแต่งของสังขารมาก
เมื่อเกิดความเบื่อหน่าย
มันจะเกิดความจางคลาย คลายกำหนัด
จิตมันจะหลุดพ้นจากการยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง
การแทงตลอดอริยสัจจะทั้ง 4
มันจะเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติเลย
เมื่อสามารถยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาญานได้
1
เพราะฉะนั้น ถ้าเราอบรมอริยมรรค
จนสามารถดำรงอยู่ในวิปัสสนาญานได้
ความเข้าใจในสภาวธรรมจะลึกซึ้งขึ้น
กว่าระดับที่เราอยู่ในระดับสัมมาสมาธิมาก
2
วิปัสสนาญาที่อาศัยปฐมฌาน ทุตยฌานเป็นบาทฐาน
ก็จะรับรู้ได้มากในเรื่องของกายในกาย กับเวทนาในเวทนา
การแตกดับของรูปกาย ของนามกาย
เวลาญานมันหยั่งลงไปในเนื้อ
ในหนัง ในเอ็น ในเอ็นกระดูก
มันก็มีแต่การแตกดับยุบยับ ยุบยับ ประดุจฟองน้ำ
หยั่งลงไปในความรู้สึกของนามกาย
ตอนอยู่ในสมาธิก็รู้สึกว่านามกายมันเป็นรูปละเอียด
เป็นภาวะข้างใน
แต่พอเกิดวิปัสสนาญาน มันไม่มีหรอกความเป็นรูปร่าง
มันมีแต่การแตกดับของสภาวธรรม
นามกายก็เป็นสภาวะที่แตกดับยุบยับ ยุบยับ
ประดุจต่อมน้ำ
ถ้าเป็นวิปัสสนาญานที่อาศัยฌานที่ 3 ที่ 4 เป็นบาทฐาน
ก็จะมีกำลังที่แก่กล้าขึ้นไปอีก
ก็จะสามารถรู้กระบวนการของจิต หรือ วิญญานขันธ์ได้
จิตที่ว่าเกิดดับรวดเร็วมาก
แต่วิปัสสนาญานระดับนี้ รู้เท่าทัน การเกิดดับของจิตได้
ในระดับของวาระจิตเลย กำลังสูงมากนั่นเอง
จะเข้าใจสภาวะได้ลึกซึ้งมาก
นี่แหละ อภิธรรมตัวจริง
ต้องเข้าสู่ภาคของวิปัสสนาญานนั่นเองนะ
มันจะเข้าใจสภาวะทั้งหมดเลย
ยิ่งวิปัสสนาญานที่อาศัย อรูปฌาน เป็นบาทฐาน
ก็จะยิ่งเป็นวิปัสสนาญานระดับสูง
อันนี้จะรู้ตั้งแต่กระบวนการ ตั้งแต่ก่อนที่มันจะก่อ
ขึ้นมาเป็นตัวความคิด เป็นอารมณ์
เป็นความรู้สึกต่าง ๆ
เหมือนสิ่งที่มันผุดจากใต้มหาสมุทร
จากก้นบึ้งค่อย ๆ ลอยขึ้นมา
ค่อย ๆ ลอยขึ้นมา ค่อย ๆ ลอยขึ้นมา
แล้วก็เป็นฟองอากาศ แล้วก็ผุดขึ้นมา
ผุดขึ้นมาพ้นผิวน้ำ
ในสภาวะวิปัสสนาระดับต้น
เราก็รู้แค่ระดับที่พ้นขึ้นมาที่ผิวน้ำ
ความคิดความรู้สึกที่เป็นกระแสผุดทั้งหลายทั้งปวง
1
แต่ถ้าเป็นวิปัสสนาญานชั้นสูง
มันจะรู้ตั้งแต่กระบวนการเลย
การก่อกำเนิด รากเหง้าต่าง ๆ เหตุปัจจัยต่าง ๆ
มันจะมีความลึกซึ้ง ความแตกฉานในสภาวธรรม
แล้วมันจะเต็มไปด้วยความเบื่อหน่ายในความปรุงแต่ง
กว่าความคิด ความคิดหนึ่งมันจะเกิดขึ้น
กว่าความรู้สึก ความรู้สึกหนึ่งมันจะเกิดขึ้น
กว่ามันจะเกิดกระบวนการต่าง ๆ แล้วมัน ...
มันเบื่อในความปรุงแต่งมาก
วิปัสสนาญาน ที่อยู่ในระดับเวลาเรานั่งสมาธินิ่ง ๆ
เข้าวิปัสสนาญานระดับสูง มันก็จะเป็นอีกภาวะหนึ่ง
แต่สำหรับผู้ที่เดินวิปัสสนาญานทรงตัวได้
แม้ในขณะเดิน ในเวลาเคลื่อนไหว
มันก็จะเป็นอีกมิติภาวะหนึ่ง
อย่างถ้าเราเข้าสู่วิปัสสนาญานที่กำลังดี ๆ
ในขณะเดิน การเดินของเราในแต่ละก้าว
กว่าจะยกก้าวกระเพื่อมนี่มันช้ามาก ๆ
มันยิ่งกว่าสโลโมชั่น
มันแทบเวลาจะหยุดเดินเลย
มันถึงรู้กระบวนการเกิดดับของจิตที่เร็วมากไง
กำลังญานยิ่งสูง
ความคมชัดของสภาวธรรม ความละเอียด
เวลามันแทบจะหยุดเดินนะ
มันเป็นอะไรที่แบบ ... เข้าใจสภาวะ
สรรพสิ่งได้ลึกซึ้งมากและแตกฉานมาก
เรียกว่าเปิดโลกทัศน์เลยดีกว่า
เมื่อใดที่เข้าสู่โลกวิปัสสนาญานตัวจริงได้
สิ่งที่เราเห็นด้วยประสาทสัมผัสของมนุษย์นี้
หรือแม้กระทั่งเราฝึกระดับสมาธิ แล้วรู้ด้วยจิต
ที่เรียกว่าความเป็นทิพย์ของจิตเนี่ย
แต่เมื่อเข้าสู่โลกของวิปัสสนาญาน
ที่เรียกว่า ญานทัศนะ
มันจะเป็นอีกคนละเรื่องเลย
นั่นคือโลกุตตรธรรม มันเป็นธรรมพ้นโลก
มันจะเข้าใจ แล้วมันจะเต็มไปด้วยความเบื่อหน่าย
ในกองทุกข์ ในวัฏสงสาร
เราฟังธรรมอะไร เราจะเข้าใจทั้งหมดเลย
ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้
เมื่อวิปัสสนาญานที่ความแก่กล้า ความลึกซึ้ง
ความเบื่อหน่าย ความจางคลาย ความสลัดคืน
มันจะเต็มไปด้วยการหลุดออก คลายออก
ล้วน ๆ เลยนั่นเองนะ
หลุดจากความหลง
หลุดจากความยึดมั่นถือมั่นทั้งปวง
คืนสู่ความเป็นธรรมชาติ
เพราะฉะนั้น เมื่อฝึกไปถึงจุดหนึ่ง
ถ้าเราจะได้ชิมรสพระพุทธศาสนา
ต้องก้าวเข้ามาในระดับของวิปัสสนาญานให้ได้ก่อน
แล้วอยู่ซึมซับในสภาวะวิปัสสนาญาน
จึงจะเรียกว่าไม่เสียชาติเกิด
มันคนละเรื่องกับที่เราเห็นด้วยตา
หรือแม้กระทั่งเราฝึกด้วยใจอันเป็นทิพย์
มันอีกคนละเรื่องนึงเลย
วิปัสสนาญานที่เรียกว่า ญานทัศนะ
มันเป็นอะไรที่แบบ ... มันอีกระดับหนึ่งเลย
อย่างเวลาเราเข้าสมาธิเดินฌานสมาบัติ
ฌาน 1 ฌาน 2 ฌาน 3 ฌาน 4
เข้าออกแต่ละระดับ
แต่ผู้ที่เข้าถึงวิปัสสนาญานระดับแก่กล้า
ที่เรียกว่า มหาสตินั่นแหละ
มันสามารถรู้คุมฌานทั้งหมดได้เลยพร้อมกัน
มันมีอะไรอีกเยอะมาก
ที่มัน ... จะเป็นอะไรที่ลึกซึ้งมาก
ที่เรียกว่าทำให้ผู้ปฏิบัติได้เข้าใจ
แจ่มแจ้งในธรรม ในสัจธรรมต่าง ๆ มาก
เพราะฉะนั้น ใช้เวลาตรงนี้ในการเพาะบ่มตนเอง
จนสามารถเปิด ... เพิกอวิชชา
เข้าถึงโลกของญานทัศนะให้ได้
จึงจะเรียกว่าเราไม่เสียชาติเกิดที่พบพระพุทธศาสนา
เมื่อเข้าถึงจุดนั้น
มันจะเป็นไปเพื่อการหลุดพ้น
เพื่อพระนิพพานโดยตรงอยู่แล้ว
เพราะว่าสิ่งที่เราเคยยึดเคยหลง
มันจะคลายตัวออกทั้งหมดเลย
มันจะเต็มไปด้วยความเบื่อหน่าย
ในกองสังขารทั้งปวงนั่นเองนะ
น้อมไปเพื่อการปล่อยวาง
น้อมไปเพื่อการสลัดคืน ... "
.
ธรรมบรรยาย
โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
เยี่ยมชม
youtube.com
การเกิดมรรคสมังคีเป็นอย่างไร ? | ธรรมให้รู้•2564 : ตอนที่ 217
Photo by : Pexels
4 บันทึก
5
2
10
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
คำสอนครูบาอาจารย์
4
5
2
10
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย