24 พ.ย. 2021 เวลา 04:27 • สุขภาพ
คำที่ควรพูด​ และ​ ไม่ควรพูด​ กับคนที่เป็นโรคซึมเศร้า​ ​!​!!
สาเหตุของโรคซึมเศร้า​ มักเกิดขึ้นจาก 2 ปัจจัยหลัก ๆ
1.เกิดขึ้นจากพันธุกรรม : เป็นหนึ่งในปัจจัยที่คนส่วนใหญ่ไม่คาดคิด ว่าโรคซึมเศร้าสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าจะต้องป่วยเป็นโรคซึมเศร้าทุกคน เพียงแค่มีโอกาสเป็นโรคดังกล่าวได้มากกว่าคนทั่วไป เช่น หากมีฝาแฝดเป็นโรคซึมเศร้า ฝาแฝดอีกคนมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้สูงถึง 60 – 80% หรือหากมีคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ก็มีโอกาสป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าคนทั่วไปถึง 20%
2.เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อม : เช่น ความเครียดมรสุมชีวิตจากปัญหารอบตัว, การมองตัวเองในแง่ลบที่เป็นผลมาจากการเลี้ยงดู, การสูญเสียครั้งสำคัญในชีวิต และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งอาจสรุปได้ว่าระหว่างพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อม ปัจจัยที่ส่งผลให้เป็นโรคซึมเศร้าอยู่ที่สัดส่วน 40:60
ทีนี้เมื่อทราบถึงสาเหตุของโรคซึมเศร้าแล้ว ก็ต้องหมั่นสังเกตกันสักหน่อยว่าคนรอบข้างที่มีความเสี่ยงหรือกำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้า มีอาการเป็นอย่างไรแล้วบ้าง? จะได้ประเมินระดับความรุนแรงของอาการได้ถูกต้อง ซึ่งถือเป็นข้อมูลที่สำคัญที่อาจส่งผลต่อการรักษาได้
DO - สิ่งที่ควรทำ
- หมั่นพูดคุยกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าให้เห็นถึงข้อดีของตัวเองเสมอ : ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการรักษาเลยก็ว่าได้ เพื่อให้ผู้ป่วยได้หันมามองเห็นคุณค่าของตัวเองที่จะทำให้มีกำลังใจสู้ต่อและอยากใช้ชีวิตต่อไป
- รับฟังอย่างตั้งใจ ไม่กดดัน ไม่ตัดสิน : เพราะผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักคิดอยู่เสมอว่าตัวเองเป็นภาระของผู้อื่น การจะให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกในใจ จึงต้องให้เขารู้สึกว่ามีคนอยากรับฟังเขาอยู่จริง ๆ ไม่กดดัน ไม่ตัดสิน และต้องสร้างความไว้วางใจ ซึ่งการฟังที่ดีจะช่วยให้เราเก็บข้อมูลไว้ใช้สำหรับการป้องกันและรักษาได้ด้วย
- หมั่นชวนผู้ป่วยโรคซึมเศร้าออกมาทำกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหว : เช่น เล่นกีฬา, เล่นเกม, ทำงานศิลปะ, งานฝีมือ และอื่น ๆ อีกมากมาย นอกจากจะช่วยให้ร่างกายของผู้ป่วยหลั่งสารสร้างความสุขอย่างเอ็นโดรฟินออกมาแล้ว ยังช่วยลดความเครียด การคิดฟุ้งซ่านได้อีกด้วย
สิ่งที่ควรพูด
- อยากให้ฉันกอดไหม
- เธอไม่ได้อยู่คนเดียวนะ
- เธอสำคัญสำหรับฉันเสมอนะ
- ฉันอาจไม่เข้าใจเธอ แต่ฉันจะอยู่ข้าง ๆ เธอนะ
- ฉันรักเธอ อดทนไว้นะ
- ออกไปเดินเล่นกันไหม
1
DON’T สิ่งที่ไม่ควรทำ
- อย่าบอกปัด หรือ ตีตัวออกห่าง : เพราะจะทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารู้สึกว่าไม่มีที่พึ่งพิง รู้สึกว่าตัวเองเป็นภาระ อาจทำให้เกิดความคิดที่ไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อได้
เมื่อพูดถึงเรื่อง “ความตาย”
- ห้ามทำเป็นไม่ได้ยิน : เพราะหากผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเอ่ยถึงเรื่อง “ความตาย” แล้วคนใกล้ชิดกลับมีท่าทีต่อต้าน อาจทำให้สภาวะจิตใจของผู้ป่วยรู้สึกแย่ลงได้
- ห้ามกดดัน เร่งรัด หรือ ตัดสิน : เช่น “ทำไมยังไม่หายอีก” เพราะจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกกดดันว่าตัวเองเป็นภาระ อาจทำให้อาการแย่หนักลงกว่าเดิม
สิ่งที่ไม่ควรพูด
- ทำไมถึงทำไม่ได้
- อย่าคิดมากเลย
- สู้ ๆ นะ (เปรียบเสมือนการปล่อยให้ผู้ป่วยต่อสู้เพียงลำพัง)
- ไม่อยากรู้สึกแบบนี้ ก็ต้องเลิกคิด
- ไม่เป็นไรหรอก เดี๋ยวก็ผ่านไป
- จะเศร้าไปถึงไหนกัน
- ทำไมยังไม่หายอีก
- เข้าใจว่ารู้สึกอย่างไร ฉันก็เคยเป็น
- เลิกเศร้าได้แล้ว
ที่ยิ้ม อาจจะไม่ได้มีความสุข
โฆษณา