29 พ.ย. 2021 เวลา 22:18 • หนังสือ
=========================
“สัปดาห์ละบทสองบท” || วันอังคาร
=========================
🤫• อย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น
✍🏻• ยาซุดะ ทาดาชิ เขียน
🔖• บทที่ 1 “คุยเล่นแบบคนชั้นแนวหน้า” - ตอนที่ 3
📝• บันทึกใจความแบบดิบ ๆ ที่ยังไม่ผ่านกระบวนการแปรรูป พร้อม บันทึกการอ่านของ อิคิ ∙ 生き
[ ยาซุดะ ทาดาชิ - ผู้เขียน ]
====================
เปลี่ยน “การคุยเล่น
แบบไร้การวางแผน” ให้เป็น
“การคุยเล่นแบบมีแผนการ"
- - - - - - - - - - - - - - - -
สาเหตุที่คนพูดไม่เก่งมักจะ
พูดเยิ่นเย้อ
====================
คนพูดไม่เก่งมักจะพูดเยิ่นเย้อ และการพูดเยิ่นเย้นหรือพูดยาวเกินไปทำให้ผู้ฟังไม่สามารถจับประเด็นในส่ิงที่สื่อสารได้ สาเหตุเป็นเพราะผู้พูดไม่มีการวางแผนว่า “จะพูดคุยเพื่อเป้าหมายอะไร”
ส่วนคนที่สื่อสารเก่งจะคำนึงถึงเป้าหมายในการพูด ดังนั้นพวกเขาจึงพูดได้อย่างกระชับและไม่เยิ่นเย้อ
คนที่พูดเก่งมักจะจำลองเหตุการณ์ในการคุยเล่นไว้ล่วงหน้า ว่าจะจัดเรียงลำดับการพูดอย่างไร จะเล่าเรื่องอะไร หรือ จะถามประเด็นไหน
=================
ตัวอย่างของการคุยเล่น
แบบไร้การวางแผน
=================
A : “คุณ B ชอบทำอะไรในวันหยุดครับ”
B : “ปกติแล้วผมเป็นพวกไม่ชอบเดินทางไปไหนมาไหน เลยมักจะพักผ่อนอยู่ที่บ้านครับ”

A : “พักผ่อนอยู่ที่บ้าน . . . ดีจังเลยนะครับ . . . เอ่อ . . .​ แล้วคุณทำอะไรตอนอยู่ที่บ้านล่ะครับ . . .”
นี่เป็นการถามแบบไม่มีเป้าหมาย (ไม่ได้วางแผนไว้ก่อนว่าเราอยากรู้เรื่องอะไร) ทำให้รับมือกับคำตอบอีกฝ่ายได้ไม่ดี ส่งผลให้ไม่สามารถต่อยอดการสนทนาได้ดีเท่าที่ควร
———
[ อิคิ ∙ 生き's Memo ]
อิคิ ∙ 生き เป็นแบบนี้เลยค่ะ พอถามประโยคแรก เมื่อคู่สนทนาตอบกลับมา เรามักจะไปไม่เป็นแล้ว เลยต้องพยายามเค้นคำถามแบบถู ๆ ไถ ๆ ไป
ขนาดพิมพ์ตัวอย่างการสนทนาข้างต้น พอคุณ B ตอบกลับมาว่า “ไม่ชอบไปไหน ชอบอยู่บ้าน” ในหัว อิคิ ∙ 生き ยังคิดเลยค่ะ ว่าจะถามอะไรต่อดีว้า แล้วคำถามที่คิดได้ก็คือ “แล้วอยู่บ้านทำอะไร” แล้ว A ก็ถามแบบนั้นต่อจริง ๆ ด้วย
อิคิ ∙ 生き คิดว่าสิ่งนี้ไม่น่าจะใช่ความบังเอิญแล้วหล่ะค่ะ มันน่าจะเป็นคุณลักษณะของคนพูดไม่เก่ง ขนาดคนเขียนยังจับทางได้เลยว่าเราจะถามอะไรต่อ 😅
———
[ ยาซุดะ ทาดาชิ - ผู้เขียน ]
แต่ถ้าเรามี “เป้าหมาย” ในการสนทนา เราจะสามารถต่อยอดการสนทนาได้ดีและเป็นธรรมชาติ
=================
ตัวอย่างของการคุยเล่น
แบบมีแผนการ
=================
A : “คุณ B ชอบทำอะไรในวันหยุดครับ”
B : “ปกติแล้วผมเป็นพวกไม่ชอบเดินทางไปไหนมาไหน เลยมักจะพักผ่อนอยู่ที่บ้านครับ”
A : “พักผ่อนอยู่ที่บ้านงั้นเหรอ คุณคงงานยุ่งมาก เลยอยากอยู่บ้านเฉย ๆ สินะครับ”
B : “ใช่แล้วครับ ช่วงนี้ผมงานยุ่งเป็นพิเศษ เลยไม่มีอารมณ์จะออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน”
เมื่อมีเป้าหมายที่ “อยากรู้สถานการณ์ของอีกฝ่าย” “อยากรู้ชีวิตส่วนตัวของคู่สนทนา” เราก็จะสามารถหาคำสำคัญที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายของเราจากคำพูดอีกฝ่ายได้ ส่งผลให้ได้พูดคุยกันต่ออย่างเป็นธรรมชาติ
เราไม่จำเป็นต้องจำลองสถานการณ์อย่างละเอียดทุกขั้นตอน แค่กำหนดเป้าหมาย แล้วพูดคุยโดยพยายามมุ่งไปสู่เป้าหมายนั้น ว่าเราอยากถ่ายทอดเรื่องอะไร อยากรู้เรื่องอะไร คุยเพื่ออะไร เมื่อเรากำหนด “ตอนจบ” หรือ “ข้อสรุป” ได้ เราก็จะต่อยอดการสนทนาได้ง่ายขึ้น
[ อิคิ ∙ 生き's Memo ]
ตัวอย่างแบบมีแผนการดีกว่าตัวอย่างแรกจริง ๆ ด้วยค่ะ เป็นการเชื่อมโยงเรื่องกิจกรรมวันหยุดไปเรื่องงานอย่างเป็นธรรมชาติ สำหรับ อิคิ ∙ 生き ถือว่าอัจฉริยะมาก ๆ
จาก 2 สถานการณ์ข้างต้น อิคิ ∙ 生き คงเป็นคนที่ถามว่า “แล้วอยู่บ้านทำอะไร” หลาย ๆ ครั้งทำให้การสนทนาน่าเบื่อและจบด้วยการถามคำตอบคำ
อิคิ ∙ 生き เพิ่งมานึกออกตอนนี้ค่ะ ว่าที่ อิคิ ∙ 生き เป็นแบบนั้นก็เพราะ เราแค่อยากชวนคนตรงหน้าคุยเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์อะไรเป็นพิเศษ ดังนั้นจำไว้นะ เราต้องมีเป้าหมายในการสนทนา “ว่าเราอยากรู้อะไร” จากคนตรงหน้า
เดี๋ยว อิคิ ∙ 生き จะพยายามฝึกเรื่องนี้ค่าาา เพื่อน ๆ มาฝึกไปพร้อม ๆ กันนะคะ
[ ยาซุดะ ทาดาชิ - ผู้เขียน ]
==============
หลักสำคัญ
ของคนชั้นแนวหน้า
[ 3/38 ]

==============
กำหนดเป้าหมายของการคุยเล่น
แล้วพยายามพูดคุยให้บรรลุเป้าหมายนั้น
[ อิคิ ∙ 生き's Memo ]
สำหรับวันนี้ อิคิ ∙ 生き ขอลาไปก่อนนะคะ แล้วพบกันใหม่กับ “อย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น” ในสัปดาห์หน้า สวัสดีวันอังคารค่ะ วันนี้ อิคิ ∙ 生き ต้องไปตักบาตรก่อนทำงานจึงแวะมาทักเพื่อน ๆ แต่เช้าตรู่ค่ะ 🙏🏻😊
หมายเหตุ : หากเพื่อน ๆ ท่านใดสนใจอยากฝึกฝนเสน่ห์ในการสื่อสาร จนอดใจรอ อิคิ ∙ 生き สรุปทีละบทไม่ไหว เพื่อน ๆ ก็สามารถสั่งซื้อหนังสือได้ที่ Link ด้านล่างนะคะ https://www.welearnbook.com/product/33376-27075/อย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น-超一流の雑談力
#สัปดาห์ละบทสองบท #อย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา