Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลุงเต่าเล่าเรื่องเรือ
•
ติดตาม
9 ม.ค. 2022 เวลา 12:00 • การศึกษา
ซีรีย์ : ชีวิตบนเรือสินค้า (Life onboard)
ตอนที่ 6 : ระวางบรรทุกสินค้า (Cargo Holds)
สวัสดีปีใหม่ 2022 ครับ ขอให้ความสุขสวัสดีมีแด่ทุกท่านครับ
ด้วยภารกิจปลายปีที่ล้นมือ จนไม่มีเวลาที่จะทำบทความต่อ ต้องกราบขออภัยด้วยครับ
ระวางบรรทุกสินค้า (Cargo Holds) คือ อะไร
เรือบรรทุกสินค้าขณะเจอคลื่นลมแรง
เรือบรรทุกสินค้า ซึ่งชื่อก็บอกแล้วว่าต้องบรรทุกสินค้า โดยสินค้าจะถูกใส่ไว้ในส่วนที่เรียกว่า ระวางบรรทุกสินค้า (Cargo Holds) ซึ่งระวางบรรทุกสินค้านั้นก็จะมีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับการบออกแบบ และ วัตถุประสงค์ของการใช้เรือ
ถ้าพูดถึงระวางสินค้าของเรือขนาดกลางๆ รับบรรทุกได้ 50,000 - 60,000 ตัน ระวางสินค้าก็จะมี 5 ระวางบรรทุก โดยแจ่ละระวางมีความสูงประมาณ 16 - 17 เมตร นับจากขอบระวาง จนถึง พื้นระวาง
ภาพระวางสินค้าของเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกองขนาด 50,000 - 60,000 ตัน
สินค้า 50,000 ตัน ก็ประมาณ การใช่รถบรรทุก 3,334 คัน (น้ำหนักบรรทุก 15 ตันต่อคัน) เห็นมั๊ยครับว่าเรือหนึ่งลำ จะเกี่ยวข้องกับระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ
ถ้าเทียบระวางสินค้า ก็เหมือน กล่องบรรจุอาหารที่มีฝาปิดสนิท และมีระบบ Lock ... นี่คือนิยามของ ระวางบรรทุกสินค้า
1
ฝาระวางเรือ (Hatch Covers)
ฝาระวางเรือ ถือ เป็นส่วนสำคัญที่สุดในการป้องกันสินค้าจาก แดด ลม ฝน หิมะ ทั้งขณะรับบรรทุก เดินทาง และขนถ่ายขึ้นจากเรือ
ฝาระวางเรือ (Hatch Covers)
ฝาระวางเรือที่เห็นนี้ เป็นระบบ Hydraulic System ใช้คนแค่กดเปิด/ ปิด เมื่อเรือจะต้องออกเดินทาง ฝาระวางจะมีการปรับหมุนล้อให้ฝาระวางกดผนึก และ ใส่ตัวLOCK เพื่อทำการผนึกน้ำ (Weather/Water Tight) ในขณะเรือเดินทาง เพื่่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด
ฝาระวางในภาวะผนึกน้ำ (Weather/Water Tight Condition)
ฝาระวางที่เสมือนเป็นฝาปิดกล่องอาหารที่มีฝา Lock ถือเป็นหัวใจหลักของเรือ ที่จะต้องมีการตรวจสอบและบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ
ทีนี้อาจสงสัยว่า เห้ย...ทำไมมีลานจอด Helicopter บนเรือด้วย .... ลุงจะเล่าให้ฟัง
ในการนำเรือเข้าออกเขตท่าเรือ จะมีเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น จะขึ้นมาบนเรือเพื่อ ให้คำแนะนำแก่กัปตันในการนำเรือเข้า/ออกท่า และประสานงานกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ในการเข้าเทียบเรือ หรือ ออกจากเทียบ ซึ่งจะใช้ภาษาท้องถิ่น เจ้าหน้าที่นี่เราเรียกว่า เจ้าพนักงานนำร่อง (Pilot) ถ้าจะเปรียบให้ชัดกับเครื่องบิน ก็คือ เจ้าหน้าที่วิทยุการบิน
Pilot จะใช้เรือยนต์ในการขึ้นและลงจากเรือ
เรือที่ทำหน้าที่รับส่งเจ้าพนักงานนำร่อง (Pilot Boat)
เจ้าหน้าที่นำร่องจะขึ้น/ลงเรือ ในขณะที่เรือใช้ความเร็วต่ำ โดยไต่บันไดไม้พิเศษ บางทีก็ไต่แค่ 4-5 เมตร แต่บางครั้งก็ 8 เมตรท่ามกลางคลื่นลม และ ฝน
แต่ในบางเมืองท่า การใช้เรือ Pilot Boat อาจไม่สะดวก เช่น การเดินทางนานเกินไป หรือ สภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย จึงต้องให้ Pilot ใช้ Helicopter ในการขึ้นลงจากเรือ ซึ่ง Heli-Deck เป็นเครื่องหมายให้สังเกตุทางอากาศ เพื่อให้ Helicopter มา ลอย (Hop) เพื่อส่งนำร่องลงทาง Sling หรือ ลงจอด แล้วแต่สถาณการณ์
Heli-Deck for Pilot
ถ้าอยากดูวดีโอเต็มๆ ว่า ใช้ Helicopter กันอย่างไรก็ตาม link ข้างล่าง
เยี่ยมชม
youtube.com
Pilot transfer from ship using helicopter
This is a video I had captured off U.S Coast from a merchant vessel as the Pilot was transferred from our Ship to Shore via Helicopter. All recordings were d...
youtube.com
Watch: Pilot Boarding Ship By Helicopter
Watch this amazing video of a pilot boarding a ship through a helicopter.
เยี่ยมชม
ระวางสินค้าใส่อะไรได้บ้าง
ใส่มันได้หมดทุกอย่างครับ เท่าที่
1. รัฐที่เรือนั้นจดทะเบียนอนุญาตให้บรรทุก และ
2. ข้อกำหนดในการรับบรรทุกสินค้าเป็นไปตามที่กำหนด
บรรยายไม่หมดครับว่ารับบรรทุกอะไรได้บ้าง สินค้าส่วนใหญ่ คือ Raw Materials คือ สินค้าที่เป็น วัสดุตั้งต้นในการผลิตเช่น ไม้ ปูน ปุ๋ย เหล็ก ถ่านหิน สินค้าการเกษตร แร่ เป็นต้น
เมื่อต้องบรรทุกซุง
เมื่อต้องบรรทุกเหล็ก
เมื่อต้องบรรทุกปูนซีเมนต์
เมื่อต้องบรรทุกกากถั่วเหลือง
เมื่อสินค้าถูกขนถ่ายขึ้นเรียบร้อย ลูกเรือก็จะทำความสะอาดระวางให้พร้อมสำหรับรับสินค้าในเที่ยวต่อไป
1
จะขึ้นลงระวางอย่างไร
อย่างแรกก่อน ต้องหาทางลงระวางให้เจอก่อนครับ .... เราเรียกเจ้ากล่องสี่เหลี่ยมเล็กๆนี่ว่า Man Hold
ช่องทางลงระวาง (Man Hold)
วิธีการขึ้นลง มีสองทางครับ
ทางหัวระวางก็ไต่ลงไปเสร็จ ก็เดินสบายๆ ผ่านบันไดเวียน ที่เรียกว่า Australian Ladder
บันไดเวียน (Australian Ladder)
ถ้าทางท้ายระวาง ก็ปีนล้วนๆครับ แรงต้องดี 15 เมตรต้องปีนแบบไม่กลัวความสูง
บันไดปีน ทางท้ายระวาง
ครับสำหรับวันนี้คงแค่นี้ก่อน แล้วคราวหน้าเราจะมาดูกันในตอนต่อไปครับ
ขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามครับ
Reference
Youtube :
Hope at Sea (Prasobh Sugadhan)
marinersgalaxy
6 บันทึก
13
7
9
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ชีวิตบนเรือสินค้า คนกับเหล็กลอยน้ำ
6
13
7
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย