26 พ.ย. 2021 เวลา 13:24 • การศึกษา
ซีรีย์ : ชีวิตบนเรือสินค้า (Life onboard)
ตอนที่ 5 : สุดยอดวิศวกรรมบนเหล็กลอยน้ำ และ การเสกน้ำทะเลเป็นน้ำจืด
ขอบพระคุณทุกการติดตามครับ ดีใจที่มีคนอ่านทักทาย สอบถาม ผมจะจัดให้ครับ
ในตอนนนี้จะพากันไปเยี่ยมชม ห้องเครื่องเรือ (Engine Room) ไปดูว่า มันอลังการงานสร้างอย่างไร ทุกอย่าง คือ สุดยอดวิศวกรรมบนเหล็กลอยน้ำ ที่ต้องมี สุดยอดวิศวกร และ นายช่างบนเรือ กับ คติในการทำงาน "ยาวให้ตัด สั้นให้ต่อ ไม่พอให้เสริม"
อยู่บกรถเสียเอาเข้าศูนย์ แต่บนเรือ เราไม่สามารถทำแบบนั้นได้ ต้องซ่อมทำกันกลางทะเล หรือ ตอนที่เรือเทียบท่า เขาทำกันได้อย่างไร ติดตามได้ครับ ไปลงห้องเครื่องกัน
ห้องเครื่อง (Engine Room) ถือเป็น ม้าหลักของเรือ ที่เป็นทั้งแหล่งกำเนิดพลังงาน และ ขับเคลื่อนเรือสินค้า ตำแหน่งของห้องเครือง คือ จะ อยู่ใต้ Accommodation หรือที่พักอาศัย
ทำมัยลุงถึงชวนลงห้องเครื่อง แทนที่จะขึ้นห้องเครือง ภาษาเรือ คือ
ขึ้นสะพาน ลงห้องเครื่อง เพราะ ห้องเครืองนั้นจะอยู่ดาดฟ้าใต้ที่พักอาศัย (Accommodation) ซึ่งพืนที่ก็จากรูปข้างบนเลยครับ สักประมาณ 30-40 ม จากส่วนที่พักอาศัย จนถึงท้ายเรือ นีคือ อาณาจักรของเครื่องยนต์ ที่สามารถส่งสัญญาณการควบคุมบางส่วนเชื่อมต่อกับสะพานเดินเรือ เช่น ระบบหางเสือ และ ระบบสั่งจักร
ค่อยๆลงน่ะครับ บันไดชัน และ เสียงดังมาก ต้องตะโกนคุยกันนิด
ภาพแรกที่เห็นหลังจากเปิดประตูเข้าสู่ห้องเครื่อง
ค่อยๆลงบันไดมาครับ จะพาไปห้องควบคุมเครื่องจักรใหญ่ ซึ่งทุกลำที่ผมทำงานด้วย คือ จะอยู่ทางกราบซ้ายของเรือเสมอ ครับ
ในปัจจุบันห้องควบคุมเรื่องจักรใหญ่จะเป็นระบบ Digital แทนที่ระบบ Analog and Pneumatic (ระบบลม) นอกจากนี้ ยังติดตั้งระบบ Sensor ตรวจจับ อุณหภูมิ การจ่ายน้ำมัน แทนที่จะใช้คนเดินตรวจระบบแบบสมัยก่อน
เรือในสมัยปัจจุบันระบบควบคุมเครื่องจักรในระหว่างเรือวิ่ง จึงเป็น Unmanned System คือ ไม่จำเป็นที่จะต้องมีคนเฝ้าห้องเครื่องตลอด 24 ชม ในขณะเรือวิ่ง
ระบบจะทำงานตรวจจับอัตโนมัติ และจะส่งสัญญาณเตือนไปยัง สะพานเดินเรือ และ นายช่างกล เมื่อพบความผิดปกติ และ ระบบจะทำการแก้ไขเบื้องต้นเช่น ลดความเร็ว หรือ ตัดน้ำมัน ทันทีเพื่อลดความเสียหาย ก่อนที่มนุษย์จะลงมาตรวจสอบ
เชิญชมห้องควบคุมเครื่องจักรครับ
Engine Control Room
Hi-Tech พอๆกับ Star Ship
Digital Control and Display System
Digital Control and Display System
ตามลุงมาครับ จะพาไปดูหัวใจหลักของเรือ คือ เครื่องจักรใหญ่
นีคือ ภาพเต็มๆของเครื่องจักรใหญ่บนเรือสินค้า ขนาดก็แตกต่างกันไปตามขนาดของเรือ ครับ
ถ้ายังนึกภาพไม่ออกว่ามันใหญ่โตขนาดไหน ลองกูภาพเปรียบเทียบครับ
ภาพหน้าตัด เปรียบเทียบระหว่างความสููงของเครื่องจักรใหญ 17.2 เมตร กับ ความสูงของมนุษย์
เห็นมั๊ยครับ นี่คือความมหัศจรรย์ที่มนุษย์ตัวเล็กๆต้องควบคุมเครื่องจักรยักษ์
ขนาดลูกสูบ และ ก้านลูกสูบของเครื่องจักรใหญ่
บนเรือเองจะมีอะหลั่ยสำรองไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน (Critical Spare Parts) ซึ่งชื่อก็บอกแล้วว่า ใช้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น นอกจากนี้ยังมี อะหลั่ยทั่วไปที่เรียกว่า Consumable Store อีก
Critical Spare เมื่อเปรียบเทียบกับความสูงของคน
"ยาวให้ตัด สั้นให้ต่อ ไม่พอให้เสริม"
เนื่องด้วยการปฎิบัติกลางทะเลที่ไร้หน่วยสนับสนุนใดๆ มีเพียงอุปกรณ์บนเรือ ดังนั้นเหล่าวิศวกร และ นายช่างบนเรือ จึงต้องทำทุกวิธีเพื่อให้เรือสามารถเดินทางได้ปลอดภัย ซึ่งบางเรื่อง เป็นเทคนิคที่ไม่มีอยู่ในโรงเรียน ประสบการณ์ล้วนๆ และต้อง Modify ของทุกอย่างให้ใช้ได้ จึงเป็นที่มาของคติพจน์ที่ว่า "ยาวให้ตัด สั้นให้ต่อ ไม่พอให้เสริม"
จะตัด จะต่อ จะเสริม เราก็ต้องมีห้อง Workshop ที่มีเครื่องมือพร้อม เหมือนห้องหมอผ่าตัดภาคสนาม เราไปดูกันครับ ห้อง Workshop บนเรือ
Engine Room Workshop ที่พร้อมลุย ทั้งเครือง งัด เจาะ วัด กลึง ขัน
ห้องเก็บอะหลั่ย และ อุปกรณ์
นอกจากนี้ งานตัด เชื่อมเหล็ก เราก็พร้อม
ห้องเก็บแกสสำหรับงานตัด
ห้องถัดไปจะพาไปดู ห้องแอร์ (Air Condition Room) ที่ให้ความเย็นแก่ห้องพักอาศัย ทำให้เรานอนหลับพักผ่อนได้สบาย มีระบบที่เลือกปรับได้ทั้ง
  • Inner Circulate คือ การใช้ระบบอากาศหมุนเวียนภายใน เท่านั้น อารมณ์ประมาณ ป้องกันอาวุธชีวภาพจากภายนอก เช่น กลิ่นไม่พึงประสงค์ กาซพิษ
  • Outer Circulate คือ การใช้ระบบอากาศหมุนเวียนจากภายนอกเข้าช่วย เพื่อช่วยให้อากาศมีการถ่ายเทได้ดี เพิ่มความสดชื่น ระบายกลิ่นอับ
Air Condition Room จะเห็นได้ว่า สะอาดมากๆ มีฉนวนกันความร้อนอย่างดี
ค่อยๆลงมา น่ะครับจะพาไปชั้นที่สอง
ถึงแล้วครับ ชั้นนี้ คือ ส่วนของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Electric Generator)
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าบนเรือสินค้าทั่วๆไป จะมี 3 เครื่อง ทำไมไม่ 2 เครื่อง มันมีเหตุผลครับ ด้วยเรือสมัยใหม่บางลำก็ใช้แหล่งกำเนิดไฟฟ้าจากเครื่องจักรใหญ่ แต่บางลำก็จะแยกกันออกไป ระหว่างเครื่องจักรใหญ่ และ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
เอาแบบทั่วๆไปครับ เรือวิ่งกลางทะเล ไม่มีกิจกรรมอื่นเพิ่ม เราก็จะให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องเดียว หมุนเวียนสลับกันไป
เมื่อเรือเทียบท่าต้องใช้เครนในการยกขนสินค้า ก็จะใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสองเครื่อง หมุนเวียนสลับกันไป
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าบนเรือ (Electric Generator)
แล้วถ้าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทั้งสามเครื่องใช้ไม่ได้ หรือ ไฟฟ้าบนเรือดับกระทันหัน จะทำอย่างไร คำตอบ คือ เรามีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉิน (Emergency Generator) สำรองไว้อีก จะทำงานอัตโนมัติเมื่อไฟฟ้าหลักบนเรือดับ ซึ่งเครื่องไฟฟ้าฉุกเฉินนี้ จะช่วยเพียงแค่ประคองแสงสว่าง และ ระบบสื่อสาร เท่านั้น ดังนั้นขนาดของเครื่อง จึงมีขนาดเล็กและมีห้องแยกออกมาต่างหาก
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉิน (Emergency Generator)
ครับ ลุงจะพาไปดูห้องต่อไป ที่เรียกว่าห้องหางเสือ (Steering Gear Room)
ห้องหางเสือ (Steering Gear Room)
ห้องนี้ คือ เป็นตัวควบคุมหางเสือเรือ โดยรับสัญญาณไฟฟ้าจากสะพานเดินเรือ แล้วมาสั่งการระบบปั๊มไฮโดรลิค ซึ่งมีสองตัว เพื่อผลักหางเสือไปในทิศทางที่ต้องการ เมื่อเรือวิ่งกลางทะเลจะใช้ปั๊มไฮโดรลิค 1 ตัว แต่เมื่อเข้าน่านน้ำจำกัด จะใช้ปั๊มไฮโดรลิค 2 ตัว
นอกจากนี้หากระบบสั่งการจากสะพานเดินเรือเกิดขัดของ ก็จะมีระบบสำรอง คือ ใช้คน เข้ามาควบคุมหางเสือ โดยใช้การสั่งการจากระบบโทรศัพท์
ห้องหางเสือ (Steering Gear Room)
และต่อไปลุงจะพาไปดู การทำน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืดครับ
ในระหว่างเรือวิ่งกลางทะเล และมีระดับน้ำที่ลึกมาพอ เราก็จะเดินเครื่องกลั่นน้ำจืด (Fresh Water Generator) หลักการ ก็คือ เราจะดูดน้ำทะเลมากลั่นให้กลายเป็นน้ำจืด อาศัยหลักการ ควบแน่น โดยอาศัยความร้อนจากเครื่องจักรใหญ่ มาทำให้น้ำทะเลเกิดการระเหิด ซึ่งไอน้ำที่เกิดจากการควบแน่นก็จะกลายเป็นน้ำจืด ผ่านการฆ่าเชื้อด้วย แสง UV อีกครั้ง ก่อนที่จะถูกนำไปเก็บในถังน้ำจืด (Fresh Water Tank) บนเรือ
ด้วยเรือขนาดใหญ่ ถังเก็บน้ำจืดสามารถเก็บน้ำจืดได้ 200 ตัน แต่อัตราการกลั่นนั้นทำได้ถึงวันละ 20 ตัน ในขณะที่อัตราการใช้น้ำจืดบนเรือประมาณ 10-15 ตันต่อวัน ดังนั้นจึงรับประกันได้ว่ามีน้ำจืดพอเพียงตลอดการเดินทาง
หากจอดทำสินค้านาน ซึ่งเครื่องกลั่นจะทำงานไม่ได้ ก็จะสามารถร้องขอการเติมน้ำจืดได้เช่นกัน
คนทำงานเรือเลยมีคติที่ว่า .... กินน้ำท้องเรือ แล้วก็เลิกหากินกับเรือยากมาก ... หมายถึง การกินน้ำที่เก็บไว้ในถังน้ำจืดแล้ว ความเป็นคนเรือมันก็จะยังอยู่ตลอดไป
1
เครื่องกลั่นน้ำจืด (Fresh Water Generator)
และแล้วผมจะพาลงมาชั้นล่างสุด ครับ ถัดจากผนังเรือออกไปก็คือทะเล ตอนนี้ทุกท่านยืนอยู่ใต้ทะเล
ชั้นล่างสุดนี่จะเป็นส่วนของเพลาใบจักร ระบบ Pump และ เครื่องกรองน้ำมัน ที่เยอะมากมายครับ อธิบายไม่ทัน เพราะปั๊มแต่ละตัวก็จะรับผิดชอบแตกต่างกัน เครื่องกรองน้ำมันก็ผ่านไปยังถังเก็บน้ำมันก็มีหลักการทำงานที่ต้องอธิบายกันยาวเรื่อง Gravity Disk ซึ่งเด่วจะอยู่นานเกิน เพราะห้องเครื่อง ร้อนและเสียงดัง
ห้องเครื่องจักรชั้นล่างสุด
แต่ก่อนจากกัน มีคนข้างกลังถามว่า ลุงๆใบจักรเรือ ใหญ่มั๊ย งั้นดูรูปนี้ครับ
ใบจักรและหางเสือของเรือ
มีความลับจะบอก ถ้าดูหนังเกี่ยวกับเรือดำน้ำ พบว่าจะมีคนหูทิพย์อยู่บนเรือ ที่เรียกว่า พลโซน่าร์ ทำหน้าที่รับฟังเสียงที่เกิดจากใบจักรเรือ ตลอดจนเสียงต่างๆ เพื่อวิเคราะห์ เพราะเรือดำน้ำไม่มีเรดาห์บนเรือ
ดังนั้นในทางทหาร ใบจักรของเรือรบทุกลำ ถือเป็นความลับขั้นสุดยอด ไม่สามารถเปิดเผยได้ ลองดูภาพเรือดำน้ำสหรัฐที่ชนในจีนครับ ไปขึ้นอู่ ใบจักรยังถูกคลุมด้วยผ้าใบสีฟ้า เพราะถ้าข้าศึกเห็นภาพใบจักรก็จะสามารถประมวลผลได้ว่าเสียงใบจักรของเรือรบที่เห็นเป็นแบบใด ซึ่งจะนำมาใช้คำนวณการใช้อาวุธ และยุทธวิธีได้ถูกต้อง
ขอบพระคุณครับที่มาเยี่ยมชมห้องเครื่อง เด่วลุงพากลับไปสูดอากาศปกติด้านบนครับ
1
ขอบพระคุณในการติดตามครับ
โฆษณา