5 ธ.ค. 2021 เวลา 04:42 • หนังสือ
✴️ บทที่ 1️⃣ ความท้อแท้ของอรชุน (ตอนที่ 62) ✴️
🌸 อรชุนปฏิเสธการต่อสู้ 🌸
⚜️ โศลก 4️⃣7️⃣ ⚜️
หน้า 178 – 179
โศลก 4️⃣7️⃣
〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️
สัญชัยทูล (ธฤตราษฎร์) : เมื่ออรชุนได้ตรัส ณ ยุทธภูมิดังนั้นแล้ว ท้าวเธอได้ขว้างธนูและศรทิ้งไป ทรุดนั่งบนรถศึกด้วยจิตใจที่โศกเศร้า
〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️
‘อรชุน’ หรือ การควบคุมตน ขว้างธนูสมาธิ และศรอำนาจภายในที่พุ่งทะลวงความโง่เขลาทิ้งไป แล้วนั่งนิ่งอยู่กลางสนามรบในสงครามมหินทรีย์–จิตวิญญาณ แต่ยังไม่ไปจากรถศึกแห่งสหัชญาณ
สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ก็คือ ถ้าผู้ภักดีไม่มีอำนาจจิตวิญญาณเพียงพอที่จะสยบความสงสัย เขาจะรู้สึกว่าตนอ่อนแอไม่เหมาะที่จะทำสงคราม ด้วยความโศกเศร้า เขาจึงทิ้งทิพยศัสตรา และนั่งทับสหัชญาณอย่างไม่สนใจใยดี (นั่งบนรถศึก) รถศึกเป็นตัวแทนของสหัชญาณการรับรู้ เป็นยานที่กองทัพพุทธิปัญญาใช้ในสงครามมนินทรีย์–จิตวิญญาณ ต่อสู้กับกองทัพอินทรีย์ ที่นั่งที่ผู้ภักดีนั่งบนรถขณะถอดใจไม่ยอมต่อสู้ คือตัวแทนของญาเณนทรีย์ (อินทรีย์รับรู้) ซึ่งขณะนั้นมีอำนาจแข็งแกร่งพอที่จะทำให้จิตของผู้ภักดีท้อแท้และปฏิเสธการต่อสู้
🛑 ถ้าผู้ภักดีไม่มีความก้าวหน้า นั่นก็เพราะว่าเขาได้ละทิ้งศัสตราวุธ การควบคุมตน : ผู้ภักดีที่เกิดความท้อแท้มักจะละทิ้งวินัยในตน เมื่อเขาไม่อาจบรรลุถึงความสำเร็จอันน่าตื่นเต้นบนเส้นทางแห่งจิตวิญญาณ เขาปฏิเสธการทำสมาธิ เขาหลีกหนีจากคุรุหรือบทเรียน ปล่อยใจไหลไปกับความมืดมนของจิต ไม่สนใจวิญญาณ แต่ก็ยังพอมีสหัชญาณการรับรู้อยู่บ้าง #จิตที่หนืดเนือยเช่นนี้ต้องเยียวยาด้วยการทำสมาธิภาวนาอย่างสม่ำเสมอ และ #ใช้พุทธิปัญญาจัดการกับการโต้แย้งอย่างผิดๆของมนินทรีย์ ไม่มีอะไรสูญเสียตราบเท่าที่ผู้ภักดียังพยายามที่จะปรับตัวตามคำแนะนำและความกรุณาของทิพยสารถี ซึ่งจะมาช่วยเหลือผู้ภักดีในคีตาบทถัดไป
โอม ตัต สัต
อุปนิษัทแห่งภควัทคีตาอันศักดิ์สิทธิ์ การสนทนาระหว่างศรีกฤษณะกับอรชุน คัมภีร์โยคะและศาสตร์แห่งการหยั่งรู้พระเจ้า — บทแรกนี้ชื่อว่า “ความท้อแท้ของอรชุนบนวิถีโยคะ”
(จบ — บทที่ 1)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา