4 ธ.ค. 2021 เวลา 04:56 • หนังสือ
✴️ บทที่ 1️⃣ ความท้อแท้ของอรชุน (ตอนที่ 61) ✴️
🌸 อรชุนปฏิเสธการต่อสู้ 🌸
⚜️ โศลก 4️⃣4️⃣➖4️⃣6️⃣ ⚜️
หน้า 175 – 177
โศลกที่ 4️⃣4️⃣➖4️⃣6️⃣
〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️
(44) ข้าแต่ ชนารทน (กฤษณะ) เรามักได้ยินอยู่เสมอว่า มนุษย์ที่ไม่ประกอบธรรมแห่งโคตรวงศ์ต้องไปอยู่ในนรกอันไม่สิ้นสุดอย่างแน่นอน
(45) อนิจจา❗ ความโลภที่จะเสวยสุขอยู่ในราชสมบัติ เร้าใจ ท่าให้เราพร้อมจะฆ่าญาติของเราเอง – การกระทำที่ทำให้เราต้องพัวพันอยู่ในมหันตบาปอย่างแน่แท้
(46) ถ้าอาวุธในมือของธฤตราษฎร์ราชบุตรสังหารข้าฯ ผู้ไม่มีอาวุธในมือและยอมมอบตัวแก่พวกเขา ทางออกนี้จะเป็นที่น่ายินดีและมีประโยชน์แก่ข้าฯยิ่งกว่า❗
〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️〰️
“บุคคลที่อินทรีย์และพุทธิปัญญาไม่ทำหน้าที่ตามปกติ มีชีวิตราวอยู่ในนรก เพราะความว่างเปล่าที่น่าเบื่อแสนทุกข์ทรมานกัดกินใจ แต่ด้วยความโลภที่อยากครอบครองอาณาจักรแห่งจิตไว้แต่ฝ่ายเดียว เพราะหวังจะได้รับความพอใจที่ยิ่งกว่าในอนาคต เรากองทัพฝ่ายพุทธิปัญญาจึงเต็มใจที่จะบ่มเพาะความบาป (การอยู่อย่างไร้สุข) ด้วยการสังหารอินทรีย์ญาติของเรา น่าจะดีแก่ข้าฯ มากกว่า ถ้าบุตรของธฤตราษฎร์ (มนินทรีย์ของจิตที่มีดบอด) สังหารข้าฯ เสียในการรบ โดยที่ข้าฯ ไม่ถืออาวุธต่อต้าน”
โยคีที่เริ่มปฏิบัติใหม่ ๆ ผู้ถูกบังคับให้สงบอยู่ในสมาธิ เมื่อแอบมองเข้าไปในความมืด มักจะสงสัยบ่อย ๆ ว่าเขาโง่หรือไม่ที่สละความสุขทางผัสสะที่สัมผัสได้ในตอนนี้ เพื่อจะเข้าถึงความสุขแห่งบรมวิญญาณซึ่งยังสัมผัสไม่ได้ ขณะอยู่ในภาวะจิตภายใต้อำนาจของนิสัยเลวและผลกรรมจากอดีต เขารู้สึกไม่เต็มใจที่จะติดอาวุธให้แก่ตนด้วยกฎแห่งการควบคุมตน
เขาเชื่อว่า “ความสุขทางวิญญาณเป็นสิ่งที่คาดเดากันว่าจะได้รับในอนาคต ฉันก็โง่สิ ถ้าสละความสุขที่ได้รับอยู่ตอนนี้ ชีวิตของฉันคงจมอยู่กับความขมขื่น เพราะการทำลายความสุขทางผัสสะที่พระเจ้าประทานให้มา ซึ่งเป็นสิ่งที่ฉันหาได้ง่ายเลยในตอนนี้❗ อีกหน่อยฉันอาจพร้อมที่จะทำสมาธิลึก และมุ่งแสวงหาพระเจ้าด้วยใจจดจ่อได้”
การยอมจำนนให้แก่การเรียกร้องของอินทรีย์ไม่ทำให้เขาอิ่มใจได้เลย หากแต่จะยิ่งสร้างความอยากทางผัสสะใหม่ ๆ อย่างไม่รู้อิ่ม ความสุขทางผัสสะก็เหมือนการดื่มน้ำเมา ซึ่งแทนที่จะดับความกระหาย มันกลับจะยิ่งทำให้อยากดื่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ❗ ความสุขทางวิญญาณแม้เป็นสิ่งที่ได้มายาก แต่เมื่อได้มาแล้วจะไม่ลดน้อยลงไป ไม่รู้จักความเบื่อ และได้ความเบิกบานใหม่ ๆ เสมอ
ผู้ภักดีที่ท้อแท้คิดว่า “สำหรับฉันแล้ว การต้องเสียใจกับความผิดหวังแล้วตายไปกับผัสสอินทรีย์ เหมือนกับชาวโลกคนอื่นๆที่เดินทางชีวิตไปอย่างไม่ต้องติดอาวุธการควบคุมตน ดีกว่าต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับสงครามมหาประลัยระหว่างกองทัพ พุทธิปัญญากับกองทัพผัสสอินทรีย์”
เขาจึงสรุปว่า “ฉันจะไม่ปฏิบัติสมาธิอีกต่อไป ฉันจะไม่ใช้อาวุธการควบคุมตน (ปราณายามะ) มาทำลายอินทรีย์ที่ดึงดูดได้ยังกับแม่เหล็ก ไม่เห็นจะเป็นอะไรนี่ถ้าถูกสัญชาตญาณครอบงำแล้วทุกข์อยู่กับมัน❗ ฉันไม่อยากมีชีวิตเซื่องซึมอย่างคนใกล้ตายที่ไม่อยากได้วัตถุใดๆ❗”
เมื่อจิตอยู่ในภาวะนี้ ผู้ภักดีจะขาดความพอใจ ทั้งจากการที่จิตวิญญาณไม่ก้าวหน้าไป และจากการที่ต้องอยู่ห่างจากผัสสะนิสัยที่เคยชิน การโต้แย้งด้วยความสงสารตัวเองเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าทำไมจึงต้องมีวินัยในตนเอง ไม่แค่สาบานที่จะไม่ปล่อยตัวไปกับความเพลิดเพลินที่ผิดๆเท่านั้น แต่ยังต้องมีปัญญาเป็นศัสตรา ที่จะประหารความคิดที่โอนเอียงเห็นใจจิตฝ่ายผัสสะ
อย่างไรก็ตาม ในยามร้ายเช่นนี้ เมื่ออาตมันในตนกระตุ้นผู้ภักดีให้ประหารจิตและจินตนาการที่เพลินพอใจไปกับความสุขทางผัสสะ เขากลับมีปฏิกิริยาเหมือนเด็ก ๆ ด้วยการขบถต่อวินัยในตน เมื่อเป็นอย่างนี้ ผู้ภักดีควรทำตัวให้ผ่อนคลาย อย่าเคร่งครัดกับเด็กเกเรหรือจิตที่ไม่ยอมเชื่อฟัง สุดท้ายแล้วเขาก็จะข้ามพ้นภาวะนี้ไปได้ด้วยการเพ่งที่ความสงบจากการละวาง และจากความเพียรในสมาธิที่ยังพอมีอยู่บ้าง มีความสุขอยู่กับการระงับจิตอยู่กับผัสสารมณ์ที่ดี
นอกจากนี้ ผู้ภักดีควรจินตนาการถึงภาวะเมื่อเข้าถึงความเบิกบานนิรันดร์ เมื่อเขาพบว่าตนกำลังว้าวุ่นสงสัย ให้นึกถึงภาพชัยชนะศักดิ์สิทธิ์ เมื่อถอนตนออกจากสนามรบที่เกลื่อนกล่นไปด้วยศพของความใคร่ในกาม (เพื่อนรักและญาติ) ที่ถูกพุทธิปัญญาสังหาร เขาควรคิดถึงความใคร่ในกามที่เขาเคยชินในฐานะศัตรูที่แปลงกายมา พวกมันสัญญาว่าจะนำความสุขมาให้ แต่กลับวางแผนสร้างความกังวล สร้างความอยากอย่างไม่รู้อิ่ม ให้ความหวังลม ๆ แล้ง ๆ ให้ความโศกเศร้าจากความผิดหวัง ทั้งยังให้ความตาย❗
🛑 แม้ว่าตอนแรก ๆ เป็นการยากที่เขาจะละไปจาก ความสุขทางวัตถุที่คอยขัดขวางการแสดงออกของวิญญาณ แต่การปฏิเสธสิ่งชั่วนี้ เป็นเพียงความหวังเดียวที่จะทำให้เขาได้รับพรนิรันดร์ และในขณะที่การควบคุมตนทำให้เกิดความทุกข์อยู่ชั่วครู่ เพราะเขาถูกพรากไปจากนิสัยเลวที่ให้ความสุข แต่เมื่อการควบคุมตนบรรลุเป้าหมายแล้ว ผู้ภักดีจะเกิดการรับรู้ที่ประณีต เข้าถึงความปีติเบิกบานแห่งวิญญาณ ซึ่งเลิศล้ำกว่าสิ่งใดๆที่เขาเคยรู้จักขณะที่เขาอยู่กับอหังการและความสุขอย่างหยาบฉาบฉวยในโลกของอหังการนั้น การเสียสละทุกอย่างของผู้ภักดีจะมีสิ่งทดแทนเมื่อวิญญาณของเขารู้ตื่นอยู่กับบรมวิญญาณ และได้รับความเกษมสุขใหม่ๆ ที่สิ่งใดไม่อาจเทียบเทียม
(มีต่อ)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา